“วิกฤตการเงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น”


วันก่อนได้นั่งเรียนเกี่ยวกับ วิกฤตเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตต้มยำกุ้งที่สร้างผลกระทบต่อไทยเป็นอย่างมากและวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่เกิดขึ้นในวงกว้าง มีผลกระทบกับไทยแต่ไม่มากนัก แต่ถือว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มีผลกับประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง และวันนี้อาจารย์ให้คำถามมาหนึ่งเรื่องระหว่างการสอน คำถามนั้นคือ “วิกฤตการเงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น” จากคำถามที่อาจารย์ถามมาทำให้เกิดฉุกคิดว่าโลกปัจจุบัน เศรษฐกิจฝืดเคือง ประชาชนไม่ค่อยอยากจับจ่ายใช้สอย ดูตัวอย่างจากในประเทศ ตอนนี้ประเทศเรามีแต่คนต้องการจะขาย แต่ความต้องการจะซื้อน้อยเหลือเกิด ถ้ามองเป็นอุปสงค์ อุปทาน ก็บอกได้เลยว่า อุปทานเพิ่มสูงขึ้น แต่อุปสงค์น้อยลง ในความคิดของเจ้าของบทความ คิดว่า วิกฤตการเงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มมีความรุนแรงมากกว่าเดิมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นมีอะไรหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับก่อนที่จะเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง อย่างที่มีคนบอกว่า วิกฤตมักจะเกิดซ้ำรอยเก่า เหตุผลที่คิดแบบนั้นเพราะได้อ่านเจอบทความหนึ่ง และคิดว่า น่าจะเป็นจริง เพราะเขาให้เหตุผลไว้หลายประการดังนี้

แหล่งที่มา :http://www.oknation.net/blog/aroundtheglobe/2015/01/11/entry-1
1. ช่องว่างทางเศรษฐกิจของอเมริกากับประเทศอื่นๆ
เหตุการณ์ในขณะนี้นั้นมีความเหมือนกับเหตุการณ์ในยุค 90 เป็นอย่างมากที่เศรษฐกิจของอเมริกาเติบโตในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ นั้นอ่อนแอ อาจจะต่างกันบ้างก็ตรงที่ประเทศจีนซึ่งเข้ามาเป็นผู้เล่นขนาดใหญ่รายใหม่และมีขนาดเศรษฐกิจก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของโลกแทนที่ประเทศญี่ปุ่น
เศรษฐกิจของอเมริกามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อัตราการสร้างงานนั้นสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งเป็นอนิสงส์จากราคาน้ำมันที่ถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจการซื้อของประชาชนและก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็จะให้ผู้ประกอบการขุดน้ำมันจากชั้นหิน (Shale gas) ซึ่งมีต้นทุนการผลิตน้ำมันที่สูงกว่าการผลิตน้ำมันจากบ่อน้ำมันทั่วไปจะล้มลายลงในระยะเวลาอันใกล้ และอนิสงส์จากเงินดอลล่าร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆจะมีผลทำให้การส่งออกของอเมริกายิ่งแย่ลงเหมือนกับที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 15 ปีก่อน

2. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่ที่ไม่มีท่าจะดีขึ้น
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมันที่น่าจะลดลงเหลือ 1 % ในปีนี้อันเนื่องมาจากการขาดการลงทุนจากภาครัฐ นโยบายพลังงาน และการออกนโยบายเพียงเพื่อที่จะสร้างความนิยมเพื่อที่จะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่อีกครั้งโดยไม่ได้แก้ปัญหาอย่างแท้จริง หรือญี่ปุ่นที่ดำเนินนโยบายทางภาษีผิดพลาดหลังจากที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1997 โดยการปรับเพิ่มภาษีผู้บริโภคขึ้นเพื่อที่บรรเทาการขาดดุลงบประมาณที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลาหลายปี หรือเศรษฐกิจของประเทศจีนเอง ที่รัฐบาลพยายามที่จะปกปิดภาระหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่นและฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในอสังหาริมทรัพย์ปัญหาเหล่านี้นั้นคล้ายคลึงกับปัญหาที่เกิดขึ้นในยุด 90 ที่เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจต่างเผชิญปัญหาเช่นกัน
3. ความอ่อนแอของประเทศกำลังพัฒนา
ในยุค 90 นั้น ประเทศกำลังพัฒนาต่างพยายามผูกติดค่าเงินไม่ให้เป็นไปตามกลไกของตลาดและต่างมีหนี้สินสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบันนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง โดยหนี้สินสกุลเงินตราต่างประเทศนั้นมีขนาดลดลงกว่าแต่ก่อนและประเทศส่วนใหญ่ก็ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวเพื่อให้ค่าเงินขึ้นลงตามกลไกของตลาด แต่การส่งออกของประเทศในแถบแอฟริกานั้นยังคงพึ่งพาน้ำมันเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ร้อยละ 95 ของการส่งออกในประเทศไนจีเรียคือน้ำมัน ประเทศกาน่าที่ต้องหันไปพึ่งพา IMF เพราะการล่มสลายของค่าเงินและหนี้สินสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจของรัสเซียที่พึ่งพาพลังงานมากจนเกินไป (ราคาน้ำมันลดลงกว่าครึ่งภายในระยะเวลา 6 เดือน) กว่าสองในสามของการส่งออก และค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น และบริษัทในบราซิลเป็นจำนวนมากที่มีการกู้ยืมเงินสกุลดอลล่าร์และเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้

ปัจจัยเหล่านี้ต่างเป็นปัจจัยที่คล้ายคลึงกับวิกฤติในช่วงปี 90 และอาจก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจลูกใหม่ที่อาจจะลุกลามไปทั่ว และเชื่อว่าวิกฤติในครั้งนี้อาจจะรุนแรงและกินระยะเวลายาวนาน เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของประเทศพัฒนาส่วนใหญ่นั้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งต่างจากปี 1999 ที่ธนาคารกลางสหรัฐมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 5 ทำให้เวลาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ สามารถใช้การลดอัตราดอกเบี้ยช่วยบรรเทาความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจลงได้ ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าเศรษฐกิจของโลกจะดำเนินไปในทิศทางเช่นใดในสถานการณ์ที่มีความละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนเช่นนี้
หวังว่าข้อมูลที่นำมาให้ผู้อ่านได้อ่าน จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านนะคะ แล้วพบกันใหม่คราวหน้าค่ะ





หมายเลขบันทึก: 605858เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท