Digital economy


Digital economy คืออะไร

การใช้ระบบเว็บเบสบนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น กิจกรรมที่เรียกว่า Paperless Trading หรือการค้าไร้กระดาษ หลักการคือในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการยื่นขอใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองสำหรับการส่งออกนำเข้าสินค้าบางอย่าง ไม่ต้องยื่นคำร้องขอเป็นกระดาษที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม ให้สามารถยื่นคำขอผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือยื่นคำขอออนไลน์ได้ ซึ่งทำให้ผู้ขอรับบริการไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตหรือออกหนังสือรับรอง ส่วนด้านพิธีการศุลกากรในการส่งออกนำเข้า ได้มีการปรับปรุงก้าวหน้าไปมาก สามารถยื่นเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีการศุลกากร เช่น ใบขนสินค้าทางระบบออนไลน์ เป็นต้น กิจกรรมที่เห็นเป็นรูปธรรมและเห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจนล่าสุดคือ ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค ICAS โดยธนาคารแห่งประเทศไทย แทนการนำส่งเช็คตัวจริง ซึ่งสามารถร่นระยะเวลาในการเรียกเก็บเงินตามเช็คทั่วประเทศ

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/612294#s...

การปรับตัวเข้าสู่ Digital economy ของตนเอง

1. เริ่มเรียนรู้ระบบสารสนเทศต่างๆที่ทันสมัย

2. ยอมรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่

3. พัฒนาตนเองในการใช้เทคโนโลยีอยู่เสมอ

4. วางแผนในการดำรงชีวิต และจัดการการทำงาน ด้วยระบบสารสนเทศให้มากขึ้น

5. สร้างความเชี่ยวชาญให้ตนเอง ด้วยการทำธุรกรรมต่างๆในระบบอิเล็คทรอนิกส์

คำสำคัญ (Tags): #Digital Economy
หมายเลขบันทึก: 603836เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2016 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2016 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท