Explicit knowledge


การเลือกพื้นที่เลี้ยงวัว

1.พื้นที่ การเลี้ยงวัวต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยง วัวเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงให้เหมาะสม ถ้าหากเป็นชาวบ้านก็จะเลี้ยงปล่อยตามทุ่งนาทั่วไป ซึ่งต้องมีคนเฝ้าและดูแลวัวตลอดทั้งวัน แต่ถ้าหากเราจะเลี้ยงเป็นฟาร์มก็ต้องมีพื้นที่ ทั้งทำคอก ปลูกหญ้า ต่างๆ เพื่อใช้เลี้ยงวัวที่ท่านหามา

การเลือกพันธุ์วัว

2. พันธุ์วัว สิ่งต่อมาที่ท่านต้องเตรียมก็คือพันธุ์วัว เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร เลี้ยงเพื่อไปขายที่ไหน วัวมีด้วยกันหลายสายพันธุ์แบ่งเป็นง่ายๆก็ วันพันธุ์เนื้อและวัวนม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวัวพันธุ์เนื้อพื้นเมืองของไทย

วัวพื้นเมือง
วัวพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับวัวพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.
ลูกวัวเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่วัวเนื้อ การเลี้ยงวัวเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกวัวให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่วัวสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกวัวมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของวัวระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
การเลี้ยงแม่วัวเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลีอกพันธุ์วัวที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกวัวที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงวัว ปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร ดังนั้น จะต้องทราบว่าวัวพันธุ์ต่างๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยงที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อวัวที่มีลักษณะอย่างไร

ข้อดีในการเลี้ยงวัว

1.เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
2.ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่วัวที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
3.ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
4.ใช้แรงงานได้ดี
5.แม่วัวพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน วัวพันธุ์ตาก วัวกำแพงแสน หรือ วัวกบินทร์บุรี
6.มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย
7.สามารถใช้งานได้

ข้อเสียในการเลี้ยงวัว

1.เป็นวัวขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
2.ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดวัวขุนต้องการ คือ ที่น้ำหนักมีชีวิต 450 ก.ก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
3.เนื่องจากแม่วัวมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับวัวพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โลเล่ย์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยาก

4.อาหาร สิ่งที่ต้องเตรียมตามมาก็คืออาหารที่เราจะใช้เลี้ยงวัวของเรา สำหรับอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงวัวนั้น

5. น้ำ การเลี้ยงวัวจะต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอให้วัวบริโภค สำหรับใครที่เลี้ยงเป็นจำนวนมากน่ะครับ แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรสำหรับน้ำให้วัวกิน

ประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ให้ประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมากมายหลายประการ ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์สามารถสร้างฐานะจนร่ำรวยได้ เป็นอาชีพที่ได้ผลตอบแทนสูง หากมองในภาพรวมตั้งแต่ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ได้ 4 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ
สัตว์เลี้ยงจำพวกโคกระบือ สุกร ไก่และเป็ด ล้วนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสินค้าจำหน่ายเพื่อการบริโภค เนื้อ นม ไข่ โดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้หลายชนิดทำเป็นเครื่องอุปโภคและเครื่องใช้ได้หลาย ๆ ประเภท สินค้าบางชนิด มีปริมาณมากจนกระทั่งสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย นับว่าผลผลิตจากสัตว์นี้ ช่วยลดการเสียดุลการค้าได้ประการหนึ่ง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ) ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยมีอาชีพทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรจะมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากทิศทางของระบบเศรษฐกิจไทยมุ่งไปสู่การประกอบการด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์นับเป็นอาชีพที่สำคัญของเกษตรกรไทย
2. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ด้านเกษตรกรรม
การเลี้ยงสัตว์มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านอื่น ๆ หลายด้าน ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์ทั้งสิ้น คือ
2.1 การใช้แรงงานจากสัตว์ ประเทศไทยมีเนื้อที่ในการทำนาในปัจจุบันประมาณ 75 ล้านไร่ ซึ่งถ้าหากใช้รถแทรกเตอร์ไถนาเป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำนาจะต้องใช้รถแทรกเตอร์ไถนา

2.2 การเลี้ยงสัตว์ช่วยเปลี่ยนแปลงผลผลิตในฟาร์ม ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถที่จะใช้ผลิตผลนั้นได้โดยตรง มาเป็นอาหารที่มีคุณค่าและมนุษย์ชอบ นอกจากนั้น สัตว์ยังเปลี่ยนผลผลิตที่เหลือจากมนุษย์กินมาเป็น เนื้อซึ่งได้ราคาสูงกว่าการขายผลิตผลนั้นโดยตรง

2.3 การเลี้ยงสัตว์ช่วยลดต้นทุนการผลิตทางด้านเกษตรอื่นๆ เช่น การเลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงสุกร โดยใช้มูลสุกรเป็นอาหารของปลา การใช้มูลไก่แห้งตั้งแต่ 10-40 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารผสมเป็นอาหารของไก่ไข่และวัวเนื้อได้ ในภาคใต้ของประเทศไทยนิยมเลี้ยงวัวในสวนมะพร้าว เพื่อให้วัวกำจัดหญ้าในสวนมะพร้าว และให้มูลแก่มะพร้าว ทำให้มะพร้าวเจริญเติบโตและให้ผลดกขึ้น
2.4 สัตว์ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ทั้งนี้ เพราะมูลของสัตว์ประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นปุ๋ยแก่พืชสัตว์จะให้มูลซึ่งนับเป็นปุ๋ยคอก (manure) หรือปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) ที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง แม้ว่าจะเป็นปุ๋ยที่มีอัตราการสลายตัว (decompose rate) ช้า แต่ปุ๋ยคอกจะช่วยทำให้โครงสร้างของดินดี ขึ้น มูลสัตว์ต่างๆ มีไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซียม (K)
2.5 การเลี้ยงสัตว์ช่วยกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี วัชพืชบางอย่าง เช่น หญ้าคา ผักตบชวา เป็นศัตรูที่ร้ายแรงต่อการปลูกพืชเป็นอย่างมาก ปีหนึ่ง ๆ เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการกำจัดวัชพืชเหล่านี้เป็นเงินหลายล้านบาท 3. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ด้านสังคม
3. ลดปัญหาการว่างงานของประชาชน การที่ประชาชนในชาติไม่มีงานทำ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น ชาวชนบทมีการอพยพจากไร่นาสู่เมือง ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม เพราะความยากจน ปัญหาโสเภณี ปัญหาจากผู้ก่อการร้าย ปัญหาการเกิดแหล่งเสื่อมโทรมเนื่องจากการอพยพจากชนบทสู่เมือง เป็นต้น

4. ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของการเลี้ยงสัตว์
นอกจากประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว การเลี้ยงสัตว์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมายหลายประการซึ่งล้วนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรของประเทศทั้งสิ้น ทั้งในด้าน อุตสาหกรรม ด้านพลังงาน การแพทย์ และการกีฬา เป็นต้น
4.1 การเลี้ยงสัตว์ช่วยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องหนังอุตสาหกรรมการทำปุ๋ยวิทยาศาสตร์จากกระดูกสัตว์
4.2 การผลิตพลังงานจากมูลสัตว์ เช่น การผลิตแก๊สชีวภาพ (bio – gas) ทำได้โดยหมักมูลสัตว์ให้เกิดแก๊สมีเทน ซึ่งการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์นี้กระทำแพร่หลายมากในประเทศอินเดีย ไต้หวัน สำหรับในประเทศไทยมีการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์เพื่อใช้กับเครื่องสูบน้ำที่จังหวัดนครปฐม และผลิตแก๊สจากมูลสัตว์เพื่อใช้ในการหุงต้ม ที่ฟาร์มคีรีขันธ์ จังหวัดปทุมธานี
4.3 การทำวัคซีนป้องกันโรคของสัตว์และของคน โดยผลิตจากไข่และเลือดของสัตว์
4.4 การทำกาวจากหนังสัตว์ ทำยาฟอกหนัง เครื่องสำอางจากไข่
4.5 การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้กันขโมย การฝึกสุนัขเพื่อใช้จับคนร้าย และใช้ในการสงคราม
4.6 การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นเกมกีฬา เช่น การแข่งม้า แข่งสุนัข ขี่มาโปโล และการชนไก่ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 605652เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2016 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2016 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีลูกวัวขายมั้ยค่ะ สนใจค้ะ

ข้อมูลดีๆเยอะเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท