วิกฤติการณ์เงินโลกในอนาคตมีแนวโน้วรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น


วิกฤติการณ์เงินโลกในอนาคตมีแนวโน้วรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น

วิกฤติการณ์เงินโลกในอนาคตมีแนวโน้วรุนแรงกว่าเดิม เพราะ

1.ข้อแตกต่างระหว่างการแห่ถอนเงินออกจากธนาคารในช่วงทศวรรษที่ 30 กับวิกฤติการเงินครั้งนี้ก็คือ วิกฤติครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการใช้เครื่องมือทางการเงินซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าเครื่องมือการเงินอื่น ๆ ในอดีต ทำให้การประเมินราคาของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น การที่มีสถาบันการเงินต่างๆ มากมายถือครองสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอยู่นั้นได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงจากการถือครองสินทรัพย์เหล่านี้กระจายไปทั่วระบบการเงินอย่างรวดเร็ว อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจต้องล่มสลายหลังจากที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาเป็นเวลาหลายปี ในกลางปี2550 การล่มสลายนั้นเริ่มต้นด้วยวิกฤติในตลาดสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ ฯ การลดลงของมูลค่าของสินทรัพย์นอกงบดุลผลักดันให้สถาบันการเงินหลายแห่งเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ยิ่งไปกว่านั้น นวัตกรรมการเงินหลายประเภทในทศวรรษที่ผ่านมาที่นักลงทุนเชื่อว่าจะทำให้เกิดการลงทุนในหลากหลายรูปแบบและก่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ได้กลายมาเป็นช่องทางสำคัญที่สามารถสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเงินทั้งระบบได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว วิกฤติที่มีสาเหตุมาจากสินเชื่อด้อยคุณภาพจึงได้กลายเป็นวิกฤติการเงินโลกอย่างเต็มตัว

2.กำลังการผลิตส่วนเกินในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงก่อนช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมนั้น จะส่งผลให้ความสามารถในการผลิตล้ำหน้าความต้องการที่แท้จริงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม เมื่อภาคครัวเรือนตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างฉับพลันด้วยการลดการบริโภค และภาคการเงินตอบสนองต่อภาวะวิกฤติทางการเงินด้วยการระมัดระวังต่อการลงทุนมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งเงินทุนต้องเหือดหาย อุปสงค์รวม จึงลดต่ำลงทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐ ฯ ลดลง ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่มีการรวบรวมสถิติในปี 2510เป็นต้นมา อัตราการใช้กำลังการผลิตในเยอรมนีนั้นอยู่ที่ร้อยละ 72 และร้อยละ 65 ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถิติที่ต่ำสำหรับช่วงทศวรรษนี้ ภาวะที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงนี้ทำให้ระบบเศรษฐกิจเวียนว่ายอยู่ในวัฏจักรแห่งความถดถอย และทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการมองหาโอกาสการลงทุนที่จะประสบผลสำเร็จ เช่นนั้นแล้วอุปสงค์ในการลงทุนก็ลดลงตามไปด้วย หลายบริษัทต้องเผชิญกับภาวะล้มละลาย ภาวะเช่นนี้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงในอาชีพและรายได้ของคนงาน ทำให้พวกเขาต้องลดค่าใช้จ่ายและการบริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้นดำเนินต่อไปอีกยาวนาน

3.กลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาขนาดเล็กโดยมากมักใช้การลดค่าเงิน ซึ่งทำให้ราคาสินค้าส่งออกของตนได้เปรียบประเทศอื่นๆ นำไปสู่การขยายตัวของภาคส่งออกอันจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตด้วย มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจในอดีต อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้ใช้ไม่ได้เลยในสภาพแวดล้อมที่เศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ในภาวะตกต่ำ ถ้าปราศจากความร่วมมือซึ่งกันและกันแล้วเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทั้งในประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนามีแนวโน้มว่าจะด้อยประสิทธิภาพและถ้าเราไม่จัดการกับกำลังการผลิตส่วนเกินแล้วล่ะก็ พวกเราทั้งหมดจะประสบกับวิกฤติที่ยืดเยื้อ

แหล่งที่มา http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/COUNTRIES...

หมายเลขบันทึก: 605850เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท