พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้พิการทางร่างกายและสติปัญญาร่วมด้วย สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย​


พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้พิการทางร่างกายและสติปัญญาร่วมด้วย สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย



สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ผมจะมาขอพูดถึงการฟื้นฟูผู้พิการทางด้านร่างกายและสนิปัญญาในวัยผู้ใหญ่ โดยผมจะอธิบายในแบบของมิชากิจกรรมบำบัดนครับ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้นะครับ



ก่อนอื่นเลยผมขออธิบายคำศัพท์ทั้งคำนี้ก่อนเลยนะครับ

Impairment คือ ความบกพร่อง เสียหน้าที่การทำงานของร่างกายและจิตใจไป ซึ่งจะเสียชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

Disability คือ การไร้ความสามารถ เป็นผลมาจากการ impairment ทำให้เกิดข้อจำกัดที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งไปเช่น นักไวโอลิน นิ้วมือขาดเล่นไวโอลินตามเคยไม่ได้ ถือว่าเป็น disability แต่ถ้านิ้วที่ขาดไปเป็นนิ้วข้างที่ไม่ถนัดซึ่งไม่สงผลใดๆต่อการเล่นไวโอลิน ถือว่าเป็น impairment

Handicap คือ การเสียเปรียบของบุคคล เป็นผลมาจากการ บกพร่องหรือไร้ความสามารถ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม เช่น คนตาบอดเสียเปรียบในการรับรู้ข่าวสารที่ส่งมาเป็นตัวอักษร


คนพิการแบ่งออกเป็น 6 ประเภทได้แก่

  1. ตาบอด
  2. พิการด้านการได้ยินหรือสื่อความหมาย
  3. ความพิการด้านการเคลื่อนไหวหรือพิการด้านร่างกาย
  4. ความพิการด้านจิตใจ
  5. ความพิการด้านสติปัญญา
  6. ความพิการด้านการเรียนรู้

สาเหตุ

1.พิการแต่กำเนิด จาก กรรมพันธุ์ เช่น down syndrome

2.จากการติดเชื้อ จากแบคทีเรียต่างๆตอนเป็นเด็ก เช่น วัณโรค โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ โปลิโอ หัดเยอเรมัน คางทูม อีสุกอีใส

3. จากอุบัติเหตุ

4. จากสาเหตุของเนื้องอก

5 ไม่ทราบสาเหตุ

ร่างกายจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน 8 ระบบ จึงจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

  1. ระบบโครงกระดูก
  2. ระบบกล้ามเนื้อ
  3. ระบบประสาท
  4. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  5. ระบบหายใจ
  6. ระบบทางเดินอาหาร
  7. ระบบสืบพันธ์และปัสสาวะ
  8. ระบบต่อมไร้ท่อ

และอีกระบบหนึ่งที่สำคัญมากๆเพราะเป็นจะทำให้คนๆนั้นสมบูรณ์เป็นคนไม่ได้ คือ เรื่องจิตใจ

พิการด้านร่างกาย

ร่างกายทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งจะปรกอบไปด้วยกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ

กะโหลกประกอบไปด้วยกระดูกหลายๆชิ้นมาต่อซึ่งแต่ละชิ้นก็มีความสำคัญต่างกันไป ต่อลงมาคือกระดูกสันหลัง ทำให้ร่างกายตั้งตรงอยู่ได้ ซึ่งก็ประกอบไปด้วยกันหลายระดับ และกระดูกสันหลังยังมีเส้นประสาทอยู่ทำหน้าที่ในการส่งคำสั่ง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว รับความเจ็บปวด อีกด้วย ลงไปอีกเป็นซี่โครง กระดูกแขนและมือ เชิงกราน ขาและข้อเท้า

ระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งหน้าที่รับคำสั่งจากการสั่งงานของสมอง motor nevre ถ้าหน้าที่ของกล้ามเนื้อลายเสียไปจะทำให้เกิดความพิการทางการเคลื่อนไหว

อีกทั้งยังมี motor nerve sensory nerve

พิการด้านสติปัญญา

มีความผิดปกติด้านสมอง ส่วนใหญ่เกิดขณะครรภ์ อาการจะแสดงตั้งแต่เด็ก จนไปถึง 18ปี โดยจะแสดงความด้อยพัฒนาไม่สมอายุ 9 ประการ

  1. สื่อความ
  2. ดูแลตนเอง
  3. ใช้ชีวิตในบ้าน
  4. สังคม
  5. ใช้ของร่วมกับผู้อื่นในสังคมไม่ได้
  6. ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง
  7. ไม่ดูแลสุขภาพ
  8. ไม่สามารถเรียนรู้กิจกรรมได้
  9. ไม่รู้จักเรื่องการงาน

การแบ่งระดับสติปัญญา

IQ 55-69 = Mild Educable

IQ 40-54 = Moderate Trainable

IQ 25-39 = severe

IQ 0-24 = profound

ในวัยผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญและคำนึงถึงได้แก่

การปรับตัวทางสังคม

  • -การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • -การคล้อยตามสังคม
  • -การมีเศรษฐานะทางสังคมอย่างอิสระ

พิการซ้ำซ้อน

จัดเป็นกลุ่มที่ถูกละเลยสิทธิมากที่สุด บางรายไม่ได้จดทะเบียนคนพิการ พิการซ้อนหมายถึงการมีมีความพิการมากกว่า1 ชนิดในตัว และที่สำคัญคือ ผู้ที่ภาวะพิการด้านสติปัญญาส่วนใหญ่จะมีภาวะอื่นแทรกซ้อนอีก

ผู้พิการด้านร่างกายและสติปัญญาร่วมด้วย = cognitive + Physical (ปัญญาอ่อน + อัมพาต , ปัญญาอ่อน + Spina bifida)

กระบวนการต่อมาผมขอพูดถึงการประเมินทางกิจกรรมบำบัดในแบบ PEOP

ซึ่งจากการดำเนินโรคนั้นส่งผลต่อ Occupation ในทุกด้าน แต่ผมขอเน้นในเรื่องของ Social participation และ Work นะครับ

การประเมินทางกิจกรรมบำบัด


P P+E+O P+E+O+P Well being
•ถามความต้องการของผู้รับบริการ
•สร้าง Relationship

• ประเมินด้านร่างกายMMT Endurance Balance

•สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ
•ประเมินสภาพบ้าน สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต

•หาแรงจูงใจจากใช้แบบประเมินความสนใจ และ MOHO (Self- determination)

•ประเมินระดับ ความสามารถจากการทำกิจวัตรประจำวัน Routine task
•แบบประเมิน Independent living scale

•คู่มือวางแผนเพื่อการศึกษาและอาชีพ ดู(self-management)



ประเมินการปรับบทบาทชีวิตในสังคมการใช้ทักษะที่มีใช้ให้เป็นประโยชน์นำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข(self-developing)

ผมขอเน้นในวัยของผู็ใหญ่นะครับเนื่องจากเป็นวัยผู้ใหย่ผมจึงเน้นการประเมินในทางการมีส่วนร่วมในสังคมและการกลับไปทำงานเะื่อนมีอิสระทางการเงินครับ จะเห็นได้ว่าผมจะเริมประเมินตั้งแต่ทางร่างกายและสติปัญญา รวมถึงพฤติกรรมการปรับตัวทั้งในสังคม จากนั้นผมจะมาดูถึงด้านสิ่งแวดล้อม ในบ้านสถานที่ที่เค้าต้องดำเนินชีวิตประจำวันว่ามีการขัดขวางและสนับสนุนอย่างไร >>จากนั้นผมจะประเมินด้านการใช้ชีวิตประจำวนทั่วไป การเคลื่อนย้ายตัว การเคลื่อนไหวการทำงานต่างๆ รวมไปถึงวางแผนการทำงานว่าเค้าชอบทำงานอะไร และมีงานอะไรที่พอเหมาะกับความสามารถของเค้าที่มีอยู่ เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการต้องการให้เค้ากลับดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและอิสระ (Well being)


วิเคราะห์ตาม PEOP

P E O P
•ผู้พิการด้านร่างกายและสติปัญญาร่วมด้วย
•ความคาดหวังและความต้องการ

•ทัศนคติ

•สภาพแวดล้อมที่มีทั้งสนับสนุนและขัดขวางต่อการดำเนินชีวิต
•กฎหมายผู้พิการ และการส่งเสริมทางสังคม

•เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการ

•โครงการที่สนับสนุนการทำงานของผู้พิการ
•การสอนการทำงานตามความเหมาะสมของผู้พิการ

•กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถและมีคุณค่าทางจิตใจของผู้พิการ

•ทักษะที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนและนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตและเกิดเป็นบทบาททางสังคม

P+E

จากในตัวบุคคลมีเจตจำนงค์ของตนเอง(Volition)ซึ่งเกิดมาจากความสนใจ การให้คุณค่า และความชอบส่วนบุคคลบนพื้นฐานความต้องการส่วนบุคคลตามหลักของ Maslow เสริมแรงกับปัจจัยภายนอกสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อหนุนต่อการทำกิจกรรทเกิดเป็นแรงจูงใจ(Motivation)

P+E+O

ทั้งปัจจัยภายในตนเองเสริมแรงกับปัจจัยภายนอกคือสิ่งแวดล้อมที่คอยเอื้อหนุนและเสริมแรงแรงกับกิจกรรมที่ที่ส่งเสริมจากสังคมทำจนชำนาญกลายเป็นทักษะความสามารถผ(Ability)


ต่อมาจะเป็นกระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

กระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

T.Relationship to recovery T.Environment to empowerment T.Use of self to Empathy T.Skill to active learning
•การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการ•ยอมรับทัศนคติและให้เกียรติผู้รับบริการ

•มีความจริงใจและแสดงออกด้วยความจริงใจ

•สนับสนุนการใช้อุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวก และให้ความรู้เรื่องสิทธิผู้พิการ
•ช่วยส่งเสริมสิทธิคุ้มครองผู้พิการทั้งการเข้าถึงทรัพยากร และการเข้าทำงาน

•การใช้ตัวเราบำบัด ตระหนักรู้ถึงตัวเราและผู้รับบริการ
•เข้าใจผู้รับริการ มองผู้รับบริการด้วยความเห็นใจ ไม่รังเกียจอันเนื่องมาจากตัวโรค

•การเลือกและจัดกิจกรรมที่เหมาะสม
กับกับผู้รับบริการ
โดยจัดตามระดับ cognitive
ในผู้พิการร่างกายร่วมกับสติปัญญา
อยู่ในระดับ 2-3
ซึ่งกิจกรรมกลุ่มที่เหมาะสมคือ
กลุ่มผลงาน จนไปถึง กลุ่มช่วยกันคิด
ช่วยกันทำแต่ไม่มีเป้าหมายในการทำ
แต่ในบางรายที่มีระดับ IQ ที่ดีสามารถนำไปสู่ กลุ่ม cooperative


กิจกรรมที่ผมเลือกมาคือกิจกรรมแสดงบทบาทสมมุติเพราะเป็นกิจกรรมทาง EQ(Emotional quotient) ขอขอบพระคุณอาจารย์ป๊อปที่เคยสอนหลักการจัดกิจกรรมสำหรับผู็ป่วยด้านต่างๆครับโดยอาจารย์ป๊อปบอกว่าเราควรเลือกกิจกรรมที่ไม่ไปกระทบต่อความสามารถของผู็ป่วย โดยแบ่งออกเป็น3แบบ ได้แก่ IQ (Intellectual Quotient) EQ(Emotional Quotient)และPQ(Physical Quotient) ผู็พิการด้านร่างกายและสมองร่วมด้วนเหมาะสมกับ การใช้อารามณ์ในการแสดงออกของกิจกรรม มีแนวทางดังนี้ ถามความต้องการที่จะแสดงเป็นบทบาทที่ตนสนใจและอยากเป็น อาชีพ หรือความฝัน โดยแสดงร่วมกับคนอื่นๆในกลุ่ม



คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603305เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สังคมไทยปัจจุบัน นั้นยังให้ความสำคัญกับผู้พิการยังไม่เพียงพอ จึงทำให้ผู้พิการเหล่านั้นขาดโอกาสที่จะได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม กระผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากกับคนพิการที่ต้องพัฒนาตอนนี้คือ การโดนมอง และตีความจากผู้อื่นภายนอกว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่ไร้ความสามารถ หากเราช่วยกันทำให้ทุกคนเห็นความเท่าเทียมกันของคนปกติและคนพิการนั้น ซึ่งสามารถใช้ความรู้ที่ได้อ่านจากบทความข้างต้นนั้นเข้าไปปรับทัศนคติของคนอื่นๆภายนอก ผมคิดว่าไม่นานปัญหาเหล่านี้เชื่อได้เลยว่าจะลดลงได้มากเลยทีเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท