ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ QE


“QE คือการที่ Fed อัดฉีดเงินจ านวนมหาศาล เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ท าให้สภาพคล่องในโลกสูงขึ้น”

การที่ Fed เข้าซื้อสินทรัพย์ตราสารหนี้จากธนาคาร พาณิชย์เป็นการเครดิตบัญชีของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ Fed ด้วยเงินสด

ทำให้ขนาดงบดุลของ Fed ขยายขึ้นทั้งสินทรัพย์ (ตราสารหนี้)และหนี้สิน(เงินสดสำรอง)ขณะที่งบดุลของระบบธนาคารพาณิชย์ยังเท่าเดิม

เนื่องจากในแง่งบดุลของธนาคาร พาณิชย์ มาตรการ QE เป็นเพียงการเปลี่ยนสัดส่วนการถือ สินทรัพย์จากตราสารหนี้เป็นเงินสดเท่านั้น ซึ่งไม่มีการเพิ่ม

สินทรัพย์หรือแหล่งเงินทุนให้กับธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด

ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินสดที่มีไปแปรสภาพ เป็นสินทรัพย์ประเภทอื่น ซึ่งจะทำให้เกิด money multiplier ที่สร้างเงิน (broad money) ให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสภาพคล่องที่มีมากขึ้นนี้ก็อาจทำให้เกิดความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง มากขึ้นด้วย

ในทางตรงกันข้าม หากธนาคารพาณิชย์เลือกที่ จะดำรงเงินสดนั้นไว้ในรูปของเงินสำรองส่วนเกิน มาตรการ QE ก็จะไม่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างเงินดังกล่าว ดังนั้น แม้ว่านโยบาย QE จะมีปริมาณมากเพียงใดก็ไม่สามารถส่งผลโดยตรงต่อ global liquidity ได้หากระบบธนาคารพาณิชย์ไม่มีความต้องการที่จะขยายงบดุลผ่านการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ

เมื่อพิจารณาข้อมูลจากงบดุลของระบบธนาคาร พาณิชย์ในสหรัฐฯ พบว่าแม้ Fed ดำเนินมาตรการ QE แต่ขนาดงบดุลของระบบธนาคารพาณิชย์กลับขยายตัวต่ำกว่าเดิมค่อนข้างชัดเจน เพราะธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ น้อยลงในช่วงภาวะวิกฤตและเพิ่มการดำรงสินทรัพย์เงินสด ในรูปเงินสำรองส่วนเกินที่ฝากไว้กับ Fed มากขึ้น ส่งผลให้ broad money ไม่ได้เร่งขึ้นตามปริมาณธุรกรรม QE จึงไม่ ปรากฏว่า QE ทำให้เกิด global liquidity เพิ่มขึ้นโดยตรง

คำสำคัญ (Tags): #qe
หมายเลขบันทึก: 605337เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2016 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2016 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท