Phook Ruk 2


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) "ขนมผูกรัก"

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge)

"ขนมผูกรัก" ของดีขึ้นชื่อเมืองสตูล ส่งขายมาเลเซียสร้างรายได้ เป็นขนมขึ้นชื่อของทางจังหวัดสตูล ที่ชื่อว่า “ขนมผูกรัก” โดยมีลักษณะเหมือนการผูกโบว์ ส่วนตรงกลางก็จะสอดไส้สมุนไพรต่างๆ อาทิ ไส้มะพร้าว พริกแห้งหอมแดง ตะไคร้ ข่าและขิง บางสูตรก็จะมีการผสมเนื้อปลา เนื้อกุ้ง และเนื้อปูตามความชอบ ซึ่งก็จะให้รสชาติกลมกล่อม กรุบกรอบ ตามสูตรเฉพาะของชาวสตูล จนทำให้ชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง จังหวัดสตูล มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการทำขนมชนิดนี้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่คนละ 2,000 บาทต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ก็ยังมีการทำ “ขนมปอเปี๊ยะจิ๋ว” ซึ่งก็จะใช้สูตรการทำคล้ายกับ “ขนมผูกรัก” แต่เป็นคนละรูปทรง เพื่อให้เกิดความแตกต่าง โดยลูกค้าส่วนใหญ่มักจะนำไปเป็นขนมทานเล่น และอาหารว่างภายในบ้าน หรือไว้รับรองแขกที่มาเยี่ยมเยือน ซึ่งขณะนี้ขนมทั้ง 2 ชนิดได้มีจำหน่ายแพร่หลายทั้งในจังหวัดสตูล รวมถึงตลาดชายแดนประเทศมาเลเซีย และมีแนวโน้มที่จะขยายตลาดต่อไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทางนายกเทศมนตรีจังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการประกอบอาชีพของกลุ่มสตรีในจังหวัดสตูล จึงได้มีการส่งเสริมและต่อยอดในการทำขนมชนิดนี้ ด้วยการให้ไปศึกษาดูวิธีการทำแผ่นปอเปี๊ยะในประเทศมาเลเซีย เนื่องจากมีความพิเศษ เหนียวหนึบมากกว่าแผ่นปอเปี๊ยะในไทย ซึ่งสามารถม้วนเป็นเกลียวได้สวยงาม และไม่อมน้ำมัน ทำให้ขนมน่ารับประทานและมีคุณภาพมากขึ้น


อ้างอิง

•ขนมผูกรัก ของดีเมืองสตูล(ออนไลน์).แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/newsthaich8/photos/a.669583609756567.1073741828.669573866424208/724415100940084/. 28 มีนาคม 2559



หมายเลขบันทึก: 606504เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท