DOI สำคัญไฉน?


หลายคนอาจจะไม่คุ้นหรือไม่เคยได้ยินกับคำว่า DOI แต่ DOI ในประเทศไทยเกิดจากแนวคิดของศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้เห็นถึงประโยชน์ของ DOI เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนของวิจัย จึงได้มอบให้ศูนย์สารสนเทศ นำรหัส DOI มาใช้ ทางศูนย์สารสนเทศการวิจัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา ในปี 2555 จึงได้เริ่มมีการจัดทำ DOI ขึ้น

DOI หมายถึง ตัวระบุวัตถุดิจิทัล หรือเราเรียกกันย่อๆ สั้นๆ ว่า DOI หรือ Digital Object Identifier ทำหน้าที่เป็นตัวเลขประจำเอกสารดิจิทัล พูดแบบนี้ทุกคนคงจะนึกถึง เลข ISSN แต่ความต่างของมันอยู่ที่ DOI จะมีเทคโนโลยีความซ้ำซ้อน สามารถเชื่อมโยงไปยังไฟล์เอกสารได้

รูปแบบของ DOI

จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เลขส่วนแรก (Prefix) เลขส่วนเติม (Suffix)

1. เลขส่วนแรก (Prefix)

10.14455 หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน

10.14456 บทความวารสาร

10.14457 สถาบันการศึกษารัฐ

10.14458 สถาบันการศึกษาเอกชน

2. เลขส่วนเติม (Suffix) วช. กำหนดใช้ กลุ่มเลข Suffix แบ่งย่อยดังนี้

  • วิทยานิพนธ์ - Prefix/อักษรย่อหน่วยงาน.อักษรย่อประเภททรัพยากร.ปีที่เผยแพร่. running no.

ตัวอย่าง 10.14457/CU.The.2010.1

  • รายงานการวิจัย - Prefix/อักษรย่อหน่วยงาน.อักษรย่อประเภททรัพยากร.ปีที่เผยแพร่. running no.

ตัวอย่าง 10.14457/PSU.res.2011.1

  • บทความวารสาร - Prefix/ชื่อย่อวารวาร. ปีที่เผยแพร่. running no.

ตัวอย่าง 10.14456/nulj.2015.10

ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เห็นความสำคัญกับการจัดทำเลข DOI นี้ จึงได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมในการส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ได้จัดทำเลข DOI เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 บรรณาธิการและบุคลากรในกองบรรณาธิการ เข้าร่วมจัดทำ DOI (Digital Object Identifier) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล Open Access (OA) หรือ การเข้าถึงแบบเปิด โดยทางวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Naresuan University Law Journal - NULJ) ได้นำข้อมูลบทความในวารสารลงในฐานข้อมูลดังกล่าว ฉบับเต็ม (Full Text) ทั้งนี้ โดยเริ่มลงบทความตั้งแต่ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน) 2557) เป็นต้นไป หรือเข้าเว็บวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้โดยตรง โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความวารสารฉบับเต็ม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหากำไร

การขอรับบริการ

  • สมัครสมาชิกขอใช้บริการได้ที่ http://doi.nrct.go.th/doidc และลงทะเบียน รอการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ หลังอนุมัติแล้วระบบจะส่งเมล์แจ้งผลไปยังผู้สมัคร
  • รวบรวมข้อมูลด้วย โปรแกรม Ms-Excel นามสกุล CSV ซึ่งจะมีไฟล์ตัวอย่างบนหน้าเว็บดังกล่าว
  • ทำการ Upload ขึ้นไปบนระบบ รอบการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่เพื่อออกรหัส DOI โดยเจ้าหน้าที่
  • นำเลข DOI ไปเผยแพร่ต่อไป

ทั้งนี้หากมีปัญหาสามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายบริหารจัดการตัวระบุวัตถุดิจิทัล ศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ (วช.) โทร.0-2561-2445 ต่อ 353, 507, 570

ประโยชน์ของ DOI

  • ช่วยให้ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล การค้นหา การสร้างระบบเชื่อมโยงไฟล์ดิจิทัล
  • ช่วยให้ความสะดวกในการรวบรวมเอกสารดิจิทัลเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและการวิจัย
  • ช่วยให้ไม่เสียเวลาในการเปลี่ยนที่อยู่ของเว็บไซต์ เมื่อมีการย้ายไฟล์ไปไว้ที่อื่น
  • ช่วยปกป้องลิขสิทธิ์และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลให้กับเจ้าของทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  • ช่วยให้ทราบจำนวนเอกสารดิจิทัลและเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละชื่อเรื่อง
  • ช่วยตรวจสอบความซ้ำซ้อนของงานวิจัย

รู้ถึงประโยชน์อย่างนี้แล้ว มาออกเลข DOI เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงงานวิจัยในประเทศไทยของเรากันนะคะ

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมกรวิจัยแห่งชาติ, ดีโอไอ-ไทยแลนด์ DOI-Thailand, 2558

หมายเลขบันทึก: 603282เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2016 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นานแค่ไหนแล้วครับที่ไม่ได้เขียนบันทึก

สบายดีนะครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท