ชายรักชาย (Boys in love)


รายการโทรทัศน์ ที่นำมาจากนวนิยาย Y ที่ชื่อว่า Love Sick ซึ่งเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนชายชั้นมัธยมปลายสองคน ตอนนี้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชีย

โดยสรุป, นิยายเรื่อง Love Sick ซึ่งเป็นนิยาย Y ในประเทศไทย และละครโทรทัศน์ที่นำมาจากนิยายตอนนี้ได้เป็นที่คลั่งไคล้ของพวกคนข้ามเพศชาวเอเชีย (trans-Asian sensation) เพราะคนที่บ้านก็ชอบดู และมีแฟนคลับติดตามตลอด จนได้รับคะแนนการติดตามสูง (high ratings) ในการแปล, หนังสือและละครทำให้คนติดตามตลอดทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ญี่ปุ่น, เกาหลี, และจีน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางอินเตอร์เน็ทที่สลับซับซ้อน ด้วยการคลิกไปที่กลุ่มสื่อมีเดีย, แฟนนิยายจำนวนมหึมา, และผู้ติดตามวิดีโอจำนวนมาก จริงๆแล้ว Love Sick ได้ลอกเลียนเรื่องเล่าลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในรายการโทรทัศน์ของอเมริกาจาก Dobie Gillis จนถึง Glee .ในบางลักษณะ หนังเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นถึงค่านิยม (ethos) บางอย่างที่แตกต่างไปจากความรู้สึกของตะวันตก ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับราชสำนักสยามมีต่อแหม่ม Anna Leonowens.

แก่นเรื่องก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ก็คือ รักแท้เอาชนะอุปสรรคทุกอย่างได้ แต่ในกรณีนี้รักที่เป็นอุปสรรคเป็นเรื่องระหว่างเด็กผู้ชายสองคน Phun และ Noh เป็นนักเรียนในโรงเรียนเอกชนชายล้วนในกรุงเทพฯ Phun เป็นลูกชายของรัฐมนตรี, เป็นเลขาของสภานักเรียน, และเป็นเด็กชายที่หล่อเหลาในชั้น Noh เป็นประธานชมรมดนตรี และเป็นคนค่อนข้างขี้เกียจพยายามที่จะหนีวิกฤตการณ์หนึ่งไปสู่อีกวิกฤตการณ์หนึ่ง Phun ตัวสูง และหล่อ แต่ Noh ตัวเล็ก แต่น่ารัก Phun อาศัยอยู่ในคฤหาสน์ และมีคนใช้ทำตามสิ่งที่เขาต้องการ ในขณะที่ชนชั้นกลางอย่าง Noh ขี่มอเตอร์ไซค์ เมื่อเรื่องเริ่มต้น ทั้งคู่มีแฟน ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิงที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีหญิงล้วน ที่คู่กันกับโรงเรียนของพวกเขา

จุดสำคัญของโครงเรื่องในบทที่ 1 ทำให้เรารู้สึกขบขัน ทั้งคู่รู้จักกันในฐานะเพื่อนนักเรียน แต่ยังไม่ได้คิดกันอย่างแฟน แต่วันหนึ่ง Noh เข้าไปที่สภานักเรียนด้วยความกระหืดกระหอบผสมกลัวด้วยด้วยการตัดงบประมาณชมรมดนตรี Phun สัญญาว่าจะช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยการให้ยืมเงิน และกล่าวว่า “เธอจะมาเป็นแฟนของฉันได้ไหม?” แต่ Noh รู้สึกตกใจ พร้อมกับแช่งด่า

Phun อธิบายว่า พ่อที่เป็นเผด็จการของเขา ต้องการให้เขาเจอกับหญิงที่เป็นเพื่อนกันกับพ่อ และหนึ่งเดียวที่จะเปลี่ยนใจพ่อได้ก็คือน้องสาวของเขาที่ชื่อว่า Pang ซึ่งเป็นสุดที่รักของพ่อ Pang ก็เป็นเหมือนเด็กหญิงในยุคของเขา ที่ชอบอ่านนวนิยาย yaoi ซึ่งเป็นนิยายเพ้อฝัน (light fiction) เกี่ยวกับชายรักชาย ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ Phun บอก Noh ว่าหากเธอมาเป็นแฟนของฉัน ย่อมทำให้ Pang พอใจ เพราะคิดว่าเขาเป็นเกย์ และจะบอกพ่อของเขาว่าเขามีหญิงอื่นเป็นแฟนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องไปหาหญิงคนอื่นให้เขา ด้วยความที่ Noh อดไม่ได้ จึงยอมที่จะเล่นในละครฉากนี้

นวนิยาย ซึ่งเขียนโดยผู้หญิงที่ใช้นามปากกาฉายภาพให้เห็นถึงทางเดินของเด็กผู้ชายจากสิ่งที่เชื่อไปสู่ความยินดีอย่างเหลือล้น เด็กผู้ชายคนนั้นก็คือ Noh ดังจะเห็นได้จากชื่อรองของนวนิยายที่กล่าวว่า “ชีวิตที่สับสนของเด็กผู้ชายกางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน” (ซึ่งหมายถึงชุดของเด็กผู้ชายที่เรียนในโรงเรียนเอกชน ที่มักจะใส่กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน) การบรรยายที่อิสรเสรีและไม่มีอคติของ Noh ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอยากในเรื่องทางกามที่ถูกทำให้เหมาะสม (instinctive decency) เช่นเดียวกับที่เขาต้องต่อสู้เพื่อที่จะเข้าใจจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต จะทำให้เรานึกถึงเรื่องของ Holden Caulfield คำพูดที่รุ่มร้อนของ Noh จะทำให้เรื่องเล็กๆกลายเป็นการสารภาพบาปแบบชาวคริสต์ได้เลย ในครั้งแรกนวนิยายถูกตีพิมพ์ทางอินเตอร์เน็ทเป็นตอนๆก่อน และต่อมาก็ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ

ในบทที่ 34 หลังจากที่ Noh กัน Phun มีเพศสัมพันธ์กันแล้ว Noh บอก Phun ว่า “ฉันไม่ใช่เกย์” สิ่งนี้อาจทำให้แฟนนวนิยายในสังคมไม่ค่อยจะพอใจ Love Sick เท่าใดนัก แต่ Noh ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจริงๆแล้วเขาเป็นอะไรกันแน่ กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ บ่อยครั้งที่เขาพูดว่าความสัมพันธ์ของเขากับ Phun เป็นเพียงครั้งเดียวในชีวิต เขาไม่ได้รักเด็กผู้ชาย แต่เขารัก Phun สำหรับ Noh แล้ว เกย์ ก็คือกะเทย หรือนักเรียนที่อรชรอ้อนแอ้นที่โรงเรียน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เด็กผู้ชายในคราบของสุภาพสตรี (lady-boys) นักเรียนข้ามเพศ (Trans men) ได้รับการยอมรับถึงบทบาทในสังคมไทยมานานแล้ว ถึงแม้จะอยู่ชายขอบก็ตาม ในทางประเพณีแล้ว คนไทยไม่ได้รังเกียจพวกรักเพศเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากพวกยิว หรือคริสเตียน ทั้ง 2 ศาสนานั้นจะมีการประณามในเรื่องการร่วมเพศทางทวารหนัก ดังนั้นคนไทยจึงไม่มีขบวนการปลดปล่อยเกย์ให้เป็นเสรี หรือมีกลุ่มย่อยทางวัฒนธรรมเกย์ ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาค่อยข้างมาก

Love Sick ที่เป็นนวนิยาย คือวิวัฒนาการอันสำคัญของนิยาย yaoi นิยาย yaoi เป็นตัวย่อที่นำอักษรตัวแรกมาเรียงใหม่ ซึ่งได้รับมาจากวลีของญี่ปุ่น ก็คือวลีว่า “yama nashi, ochi nashi, imi nashi” ที่มีความหมายว่า ไม่มีจุดสุดยอด, ไม่มีประเด็น, ไม่มีความหมาย ซึ่งสามารถย้อนได้ไปถึงยุค 1980 ที่บ่งชี้ถึงนิยายเชิงอารมณ์ (sentimental stories) เกี่ยวกับเด็กวัยรุ่นที่สวยงาม นิยาย yaoi จะมีจุดสุดท้ายเป็นแบบโศกนาฏกรรม ที่จบลงด้วยการฆ่าตัวตาย หรือโดยอาชญากร ที่เป็นตัวอิจฉา ตลาด yaoi มีขนาดใหญ่มากในเอเชีย มีนวนิยายและมังงะ (manga) เป็นร้อยๆเรื่อง ซึ่งนำมาเป็นหนังและคอมพิวเตอร์เกม

หนึ่งในซีรี่ที่มีชื่อเสียงเป็นเรื่องของ Takumi เขาเองเป็นนักเรียนที่โดดเด่นในโรงเรียนชายล้วนในภูเขา Honshu ในซีรี่จะมีนักเรียนอยู่ 2 คน คนแรกชื่อ Nozaki เขาเป็นกัปตันทีมบาสเกตบอลที่หล่อเหลา ที่หลงรัก Takumi อีกคนจะเป็นคนสง่าผ่าเผยที่ชื่อ Gyi เป็นคนที่ Takumi หลงรัก Gyi เป็นคนที่ทำเลวได้โดยไม่รู้สึกผิด การแข่งขันของพวกเขาตัดสินด้วยการวิ่งแข่ง ในนิยาย 28 เรื่อง และหนัง 5 เรื่อง ซีรี่ของ Takumi-kun แสดงให้เห็นถึงโลกในนวนิยายซึ่งกีดกันผู้หญิงออกไปหมด พูดง่ายๆก็คือ ทั้งตัวละครในนี้ทั้งหมดต่างตกหลุมรัก หรือไม่ก็ถูกทำร้ายโดยเด็กผู้ชายทั้งสิ้น

คำว่า Yaoi (รู้จักกันในนาม B. L ซึ่งหมายถึง ความรักของเด็กผู้ชาย) ต้องการจะสร้างภาพคู่อันโรแมนติกระหว่างเพศชาย (seme) โดยมากจะเป็นคนที่ทรงอำนาจ ตัวใหญ่ และแข็งแรง กับเพศหญิง (uke) ซึ่งโดยมากจะอายุน้อยกว่า บทบาททางเพศสภาพโดยนัยยะ (the implied sexual roles) จะคล้ายๆกับเรื่องราวเกี่ยวกับเกย์ในโลกตะวันตก ซึ่งจะมี ตัวที่อยู่ข้างบน (top) กับคนที่อยู่ข้างล่าง (bottom) โดยนัยยะแล้ว คำว่า yaoi ก็คือการปรับปรุงลัทธิเก่าๆให้ทันสมัยมากขึ้น ลัทธิเก่าๆที่ว่านี้ก็คือ ลัทธิบูชาเด็กชายในวัฒนธรรมซามูไรสมัยศักดินา ที่รู้จักกันในนาม shudō ที่แปลว่า วิถีของเด็กชาย คำว่าวิถีของเด็กชายมีความหมายโดยนัยว่าหมายถึง นักรบจะนำลูกศิษย์ที่เป็นวัยรุ่นของตนมาเป็นคู่รัก ในสมัยโลกุน Tokugawa (1603-1867) การที่ผู้ชายมีอะไรกับผู้ชายไม่ได้เป็นสิ่งบังคับ แต่เป็นความปกติ (normative) โดยนัยยะนี้ย่อมแสดงว่าบริสุทธิ์กว่ามีอะไรกับการรักผู้หญิง คู่ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงในนิยาย yaoi ก็คือโมเดลแบบซามูไร แต่เพี้ยนมาหน่อยก็คือคู่รักมักจะอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือใกล้กัน

Love Sick อยุ่ตรงกลางระหว่างนิยายเชิงพาฝันของความรักของเด็กผู้ชาย (B.L) กับละครเกี่ยวกับเยาวชนชาวเกย์ ที่นำมาสู่โทนที่ละเทาะเบาะแว้งกันได้ แต่ก็ยอมอยู่ด้วยกันตลอด กระบวนการรี้ไม่เพียงแต่ยอมรับเท่านั้น แต่คือการคบกันฉันชู้สาวของรักร่วมเพศที่อยู่ในอุดมคติจนถึงยุคสมัยใหม่ ในละครโทรทัศน์ จะมีกลุ่มของกะเทยพยายามจะบ่งชี้ว่า Phun เป็นผู้ชาย ส่วน Noh เป็นผู้หญิง แต่การนิยามเช่นนี้กลับคับแคบ บนเตียง บทบาททางเพศของคู่รักกลับอ่อนตามกันและกันได้ (flexible) กล่าวในแง่หนึ่งก็คือ บทบาทของผู้ชายต่างเท่าเทียมกัน บางครั้ง Noh ก็ตามจีบ Phun แต่ Phun ก็ไล่ล่า Noh เช่นกัน

การเล่าอย่างละเอียดถึงชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเป็นเรื่องที่คุ้นชิน และค่อนข้างจะเป็นเรื่องกระจุ๋มกระจิ๋ม เทคโนโลยีในปัจจุบันบ่อยครั้งที่เป็นตัวกำหนดโครงเรื่อง การใช้ดนตรีปรากฏขึ้นอยู่ทุกช่วง เช่นตอนที่ Phun พยายามที่จะให้ Noh สนใจ สำหรับส่วนอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากอดีต เช่นนักเรียนที่คุยในชั้นจะถูกลงโทษให้ไปยืนอยู่ที่มุมห้อง หรือเด็กผู้ชายที่ใส่ชายเสื้อไม่เรียบร้อยจะถูกเฆี่ยน เป็นต้น

ละครโทรทัศน์ได้นักแสดงชายที่มีเสน่ห์ จึงทำให้มีแฟนานุแฟนติดตามละครอยู่มาก หนึ่งก็คือ Chonlathorn Kongyingyong ซึ่งแสดงเป็น Noh และ Nawat Phumphothingam ที่แสดงเป็น Phun (เป็นคนที่น่ารักที่คาดไม่ถึง) พวกเขาทั้งคู่มีชื่นเล่นก็คือ กัปตัน และ ไวท์ พวกเขาก็เป็นเหมือนนักแสดงอื่นๆ นั่นคือ พวกเขาเข้ามาคัดเลือก (open casting call) และไม่มีประสบการณ์การแสดงมาก่อน ทั้งนี้ในแง่นี้ก็มีข้อเสียกับข้อดี ข้อเสียก็คือไม่ค่อยมีความสามารถในการแสดงฉากอารมณ์ (dramatic range) แต่ข้อดีก็คือ การแสดงให้เห็นถึงความรักระหว่างวัยรุ่นที่มีความสดอยู่ข้างหลัง แน่นอนว่าพวกดาราจะดูที่หน้าตาก่อนสิ่งอื่น ในแง่หนึ่งก็คือเหมือนกับเด็กชายทั่วไป ที่ทั้งผอม และสูง

ละครนี้มีการเขียนในฤดูกาลที่ 2 ที่มีบท 36 บท และจำเป็นต้องอาศัยผู้เขียนสคริป เพื่อพัฒนาโครงเรื่องย่อย (subplot) และสร้างตัวละครตัวใหม่ขึ้นมา เพื่อนของ Noh ที่เป็นคนสะเพร่าที่ชื่อ Om ได้จีบรุ่นน้องที่ชื่อ Mick ที่ดูก็แล้วว่าเป็นเพศหญิง Om พยายามจะขัดขวางเมื่อเขาเห็นครูพละกำลังตามจีบ Mick โดยการกอดและลูบผม แต่จริงๆแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องล้อเล่น เพราะครูกับ Mick เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ทั้งนี้อยู่ในการควบคุมของแม่ตลอดเวลา เป็นการยากที่จะคิดโครงนี้ขึ้นมา หากจะมี ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ตลกขบขันในละครของตะวันตก

ผลลัพธ์ของละคร Love Sick อยู่ตรงโครงสร้างที่เป็นแบบเก่าของมัน (classical structure) ในช่วงสุดท้าย Phun กับ Noh ก็ได้ครองรักกัน และโครงเรื่องย่อยๆทั้งหมดก็มีความสมหวังเช่นเดียวกับของคู่เอก ราวกับจะเป็นคอมเมดี้ (comedy) ของ Shakespeare โครงเรื่องที่จบลงแบบทุกอย่างได้รับการคลี่คลาย (cathartic ending) จะไม่นิยมใช้ในละครของอเมริกา การดำเนินเรื่องที่วกไปเวียนมา และยัดทุกอย่างมากเกินอาจทำให้ Love Sick ไม่ค่อยได้ใจผู้ชมส่วนใหญ่เท่าใดนัก แต่การมีตัวละครมากและอารมณ์ที่แกว่งไปมาแบบปัจจุบันทันด่วนแสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนของวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี ประเด็นสำคัญของเรื่องอยู่ที่ Phun กับ Noh สามารถฝ่าฟันอันตรายไปในทางของความรัก สุดท้ายก็ได้ครองคู่กัน และละครประสบความสำเร็จในเรื่องการสร้างโลกที่เป็นจริงที่ออกจะหม่นๆสักเล็กน้อย ซึ่งใครก็ตามที่ได้เรียนโรงเรียนมัธยมมาจะรู้สึกถึงมันได้เป็นอย่างดี

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Jamie James. Boys in love. http://www.newyorker.com/culture/culture-desk/boys-in-love

หมายเลขบันทึก: 607203เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2016 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2016 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท