ขนบการรับน้องในศตวรรษที่ ๒๑


ขนบในการรับน้องในศตวรรษที่ ๒๐ นั้นเป็นขนบเก่าที่ไม่สามารถใช้กับยุคสมัยนี้ได้ ขนบเก่าเหล่านี้ยังสามารถพบได้ในมหาวิทยาลัยในหลายๆเเห่งที่ยึดขนบเดิมเหล่านี้อยู่ในปัจจุบัน จะเด่นชัดที่สุดในช่วง ต้นศตวรรษที่ ๒๑ ที่มหาวิทยาลัยในไทยนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ระบบจารีตนิยม ระบบโซตัส(SOTUS) เป็นต้น ซึ่งมายาคติในยุคเก่ามีเรื่องราว ดังนี้

สังคมมายาคติ
๑.เรื่องละเมิดสิทธิมนุยชน พากันส่งเสริมกันบานตะไท ส่วนเรื่องสนับสนุนด้านมนุษยชนพากันกลัว เเละไม่ค่อยส่งเสริม
๒.เรื่องปั้นน้ำเป็นตัว พากันปั้นเเต่งกันไป ว่าสิ่งนี้เเทนหมู่คณะ เเทนความสามัคคี ซึ่งต้องเอามันมา ให้เคารพมัน กราบไว้มัน ซึ่งมันไม่สมเหตุสมผลกันเลยเเละไม่สมควรแก่การบูชา
๓.เรื่องระบบวัยวุฒิไม่ใช่คำตอบของทุกคำถาม แต่ควรคำนึงถึงคุณวุฒิเเละความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมในมิติประชาธิปไตยด้วย
๔.เรื่องปัญญาชนก็หลอกกันเข้าไปว่าตนเป็นปัญญาชน เเต่เเท้จริงเป็นเพียงปรีชาชนเท่านั้น เพราะขาดวิชาคน วิชาความเป็นมนุษย์ วิชาการให้ วิชาเข้าใจตนเอง เข้าใจโลก
๕.เรื่องการยอมรับ พี่ก็บิ้วกันเข้าไปว่าจะไม่รับเป็นน้อง เเต่เคยถามน้องไหมว่า "เขาอยากได้พี่แบบนี้หรือเปล่า" "พี่ส่งเขาเรียนหรือเปล่า"
๖.เรื่องระบบ ระบียบ ข้อบังคับ เกิดขึ้นตามยุคสมัย เราไม่อาจใช้ระบบเดียวใช้ทุกทศวรรษได้เเน่นอน เพราะสังคมมีการพัฒนา หากระบบนั้นสวนทาง ย่อมส่งผลให้ระบบนั้นอ่อนเเอ เเละเสื่อมลงในที่สุด
๗.เรื่องการไม่ประเมินผลเชิงคุณภาพ เเต่ประเมินโดยปริมาณในมโนสำนึกของหัวหน้าโปรเจคทั้งหลาย ในหลายๆกระบวนการ จึงเป็นระบบป่าเถื่อนที่ละเอียดมากๆ จนไม่รู้ว่าป่าเถื่อน
๘.เรื่องการปลูกกล้าเผด็จการ ในมายาคติความเป็นผู้ใหญ่ใส่ระบบนี้เข้าไปในสมองเด็กเเละผู้คน สะกดให้ "ทำตามๆๆ" เพราะ เหตุผล ๑ ๒ เเละ ๓ โดยต้องทำตามเท่านั้น

ในระบบมีขนบ
ระบบเเม้ตั้งมาไม่นาน หากมีกระบวนการส่งต่ออย่างต่อเนื่อง ตัวระบบมันจะสร้างความเป็นขนบของมันขึ้นมาเอง ให้เข้าใจว่าขนบนี้นั้นเป็นความชอบธรรมของตัวระบบ เมื่อคนเข้ามาอยู่ในระบบ จึงต้องปฏิับัติตนให้ชอบธรรมตามขนบในระบบนั้นๆ
ภาพมายาของขนบ ที่ตัวระบบหล่อหลอมขึ้น เป็นกฎที่สำเร็จรูปให้คนปฏิบัติตาม โดยห้ามกังขา ใครกังขา คือ ผู้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกครรลอง นานวันเข้าเมื่อมายาของขนบกลืนกินด้วยระยะเวลาที่สมควร ไม่นานย่อมดัดกมลสันดานของคนให้เชื่อไปตามมายาในขนบนั้นๆ เเม้จะเรียนการศึกษาสูงเพียงใด ก็จะเเยกส่วนระหว่างเหตุผล เเละขนบอยู่ดี เเม้กระทั่งผู้ให้เเสดงสว่างในจุดนี้ยังมองไม่เห็นแสงสีเสียเลย

ระบบเก่า-ระบบใหม่
การใส่ค่านิยมที่รุนแรงให้น้องไปนั้น ความคิดเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้รุ่นสู่รุ่นเเล้วจะเป็นขนบในระบบที่ใครคิดต่าง คนนั้นจะไม่ถูกสังคมยอมรับหรือบางคนที่ไม่สามารถทัดทานกับขนบเหล่านี้บ้างก็ลาออก บ้างก็ย้ายคณะก็มี เพราะขนบเก่าเป็นจารีตที่กระด้างกระเดื่องต่ออิทธิพลของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ โดยตรง

การรับน้องแบบเก่านั้นไม่สามารถใช้ได้กับยุคสมัยนี้ได้อีกต่อไปเพราะยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ความรู้ ความเชื่อ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ระบบเก่าหากจะใช้กับยุคนี้ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน นอกจากระเบียบวินัยที่สุดโต่งที่ไม่สามารถเทียบเคียงได้กับชีวิตจริง ยังสร้างความร้าวฉานให้กับคนในองค์กรนั้นๆอยู่เสมอ เเต่ระบบใหม่เป็นพลังบวกที่สร้างสรรค์ สร้างความสุข ความประทับใจ เเละจบลงด้วยสันติที่มีสุข สันติประชามีธรรม

พี่ต้องปรับตัวเรื่องอะไรบ้าง
๑.ความเข้าใจในมิติวัฒนธรรมศาสตร์เเละสังคมวิทยา ที่ระบบสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยต้องยอมรับจะปรับเปลี่ยนเเนวคิดให้สร้างระบบใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย "ให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลง"
๒.ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก สภาวะอารมณ์ หลักการเรียนรู้ หลักพหุปัญญา การเข้าใจตนเองจากด้านใน เเล้วจึงไปสร้างกระบวนการให้ผู้อื่น "ให้เข้าใจการเรียนรู้เเละภายใน"
๓.ความเคารพในสิทธิเสรีภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เคารพความเท่าเทียมเเละให้เกียรติในฐานะความเป็นมนุษย์เเละศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ "ให้เข้าใจหลักสิทธิเสรีภาพ"
๔.มีความรู้ด้านการประเมินผลเชิงคุณภาพ การทำค่ายอย่างสร้างปัญญา การถอดบทเรียนตามสภาพจริง เเละการจัดการความรู้ ตลอดจนมีองค์กรที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์อยู่เสมอ "ให้เข้าใจหลักวิชาการ"

มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างไร
.ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ให้ปรับระบบมายาคติเดิม เเล้วเปลี่ยนระบบใหม่ที่สอดรับกับศตวรรษที่ ๒๑ เเม้เลิกวัฒนธรรมเดิมไม่ได้ ให้เปลี่ยนแปลงกระบวนการไปในเชิงสร้างสรรค์กับเด็ก
๒.การเป็นผู้ประเมินการรับน้องกลางอย่างคุณภาพ เเละคณะต่างๆ เเล้วนำผลนั้นไปบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์
๓.เป็นผู้อำนวยการด้านความรู้เเละการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ มิใช่อำนวยการด้านระบบการฝึกพี่ว๊ากหรือระบบอื่นๆที่ลดทอนสิทธิเสรีภาพของความเป็นมนุษย์

แนวทางการรับน้องในศตวรรษที่ ๒๑
๑.การรับน้องเชิงสร้างสรรค์ มุมบวก เสริมการปรับตัวเข้ามหาวิทยาลัย สานสัมพันธ์พี่กับน้องเชิงบวก สร้างความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันในสาขา คณะ เเละมหาวิทยาลัย เช่น การเข้าค่ายอาสาพัฒนา กิจกรรมฐาน การเข้าค่ายสานสัมพันธ์ การผูกเเขน เป็นต้น
๒.กิจกรรมที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเรียนรู้ของเด็กเเละไม่ใช้ตรรกะวิบัติในการเทียบเคียงการรับน้องกับชีวิตจริงเเล้วยัดความคิดนี้ใส่ในความคิดของเด็ก ให้เปลี่ยนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การจัดกิจกรรมแนวจิตปัญญา การสร้างความรู้ สร้างทักษะความเป็นทีม เป็นต้น
๓.กิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การเรียนรู้ชุมชน การช่วยเหลือประชาชน เป็นต้น
๔.กิจกรรมสร้างสร้างทักษะสำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ เน้น ทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน เเละทักษะการสื่อสาร หรือ กิจกรรมอื่นๆที่ส่งเสริมทักษะอื่นๆเชิงบวก เป็นต้น
๕.กิจกรรมเสริมความรู้ ความเข้าใจในสาขาวิชานั้นๆที่ตนสังกัด เช่น การติว ค่ายสอนสนุก ค่ายพี่สอนน้อง เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 605001เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2016 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2016 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท