รัฐธรรมนูญ มาจากไหนกันแน่


รัฐธรรมนูญ มาจากไหนกันแน่

[I am keeping on with my notes on how I use dictionaries for 'little' research topics. See

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. http://www.gotoknow.org/posts/603991
หกคะเมนตีลังกา http://www.gotoknow.org/posts/60415

We have a national agenda hanging in our mind for for some time now. รัฐธรรมมนูญ (constitution) is a super law for a country that no other laws can contradict. รัฐธรรมมนูญ spells the governance of a country, rights and entitlements for all people, and activities in exercises and maintainance of this super law.

Historically,

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
http://www.เกร็ดความรู้.net/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจ...
...รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือกฏหมายสูงสุดของประเทศไทย เริ่มมีการประกาศใช้ตั้งแต่ประเทศเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ.2475 โดยที่พระบทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานธรรมนูญการปกครอง หรือ รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว...
นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

NB.***รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และได้รับการยกเลิกอย่าง “สันติ” เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน***
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/...
https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
...ตามความในพระราชหัตถเลขา ดังนี้

"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเปนของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เปนพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเปนของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์..."

https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐธรรมนูญ
...รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก

ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก...


But รัฐธรรมนูญ มาจากไหนกันแน่

We come to ponder on the Thai word รัฐธรรมนูญ. How did it come into use?

http://guru.sanook.com/4363/
รัฐธรรมนูญ (Constitution) หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)

NB. ***มนูญ is not listed in พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (RID) ***


อาถรรพณ์'รธน.'ไทยฉีกง่าย!พบเหตุใช้คำผิด - คมชัดลึก
www.komchadluek.net/detail/20150408/204350.html
Apr 8, 2015 - มนุญญะ หรือ มนูญแปลว่าอะไร ? คำตอบ คือ ทำใจให้ยินดี, ทำใจให้ฟู, ทำใจให้เบิกบาน มาจาก มน (ใจ) + อุ (ขึ้น, สูง) + ญะ (มาจากรากศัพท์ว่า ญา แปว่า ยินดี) ...
[ ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ...
...คำนี้มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต คือ รฏฺฐ (รัฏฐะ, ประเทศ) + ธรฺม (ธรรรม, หลักธรรม) + มนุญญ (ฟูใจ, ทำใจให้ยินดี) ไทยปรับมาใช้เป็น "รัฐธรรมนูญ" ซึ่งย่อมาจาก "รัฏฐธรรมมนุญญะ" นั้นคือ ย่อ รัฏฐ เป็น รัฐ, ขยาย ธรฺม เป็น ธรรม, แล้วปรับเสียง มนุญญะ เป็น มนูญ โดยลบ ญ ทิ้ง....ฉะนั้น จึงน่าจะเขียนเป็น "รัฐธรรมมนูญ" ตามรูปที่เป็นจริง แต่กลับเขียนทำ "ม" หายไป ๑ ตัว
...มีการอธิบายจากนักภาษาศาสตร์ว่า เสียง ม ที่หายไปเพราะเกิดการกลืนเสียง ม ด้วยกัน
...ม ที่หายไปไม่รู้ว่า ม จาก ธรรม หรือ ม จาก มนุญญ (หรือ มนูญ)
...ไม่ว่าจะหายไปจากคำไหน ก็ล้วนแต่ทำให้ขาดความหมายที่สมบูรณ์ คือ ม ที่ "ธรรม" ขาดก็เหลือเป็น "ธรร" ไม่มีความหมาย หรือ หาก ม ที่ มนูญ หายไปก็เหลือเป็น นุญญ หรือ นูญ ซึ่งก็ไม่มีความหมายอะไร ดังนั่น หากจะให้ได้ความหมายสมบูรณ์ต้องเขียนเป็น รัฐธรรมมนูญ (รัฐ + ธรรม + มนูญ)

@ มนุญญะ หรือ มนูญแปลว่าอะไร ? คำตอบ คือ ทำใจให้ยินดี, ทำใจให้ฟู, ทำใจให้เบิกบาน มาจาก มน (ใจ) + อุ (ขึ้น, สูง) + ญะ (มาจากรากศัพท์ว่า ญา แปว่า ยินดี) เพื่อนนักบาลีเลยอธิบายโดยเขียนเป็นรูปวิเคราะห์ (analytical study) ให้ดูว่า รฏฺฐสฺส ธมฺโม = รฏฺฐธมฺโม ธรรมสำหรับประเทศ ชื่อว่า รัฐธรรม, รฏฺฐธมฺโม มนํ อุญฺเญติ อิติ รฏฺฐธมฺมมนุโญ= ธรรมสำหรับประเทศที่ทำใจให้ยินดี ชื่อว่า รัฐธรรมมนุญะ, ตสฺสเยว ภาโว รฏฺฐธมฺมมนุญฺญํ = ความเป็นธรรมสำหรับประทศที่ทำใจให้ยินดีนั่นเอง ชื่อว่า รัฏฐธรรมมนุญญะ หรือ รัฐธรรมมนูญ...]

See also ป้ายกำกับ : รัฐ + ธรรม + มนูญ https://m.facebook.com/RwmMitrKarmeuxngStilLungTo/...

Let's do our research to learn how we can do research at home ;-) We look up RID and note:

กฎหมายธรรมนูญ

กฎหมาย (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
กฎ [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. ( อ. law).
หมาย น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคำสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการ หรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกำหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

ธรรมนูญ (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
ธรรม ๑ [ทำ, ทำมะ-] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. ( ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
๒ คำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
๓ น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ต่ำกว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
dhamma: doctrine; nature; truth; the Norm; morality; good conduct. (m.) [Pali-English Dictionary PED]

NB. *** นูญ/มนูญ (***ไม่มีคำนี้*** in [RID]) ***
*** The word ธรรมนูญ is the only word in [RID] with 'นูญ' conjugated. ***

So what is a possible etymology of this word? ; seeking root from a) Pali and Sanskrit; b) other languages

a) Possible 'root' from Pali and Sanskrit:

มนุญ ว. เป็นที่พอใจ, งาม. (ป. มนุญฺ). [RID]
manuñña: delightful; pleasant. (adj.) [PED]

NB. ***The word มนุญ/manuñña is an 'adjective' (วิเศษณ์) so it is not grammatically correct to be placed at end of a 'sandhi' (สนธิ)*** What is another possible meaning? Other than

manuñña: delightful; pleasant. (adj.) [PED]
man + uññā
mana: mind; consciousness. (in cpds. it takes the form mano). (m.; nt.)
Uññā (f.) [= avaññā (?) from ava + jñā, or after uññātabba?] contempt Vin iv.241; Vbh 353 sq. (att˚).

มนู น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คำ มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).

manu[u] - An Indian sage of old who wrote a work for the guidance of kings in good government. E.g., Cv.lxxx.9, 55; lxxxiii.6; lxxxiv.2; xcvi.26. [Pali Proper Name (PPN)]

aññā: perfect knowledge; arahantship. (f.) [PED]
manuu + añña --> มนูญ
manu[u] - An Indian sage of old who wrote a work for the guidance of kings in good government.
aññā: perfect knowledge; arahantship. (f.) [PED]

NB. *** This appears more appropriate meaning of the sandhi word มนูญ and in support we have

มนูสาร น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ [RID].


A look at other possibilities:
nūna: indeed; surely; certainly. (ind.) PED
Nūna (& nūnaŋ DhsA 164) (indecl.) [Ved. nūnaŋ=Gr. ;nu/n, Lat. nunc (cp. num); Goth. nu, Ger. nun, cp. E. now See also nu] affirmative -- dubitative particle with Pot or Ind., viz.

1. (dubit. -- interrog.) is it then, now, shall I etc. (=Lat. subjunctive, hortative & dubitative D ;i.155 (=Lat. num, cp. nu). Esp. freq. with rel pron. yaŋ=yaŋ nūna what if, shall I, let me (Lat. age Sn p. 80 (yaŋ nūn' âhaŋ puccheyyaŋ let me ask, I will ask); J i.150, 255; iii.393; PvA 5 (y. n. âhaŋ imassa avassayo bhaveyyaŋ=let me help him).

2. (affirm. surely, certainly, indeed Sn 1058 (api nūna pajaheyyuŋ); A v.194; J i.60; v.90; Pv ii.924 (nuna) Miln 20; DhsA 164; PvA 95 (nuna as v. l.; text reads nanda).

Nanu (indecl.) [Ved. nanu]
1. part. of affirmation (cp. na1): surely, certainly Pv ii.67 (so to be read for nanda? v. l BB nuna); Manor. Pūr. on A v.194 (Andersen P. R. 91) NB. *** nanda: rejoicing. (adj.) [PED]***
Nanda at Pv ii.67 used either as interj. (=nanu, q. v.) or as voc. in the sense of "dear"; the first expln to be preferred & n. probably to be read as nanu (v. l. nuna or ;handa (in which case nanu would be gloss).
2. part. of interrogation (=Lat. nonne) "is it not (cp. na2): J i.151; iii.393; DhA i.33.

ya: which; what; whatever. (relative pron.) [PED]

b) Possible root from other languages (in the region):

*** With my limited knowledge and resources on other languages in and around Thailand, I think it is better that I leave this part to you - more knowlegible people ;-)

Have a good weekend.

หมายเลขบันทึก: 604465เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2016 05:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2016 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท