KM แบบย้อนแย้ง ?


KM ย้อนแย้ง แบบไทย ๆ

KM แบบย้อนแย้ง ?
... ร่วม 10 ปีเศษ กับกระแส KM ในประเทศไทย เรียกได้ว่า แทบทุกวงวิชาชีพ รู้จักมักคุ้นกับ คำว่า KM คำๆ นี้ดี มีนักั้งนักทฤษฎี และนักปฏิบัติ บ้างก็มีกฏหมาย ระเบียบ คณะกรรมการ หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นก็มี เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำนองแบบว่า ไม่ได้บังคับน่ะ แต่จำเป็นต้องทำ! ส่วนจะทำด้วยความสมัครใจ และจำใจ อย่างไรก็สุดแล้วแต่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานราชการต้อง ทำ หรือ ใช้ KM มาช่วยตอบตัวชี้วัด และอีกหลากหลายเหตุผล ฯลฯ ดูกันที่รูปแบบ บ้างก็เน้นตั้งชื่อเพราะๆ กำหนดหัวข้อน่าสนใจ แล้วจับคน เข้ามาสู่กระบวนการ KM ด้วยสารพัดเครื่องมือที่พอจะมี หรือนึกได้ แล้วก็ถ่ายรูป ทำรายงานส่ง ..เป็นอัจเสร็จสิ้น การจัดทำ KM ในรอบการประเมินปีนั้นๆ ... อีกมุมหนึ่งก็เกิดกลุ่มก้อน นักเขียน Blogger หรือ เว็บไซต์ประเภท webblog เช่น Gotoknow (และอื่นๆ อีกมากมาย) นับวันตัวเลขการบันทึกมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งขาประจำ และขาจร แวะเวียนเข้ามาใช้บริการเขียน blog
...วันนี้ จึงอยากเชิญชวนไปสำรวจข้อมูล KM (knowledge Management, การจัดการความรู้) แบบเฉพาะเจาะจงในประเทศไทย จาก Google Trends ภาพที่นำเสนอในบันทึกนี้ ดูแบบผ่านๆ ก็จะพบว่า มันช่าง "ย้อนแย้ง" (กราฟลดลงๆ) กับจำนวน Blogger และบันทึกใน gotoknow หรือผู้อ่านท่านเห็นต่างประการใด? ก็เชิญ ลปรร. ครับ / ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 605937เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท