การพักการลงโทษในเวลากลางวัน (Day Parole)


การพักการลงโทษในเวลากลางวัน (Day Parole) มีลักษณะคล้ายคลึง และ เชื่อมโยง กับ การให้นักโทษออกไปทำงานในเวลากลางวัน (Work Release) และ การให้นักโทษที่เหลือโทษน้อยไปพักที่บ้านกึ่งวิถี (Halfway house) ..............................


การพักการลงโทษในเวลากลางวัน (Day Parole) และ จำคุกในเวลากลางคืน ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ การพักการลงโทษในเวลากลางวันฯ ของแคนาดา ข้อมูลโดยสังเขป จากบทความ เรื่อง Day Parole and Halfway Houses in Canada By Willie Gibbs พบว่า แคนาดาได้นำโปรแกรมการพักการลงโทษมาใช้ภายใต้พระราชบัญญัติพักการลงโทษ ปี ๑๙๕๙ ได้กำหนด เงื่อนไขการพักการลงโทษ หรือ เงื่อนไขการคุมประพฤติ สำหรับผู้กระทำผิดที่ถูกตัดสินจำคุกที่มีสิทธิ์ได้รับการพักการลงโทษในเวลากลางวันจำคุกในเวลา กลางคืน จะต้องได้รับการคุมขังมาแล้วตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น กรณีผู้กระทำผิดได้รับโทษจำคุก ๒ ปี จะต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของโทษจำคุกที่ได้รับ กรณีผู้ที่กระทำผิดได้รับโทษจำคุกสองถึงสามปี จะต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ของโทษจำคุกที่ได้รับ เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ได้มีการนำ Day Parole มาใช้เพิ่มขึ้น เป็นการดำเนินการภายใต้ แนวคิด ในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน เช่น นายจ้าง หรือเจ้าของบริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในงานคุก มี วัตถุประสงค์ เพื่อการเตรียมความพร้อมกลับคืนสู่สังคม โดยนักโทษสามารถทำกิจกรรมได้ตามความสมัครใจ เช่น การทำงาน การศึกษา กิจกรรมเพื่อประโยชน์ชุมชน และ การอยู่กับครอบครัว ด้านแนวทาง การดำเนินงาน จะมี คณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board) เป็นผู้พิจารณาคัดเลือก และ ประเมินความเสี่ยงว่าผู้รับการพักการลงโทษจะเป็นอันตรายต่อสังคมหรือไม่ กรณี ละเมิดเงื่อนไข ที่ทางคุกกำหนดอาจถูกเพิกถอนการพักการลงโทษและส่งตัวกลับไปยังคุก ด้าน ผลการดำเนินงาน การพักการลงโทษในเวลากลางวันฯ ของคุกแคนาดาที่ผ่านมา นั้น ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ในการเตรียมความพร้อมกลับคืนสู่สังคม นักโทษที่ออกไปทำงานรับจ้างส่วนหนึ่งได้ทำงานต่อกับบริษัทนายจ้างภายหลังพ้นโทษ และ สามารถลดการกระทำผิดซ้ำลงได้ระดับหนึ่ง



โดยสรุป


การพักการลงโทษในเวลากลางวัน (Day Parole) และ จำคุกในเวลากลางคืน เป็นมาตรการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย สำหรับนักโทษที่ยังไม่พ้นโทษ ตามเงื่อนไขที่ทางคณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board) กำหนด หากละเมิดเงื่อนไขอาจถูกเพิกถอนการพักการลงโทษ และ ส่งตัวกลับไปยังคุก ดังนั้น ความสำเร็จของการพักการลงโทษจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้พ้นโทษในการปรับตัวให้สังคมยอมรับเป็นสำคัญ และ ความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคม ยังถือเป็นกลยุทธ์ในการลดอาชญากรรมตามวัตถุประสงค์โดยรวมของความยุติธรรมทางอาญา โดยที่ Day Parole มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การให้นักโทษออกไปทำงานในเวลากลางวัน (Work Release) และ บ้านกึ่งวิถี (Halfway house) เฉพาะกรณีที่นักโทษที่เหลือโทษน้อยในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ กล่าวคือ

ลักษณะเหมือน ระหว่าง Day Parole กับ Work Release ต่างก็มีลักษณะการออกไปทำงานในเวลากลางวัน และ จำคุกในเวลากลางคืนเหมือนกัน

ลักษณะต่าง ระหว่าง Day Parole กับ Work Release คือ Day Parole เป็นการออกไปใช้ชีวิตตามปกติเสมือนไม่ได้ต้องโทษจำคุกในเวลากลางวันเพราะได้รับพักการลงโทษ ส่วน Work Release ยังอยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกทั้งกลางวัน และ กลางคืน

ลักษณะเหมือน ระหว่าง Day Parole กับ Halfway house เฉพาะกรณีที่นักโทษที่เหลือโทษน้อยในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ต่างก็มีลักษณะการออกไปทำงานในเวลากลางวันเหมือนกัน

ลักษณะต่าง ระหว่าง Day Parole กับ Halfway house เฉพาะกรณีที่นักโทษที่เหลือโทษน้อยในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ กล่าวคือ Day Parole เป็นการพักการลงโทษในเวลากลางวัน และ จำคุกในเวลากลางคืน ส่วน Halfway house มีลักษณะเป็นการพักการลงโทษแบบ Full Parole โดยปริยาย

ด้านผลการดำเนินงาน พักการการลงโทษเวลากลางวัน (Day Parole) ของคุกแคนาดาที่ผ่านมา นั้น ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยกลับคืนสู่สังคม นักโทษได้เรียนหนังสือ ทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ชุมชน อยู่กับครอบครัว และ ทำงานมีรายได้ไว้ใช้สอย โดยนักโทษที่ออกไปทำงานรับจ้างส่วนหนึ่งได้ทำงานต่อกับบริษัทนายจ้างภายหลังพ้นโทษ และ สามารถลดการกระทำผิดซ้ำลงได้อย่างมีนัยสำคัญ


......................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘



อ้างอิง

บทความ เรื่อง Day Parole and Halfway Houses in Canada By Willie Gibbs เว็บไซต์ http://dspace.africaportal.org/jspui/bitstream/123... 25466/14/Chapter %204-K.pdf?1 ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://blackburnnews.com/ chatham/ chatham-news/2014/ 02/06/warwick-to-be-released/ และ เว็บไซต์ http://pbc-clcc.gc.ca/index-eng.shtml




หมายเลขบันทึก: 603456เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2016 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.ธวัชชัย มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา

ขอขอบคุณอาจารย์อร วรรณดา มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท