​5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพ ผลิตภัณฑ์สำหรับเกษตรกรไทยใช้แทนการนำเข้าสารเคมีต่างประเทศ


ข่าวคราวเกี่ยวกับการรุกรานพื้นที่เพาะปลูกของนักลงทุนจีนที่บุกไปปลูกกล้วยในประเทศลาวประมาณ

เพราะว่านักลงทุนจีนเหล่านี้มีการลักลอบนำเข้าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ที่มีพิษรุนแรง รวมถึงแรงงานเครื่องจักรต่างๆ จากประเทศตนเองเสียเกือบหมด จนประชาชนคนลาวแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรใดๆ ทั้งสิ้น การอาบชโลมสารเคมีภาคการเกษตรลงไปในผืนดินแผ่นน้ำอย่างไม่บันยะบันยังทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ลาวจึงต้องออกกฎหมายควบคุมและห้ามขยายพื้นที่เพาะปลูกจนกว่ารัฐบาลจะตรวจสอบและอนุญาตเสียก่อน

ในประเทศก็ใช่ว่าจะหลีกลี้หนีห่างจากทุนจีน ทางจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ ก็มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการที่บริษัทคนจีนให้คนไทยจัดตั้งบริษัทบังหน้าไม่กี่คน เป็นนอมินี แล้วเอาคนจีน แรงงานจีนเข้ามาบริหารจัดการ และลักลอบใช้สารเคมีจากประเทศตัวนำเข้ามาทางเส้นทางเศรษฐกิจ

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มให้ความเอาใจใส่ในสุขภาพของตนเองกันมากขึ้น ไม่ต้องการรับประทานพืชผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้าง รวมถึงรังเกียจกระบวนการเพาะปลูกที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อผู้บริโภค เรียกว่าถ้ารู้ว่าแหล่งที่มามาจากการอาบชโลมด้วยสารพิษ คงมีการแอนตี้ไม่ซื้อสินค้าเป็นแน่

ปัจจุบันทางทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงมีบริการผลิตภัณฑ์ชีวภาพปราบโรคแมลงศัตรูพืช ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สามารถนำไปใช้ในการปลูกพืชที่ต้องการ การรับรองระบบการจัดการคุณภาพ

ผ่านการทดสอบความเป็นพิษที่เรียกว่า

ท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่ต้องการทางเลือกใหม่ในการเพาะปลูกหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรม ก็สามารถที่จะนำไปใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูหรือยาฆ่าแมลงกันได้นะครับ อย่างเช่น

เสือตัวที่หนึ่ง อินดิวเซอร์

ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (

ต่อไปเป็นเสือตัวที่สอง คัทอ๊อฟ (CutOff) คือเชื้อราขาว บิวเวอร์เรีย ไว้สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืชพวกแมลง สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิดทำลายแมลงโดยผลิต เอนไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง (การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรียเมื่อทำการฉีดพ่นสปอร์เชื้อรา คัทอ๊อฟ (บิวเวอร์เรีย) ตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทลุผิวหนังลำตัว เชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง สปอร์ของ คัทอ๊อฟ (บิวเวอร์เรีย) จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราคัทอ๊อฟ (บิวเวอร์เรีย) จึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะ ทำลายแมลงศัตรูต่อไป

ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก ฟอร์แทรน

เสือตัวที่สาม เชื้อรา ฟอร์แทรน () เมธาไรเซี่ยมสามารถควบคุมและทำลายแมลงได้โดย เมื่อเชื้อราเมตตาไรเซี่ยมเข้าสู่แมลงทางผิวหนัง หรือช่องว่างของลำตัวรวมทั้งจะสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยผนังบางส่วนและงอก สปอร์แทงผ่านลำตัวเข้าไป เจริญ และเพิ่มปริมาณทำให้แมลงเกิดโรค ตายในที่สุด แมลงที่ตายด้วยเชื้อราฟอร์แทรน (For Tans) เมธาไรเซี่ยม จะมีลักษณะลำตัวแข็งมีเชื้อราขึ้นปกคลุมลำตัวภายนอกเป็นสีเขียว ซึ่งระยะเวลาในการทำลายจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับสภาพแวดล้อมได้แก่อุณหภูมิ ความชื้นและแสงสว่าง ที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้น มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแสงแดด มีรังสียูวีจะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อ จะรุนแรงมากหรือน้อย ยังขึ้นกับลักษณะพันธุกรรมของเชื้อ ความแข็งแรง หรือภูมิต้านทานของแมลงอีกด้วย

ส่วนเสือตัวที่สี่ไบโอแทค

และเสือตัวสุดท้ายที่จะช่วยเกษตรกรให้ปลอดภัยไร้สารพิษคือ ไบโอเซ็นเซอร์ (Biosensor)ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่เป็นมีความสามารถในการกำจัดโรคพืชได้ทั้งราและบัคเตรี ได้รับการคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่สำคัญในประเทศไทย เช่น โรคกรากเน่า โคนเน่า โรคผลเน่าของทุเรียน พริกไทย พืชตระกูลส้ม มะนาว มะละกอ สับปะรด และยางพาราที่เกิดจากเชื้อรา ฟัยท็อปทอร่า(phytophthora spp.) โรคเกล้าเน่ายุบ ในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ถั่ว พริก ผักชนิดต่างๆ และไม้ดอกไม้ประดับที่เกิดจากเชื้อเรา พิธเธียม (Pythium spp), ไรซอคทอเนีย (Rhizogtonia spp), และ สเคอโรเที่ยม (Sclerotium spp.) และที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือ ไบโอเซ็นเซอร์ สามารถกำจัดเชื้อราที่เป็นศัตรูของเห็ดได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นราดำ ราเขียว ราขาว ราเหลือง ราเมือก ฯลฯ โดยที่ ไบโอเซ็นเซอร์ (Biosensor) จะทำอันตรายต่อเห็ดแต่อย่างใด

ก็ขออนุญาตฝากไว้ให้พี่น้องเกษตรกรลองพิจารณานำไปใช้เป็นทางเลือกทดแทนสารเคมีที่เป็นพิษต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในระยะยาว ทำให้ต้นทุนทางธรรมชาติของลูกหลานเราในอนาคตลดน้อยถอยลงทุกวันโดยมีสารพิษปนเปื้อนอยู่นั่นเองนะครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 606501เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท