เปิดเสรีอาเซียน


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นกว่าการดำเนินงานของอาเซียนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 เมื่อปี 2553 โดยมีเป้าหมายให้บรรลุผล ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) และต่อมาผู้นำอาเซียนได้เร่งเวลาให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 (ค.ศ.2015)

เป้าหมายของ AEC คือ

ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี และ การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น

ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก

ส่งเสริมการรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกของอาเซียน

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังเป็น AEC คือ


อาเซียนจะรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือรวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ กติกาที่ตกลงกัน

1. อัตราภาษี 0%

2. มีการอำนวยความสะดวกทางการค้า ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร

3. การอนุญาตให้ผู้ส่งออกรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification) จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2555 (ค.ศ. 2012)

4. ASEAN Trade Repository (แหล่งเก็บรักษาข้อมูลการค้าอาเซียน) เช่น อัตราภาษี NTBs กฎแหล่งกำเนิดสินค้า กฎระเบียบทางการค้า

5. นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 และลดเลิกข้อจำกัด/อุปสรรคในการให้บริการทุกรูปแบบ ตามกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS)

บรรยากาศการค้าและการลงทุนเสรีมากขึ้น จากการลด/เลิกข้อจำกัด กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทางการค้า การลงทุน โดย

(1) เปิดเสรีการลงทุน คุ้มครองการลงทุน ส่งเสริมละอำนวยความสะดวกการลงทุน ครอบคลุมธุรกิจ 5 ภาค ได้แก่ เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และภาคการผลิต รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตามกรอบความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA)

(2) ปรับประสานนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา

ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)

ผลประโยชน์ของ AEC เกี่ยวข้องกับ

ประชาชน ในฐานะผู้บริโภคสินค้าและบริการ คือ

1. มีโอกาสเลือกซื้อ/ใช้บริการที่มีคุณภาพ และหลากหลายมากขึ้น ในราคาที่เป็นธรรม เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น

2. ได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคสินค้าและบริการ จากข้อตกลงของอาเซียน

เกษตรกร ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร คือ

1. สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีสินค้าเกษตรเป็น 0%

2. มีโอกาสสร้างเครือข่ายการผลิตในอาเซียน และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย


นักธุรกิจ ในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออก-นำเข้า นักลงทุน และบุคลากรวิชาชีพ คือ

1. กระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

2. ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จาก Supply Chain ในอาเซียน เช่น

ใช้วัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากประเทศอาเซียนอื่นในราคาถูกลง

ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอาเซียนอื่น

ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีความได้เปรียบของประเทศอาเซียนอื่น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และ แรงงานในกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และเทคโนโลยีและการจัดการของสิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

3. ผู้ส่งออก-นำเข้ามีโอกาสเข้าถึงตลาดกว้างขึ้น สามารถขยายการค้าและบริการ

4. นักธุรกิจมีโอกาสสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในประเทศอาเซียนอื่น เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มอำนาจการต่อรอง

5. นักธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและถูกลง จากความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน

6. นักลงทุนหรือบุคลากรวิชาชีพสามารถเข้าไปจัดตั้งธุรกิจหรือไปให้บริการในประเทศอาเซียนอื่นง่ายขึ้น จากการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนของอาเซียน



ที่มา : http://www.uasean.com/kerobow01/56

คำสำคัญ (Tags): #aec
หมายเลขบันทึก: 605119เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2016 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2016 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท