เทคโนโลยีในโลกปัจจุบันและอนาคต



“เทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต”

นางสาวอริสรา ผลจันทร์

บทนำ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมากเทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกการเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มากลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

1. คอมพิวเตอร์ (Computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์

2. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา และให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันที่นักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษา และทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (Robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงาน และใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information SystemEIS) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การ โดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจ เมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้างโดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่างๆเช่นสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์

4. การจดจำเสียง (Voice Recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียงก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ

5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Interchange ; EDI) เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่น โดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

6. เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ "ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)" นี้จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชน และการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

7. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันให้ประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น

8. ระบบเครือข่าย (Networking System) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (Local Area Network, LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในการระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกันและการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต

9. การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อใช้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก

10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (Cable and Sattlelite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่างๆไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่างๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น

11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (MultimediaTechnology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูล หรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์

12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (Computer Based Training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยกา(ComputerAssistedInstruction) หรือ CAI" การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง

13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design ; CAD) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ

14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต(Computer Aided Manufacturing ; CAM) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด

15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System ; GIS) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (Graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผน กลยุทธ์ (Strategic Planning) การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด การบริหารการขนส่งการสำรวจและวางแผนป้องกันธรรมชาติการช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น

การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการ เปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่นเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้นเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยี โดยที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับองค์การดังต่อไปนี้ 1. ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ3. วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ โดยที่การเตรียมงานเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การประสบความสำเร็จควรประกอบด้วยการเตรียมการในด้านต่อไปนี้

1. บุคลากร การเตรียมบุคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา ตลอดจนการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเรียบร้อยแล้ว บุคลากรที่ต้องจัดเตรียมควรเป็นทั้งระดับผู้บริหาร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรู้ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ รวมทั้งการสรรหาบุคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตของหน่วยงาน

2. งบประมาณ เตรียมกำหนดจำนวนเงินและวางแนวทางในการจัดหาเงินที่จะมาพัฒนาระบบสารสนเทศให้เพียงพอกับแผนที่วางไว้ ตลอดจนจัดทำงบประมาณสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีขององค์การอาจจะล้าสมัย และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะเวลาสั้น

3. การวางแผน ผู้บริหารต้องจัดทำแผนการจัดสร้างหรือพัฒนาระบบทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ใช้ นักออกแบบระบบ และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาปฏิบัติงานร่วมกัน องค์การที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงาน และการติดต่อสื่อสารโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของธุรกิจ แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและบุคลากรมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการลดขั้นตอนในการทำงาน การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อนการร้ายหรือการโจรกรรมซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีต่อองค์การและสังคมเพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและอนาคต

ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายและถ้าเราจะพูดถึงเทคโนโลยีที่เรียกกันทั่วไปว่าคอมพิวเตอร์ก็คงจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่รู้จัก เนื่องจากการทำงานทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผลหรืองานต่าง ๆ ตามคำสั่งที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น

คอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลัก คือ
1. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) มีการทำงานโดยการนำค่าที่เป็นเลขโดด เช่น เลขฐานสอง มาใช้ในการคำนวณ
2. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดย การนำค่าตัวแปรที่ต่อเนื่อง เช่น ค่าแรงดันไฟฟ้าในวงจรมาใช้ในการคำนวณ
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ลูกผสมระหว่างคอมพิวเตอร์สองแบบแรก แต่ในปัจจุบันนี้ เมื่อกล่าวถึงคอมพิวเตอร์เฉยๆ จะหมายถึง ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กัน

สาเหตุที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในปัจจุบัน คือ
• คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
• คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ไว้ในฐานข้อมูลและเรียกเพื่อนำมาใช้งานได้ทันที ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
• คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภทจัดกลุ่มทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้โดยระบบประมวลผล ที่มีความถูกต้อง
• คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
และตลอดเวลา
• คอมพิวเตอร์สามารถจัดทำเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยระบบประมวลคำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสำนักงานอัตโนมัติ สร้างความสะดวกและประหยัดเวลาในการจัดทำเอกสารแต่ละชนิด


10 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในอนาคต

1.โทรศัพท์คอมพิวเตอร์

อีกไม่นาน เทคโนโลยีจอแสดงผลอาจเปลี่ยนรูปโฉมไปอีกขั้นโดยมีการพัฒนาให้มีขนาดบางลง ถึงขนาดว่าสามารถม้วนพับเก็บไว้ได้ ขณะที่ใช้พลังงานน้อยลงและมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานขึ้นมาทดแทน เทคโนโลยีจอแสดงผลแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างจอแสดงผลแอลซีดีที่ยังมี ข้อเสียตรงที่ใช้พลังงานมาก เทคโนโลยีที่จะเข้ามาทดแทนแอลซีดีในวันข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์แสดงผลฟิล์มบางอินทรีย์เปล่งแสง หรือ โอแอลอีดี (OLED: Organic light-emitting diode) และเทคโนโลยีที่เรียกว่าไบ-สเตเบิล ซึ่งเแม้แต่ในปัจจุบันก็มีออกมาให้เห็นบ้างแล้วทั้งในเครื่องเล่นเกม เครื่องเล่นสื่อดิจิตอลเพื่อความบันเทิง เครื่องเล่นเพลงดิจิตอล และโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะหรือสมาร์ทโฟน



2. ไอเดียรถยนต์สปอร์ต 3 ล้อ แห่งปี 2020 จาก Peugeot Velocite

นี่เป็นไอเดีย Concept Car จาก Peugeot Velocite ซึ่งออกแบบโดย Juan Calos โดยเขาได้ออกแบบรถยนต์ Peugeot สำหรับอนาคตในปี 2020 ซึ่งเป็นรถยนต์แบบ Sport 3 ล้อที่เขาได้ไอเดียมาจากรถมอเตอร์ไซต์ โดยตัวเครื่องยนต์จะใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าในระบ Low-Resistance Electric Motor ซึ่งปราศจากไอเสียและเมื่อรถวิ่งลงเขาก็จะสามารถชาร์จพลังงานให้กับรถได้อีกด้วย

3. ไอเดียคอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคตในปี 2020 จาก Sony Nextep Computer

นี่เป็นไอเดียคอมพิวเตอร์แห่งอนาคตจาก Sony Nextep Computer โดยในปี 2020 เราจะมีคอมพิวเตอร์ที่มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นด้วยหน้าจอOLEDTouchscreenมีเทคโนโลยี Holographic Projector, Pull-Out Extra Keyboard และที่สำคัญมันจะอยู่บนข้อมือของคุณด้วย ไอเดียนี้อีก 10 ปีข้าง

4. คอมพิวเตอร์ผสมกับโคมไฟตั้งโต๊ะ (Computer Table Lamp Concept)

คอมพิวเตอร์ผสมกับโคมไฟตั้งโต๊ะ (Computer Table Lamp Concept)จาก รูปภาพด้านบน มองดูแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร? แต่แท้ที่จริงมันเป็นแนวคิดคอมพิวเตอร์ในอนาคต มองไปที่ด้านบนจะเห็นช่องใส่แผ่นซีดีรอม ควบคุมการทำงานด้วยจอแสดงผลแบบสัมพัส และมีพอร์ตเพื่อการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ คอนเซ็ปต์ของมันก็คือเป็น Media Center ที่มีทั้ง เครื่องเล่นดีวีดี อัลบัมภาพ เครื่องเสียง ทีวี และอินเตอร์เน็ต สามารถนำไปวางไว้ในห้องรับแขก เพื่อใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์อีกชิ้นหนึ่งในบ้านได้

5. เครื่องฉายภาพขนาดกระทัดรัด (Ultracompact Digital Projector)

เครื่องฉายภาพขนาดกระทัดรัด (Ultracompact Digital Projector)Samsung ร่วมกับ Teague นำเสนอเครื่องฉายภาพขนาดกระทัดรัด ออกแบบมาสำหรับการประชุมทางไกลผ่านกล้องวีดีโอ สามารถสั่งการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเทคโนโลยี Laser Diode ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้หลายอย่าง มีการเชื่อมต่อไร้สาย และใช้งานอีเมล์

6. กล้องถ่ายดีวีดี (DVD Camcorder Concept)

กล้อง บันทึกดีวีดีถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก และมีรูปทรงที่ต่างไปจากกล้องถ่ายวีดีโอในปัจจุบัน ด้วยรูปทรงของมันทำให้สามารถปรับหมุนเลนส์กล้องได้ 360 องศา นับเป็นการปฏิวัติกล้องถ่ายวีดีโอครั้งใหญ่เลยทีเดียว


7. เครื่องเล่นเกมส์ Playstation 3

เครื่องเล่นเกมส์ Playstation 3 ออกแบบมาในรูปทรงแท่งสี่เหลี่ยมโค้งมน เน้นวัสดุที่ทำเหมือนโลหะ ทำให้ตัวเครื่องดูสวยเฉียบทีเดียว


8. แนวคิดรถยนต์ในอนาคตจากนิสสัน

แนวคิดรถยนต์ในอนาคตจากนิสสันออก แบบมาสำหรับนักวิทบาศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักโบราณคดี หรือนักผจญภัย รถยนต์ "Nissan 4x4 Terranaut" คันนี้มีห้องโดยสารทรงกลม ที่นั่งคนขับปรับหมุนได้ 360 องศา น่าเสียดายที่เบาะสำหรับผู้โดยสารมีเพียง 1 ที่นั่งเท่านั้น

9.แขนกลไบโอนิค(TheBionicHand)
ไอ-ลิมบ์" (iLimb) แขนกลไบโอนิคชิ้นแรกของโลกที่ออกสู่การค้าแล้ว หลังจากใช้เวลาพัฒนาและแรงคนจำนวนมาก และพัฒนาขึ้นโดยบริษัท "ทัชไบโอนิคส์" (Touch Bionics) ซึ่งแขนกลนี้มีการเชื่อมต่อที่มากมาย แต่ละนิ้วมือของแขนกลมีมอเตอร์ขับเคลื่อนเฉพาะ ทั้งนี้ปกติแขนเทียมมักดูคล้ายตะขอเกี่ยวทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่ไอ-ลิมบ์มีความสามารถที่มากกว่า อาทิ การหยิบจับบัตรเครดิตหรือถือถ้วยกาแฟได้ เป็นต้น


10.ไดนามิคทาวเวอร์"ตึกระฟ้าที่ทุกชั้นหมุนได้ (TheDynamicTower)

ทุกๆ ชั้นของตึกระฟ้า "ไดนามิคทาวเวอร์" (The Dynamic Tower) ซึ่งสูง 80 ชั้นสามารถหมุนได้ 360 องศา ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน นับเป็นตึกแรกของโลกที่ทำได้ ตึกดังกล่าวออกแบบโดย เดวิด ฟิเชอร์ (David Fisher) สถาปนิกอิตาลี และก่อสร้างในดูไบ ส่วนกรุงมอสโคว์ของรัสเซียเป็นเมืองต่อไปที่จะสร้างตึกลักษณะนี้ สำหรับตึกนี้ได้รับการออกแบบให้ใช้พลังงานลม รองรับการเป็นอาคารสำนักงาน โรงแรมและที่พักอาศัยประมาณราคาของตึกนี้อยู่ที่ 24,500 ล้านบาทโดยราคาขายห้องอยู่ที่130-1,300ล้านบาท และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2553

สรุป
ในสังคมสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คนในสังคมมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คนทุกระดับอายุ เกือบทุกอาชีพ มีความต้องการสารสนเทศอยู่ตลอดเวลาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็น ระบบปัญญาประดิษฐ์ ยูบิควิตัส การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการบริหารประเทศก็ยังมีการตั้งโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พวกเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสารสนเทศจึงควรเตรียมความพร้อมในการปรับตัว เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ การประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การพักผ่อนและบันเทิง รวมทั้งการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิตของตนเอง

ที่มา.... www.gotoknow.org

https://sites.google.com,

panuwat089577.blogspot.com/2013/10/10.html


หมายเลขบันทึก: 605345เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2016 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2016 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท