วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

เทคนิคการจัดการเพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพงานวิจัย


วิทยากร

รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน หัวหน้าภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้เข้าร่วมประชุม

  • อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จำนวน 26 คน
  • อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคล ล้านนาจำนวน 9 คน

สรุปเนื้อหา เทคนิคการจัดการเพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพงานวิจัย

ความหมายของวิจัย คือ กระบวนการค้นหาสิ่งที่เรายังไม่รู้

คุณสมบัติของวารสารที่จะอยู่ในกลุ่ม TCI 1 จะต้องมีวัตถุประสงค์ของวารสารที่สำคัญคือ รับผลงานวิชาการที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิด impact factor ในการที่จะทำให้คนนำไปใช้

ประเด็นปัญหา การทำวิจัยต้องเริ่มที่ประเด็นปัญหาก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่

งานวิจัยมี 2 ชนิด คือ การวิจัยเพื่อหาปัญหา (Identify problem) และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา (Problem solving research)

1. Identify problem จะมีคุณค่ามาก ถ้าหาตัวแปรที่เด่น สำคัญ และใหม่ ต้องทำกว้าง อย่าทำพื้นที่เล็ก ๆ

2. Problem solving research เช่น R & D, Mixed method, Quasi-experimental research

คิดก่อนทำวิจัย

- ปัญหาวิจัยน่าสนใจหรือไม่

- ใหม่หรือไม่ เป็นการต่อยอดจากคนอื่นหรือไม่

- เป็นการทำเพื่อความรู้ใหม่หรือไม่

- มีความยืดหยุ่น เป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือไม่

- มีใครทำหรือยัง ถ้ามีคนทำแล้วจะต่อยอดอย่างไร

งานวิจัยทุกชนิดต้องตอบโจทย์ได้ และใช้ประโยชน์ได้จริง ดังนั้น การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อย่าเขียนเพียงข้อเดียว งานวิจัยจะต้องมีผลกระทบ มีผลประโยชน์มาก (แรงกระเพื่อม หรือ Impact)

ประเด็นเด่นในการเลือกทำวิจัย

1. Problem base (ประเด็นปัญหา) เช่น งานวิจัยด้านสาธารณสุขมี 3 ประเด็น คือ health protection, health service, & health improvement ตัวอย่าง เรื่องสุรา ทำประเด็น “การดื่มสุรากับผู้มีรายได้น้อย” เพราะเป็นกลุ่มบุคคลชายขอบ ยิ่งจนยิ่งดื่ม เรื่องบุหรี่ ทำประเด็น “บุหรี่มือสอง (second-hand smoking) ในกลุ่มคนงานผู้หญิงแคมป์ไร่อ้อย”

2. Area base (พื้นที่) เช่น เขตเมือง เขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท ชนบท ชายแดน เมืองใหญ่ เขตเกษตรกรรม เขตอุตสาหกรรม เขตแม่น้ำ ตัวอย่าง เรื่อง “teenage pregnancy ในกลุ่มพื้นที่สูง” โดยให้นิยามศัพท์ ว่ากลุ่มชาวเขาเผ่าม้งบนเขาค้อ เนื่องจากขนกลุ่มนี้แต่งงานเร็ว และผู้ชายมีภรรยาได้หลายคน เรื่องสุขภาพผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง หรือพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก

3. Target base (กลุ่มเป้าหมาย) เช่น กลุ่มวัยทารก วัยก่อนเรียน วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยทอง และวัยชรา ประเด็น พฤติกรรม วิกฤติทางอารมณ์ วุฒิภาวะ แนวโน้มพันธุกรรม ประสบการณ์ ปฏิบัติสัมพันธ์ ซึ่งประเด็นนี้สัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพ ตัวอย่าง Stress ในวัยรุ่น ซึมเศร้าในสูงอายุ เด็กอ้วน (ปัญหาสุขภาพจิต โรคระบบทางเดินหายใจ โรคกระดูกและข้อผิดปกต) อย่าทำวิจัยกับกลุ่มแรงงาน เพราะไม่มีเวลาให้นักทำวิจัยเก็บข้อมูล

4. Funding base (แหล่งทุน) เช่น สสส. สกว. วช. ศวร. (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา) ศจย. (ศูนย์วิจัยยาเสพติด) ต้องศึกษาแผน 3 ปีว่าแหล่งทุนเน้นเรื่องอะไร บุหรี่ นักสูบหน้าใหม่ การบริโภคผักและผลไม้ สุราในสตรีเกษตรกร สุราในหญิงตั้งครรภ์

5. Policy base (นโยบาย) เช่น นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) เช่น ผู้สูงอายุ เกษตรปลอดสารพิษ เด็กและสตรีที่เป็นเหยื่อทางสังคม Care giver ของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานในโรงงาน (ผลการวิจัยจะเป็นสิ่งผลักดันงบประมาณ)

การเขียนโครงร่างวิจัย มีข้อคิดดังนี้

  1. มองแคบ R2R เพราะเป็นการแก้ปัญหาหน้างาน
  2. มองกว้าง เป็นงานวิจัยที่ชี้นำทางสังคม
  3. Burden and Balance แบ่งงานวิจัยให้เพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ การบริหารจัดการ คือ วางแผนว่าแต่ละเดือนจะทำอะไร ชิ้นงานอะไรจะเสร็จ
  4. คาดการณ์สิ่งที่ไม่คาดหวัง ทั้งในด้านบวกและลบ
  5. รับฟัง Mentor อย่ามีอัตตาสูง อย่าปิดกั้นตัวเอง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยอื่น คณะกรรมการจริยธรรม ศูนย์การเรียนรู้ ยอมรับข้อเสนอแนะที่หลากหลาย และเขียนใหม่ตามกระบวนการ โดยมีแนวคิดดังนี้
  • เขียนโครงร่างเพื่อให้ได้ทำวิจัย
  • วางแผนและลงมือทำ
  • เขียน Road map
  • เป็นโอกาสที่จะได้รับข้อชี้แนะ
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความเข้ม ความสามารถ

หลักการเขียนโครงร่างวิจัย

  1. Clear และมี Evidence based
  2. Concise สั้น
  3. Persuasive (Convincing)
  4. Well-formatted

การเพิ่มปริมาณงานวิจัย

  1. Proposal Bank เก็บ Proposal ที่เคยเขียนไว้และถูกปฏิเสธ ปรับตามทุนวิจัยใหม่ เรียงเวอร์ชั่นไว้ เพื่อไม่ให้หยิบอันเก่าส่งไป ควรเขียนไว้มาก ๆ เมื่อมีเวลามาก Methodology ไม่ต้องเปลี่ยนมาก แต่ควรเปลี่ยนวัตถุประสงค์
  2. จัดทำตารางแหล่งทุน แต่ละเดือน
  3. แตกประเด็นต่อยอดจากเรื่องเดิม เพราะ Review มาแล้ว เช่น เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ ตัวอย่าง การเริ่มต้นด้วย Methodology ใช้กระบวนการ PAR เรื่องยาฆ่าแมลง การเมื่อยล้าในกลุ่มเกษตรกร
  4. ประเด็นร้อนการวิจัยระดับชาติ บริบทต่างประเทศ บริบทในประเทศ (ระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพ)
  5. ส่งบทความวิจัยลงวารสารที่ยอมรับทางวิชาการ

โจทย์วิจัยในพื้นที่ Pilot Study เพื่อ Main Study

  1. ได้โจทย์วิจัยจากชุมชน ยกปัญหาขึ้นมา เช่น เด็กติดดมกาว
  2. นำเสนอในเวที Conference เป็นกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้ไปนำเสนองานวิจัยต่างประเทศ แต่ต้องกลับมาตีพิมพ์ การไปนำเสนอจะได้มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคำถาม

1. การเป็นนักวิจัยหน้าใหม่ จะทำอย่างไรให้ได้รับทุน

  • ต้องมีจุดเริ่มต้น ไม่ต้องกังวล เมื่อเขียนบ่อย ๆ จะรู้แนวทางว่าเขียนอย่างไรให้ได้ทุน จะมีคำชี้แนะกลับมา
  • การทำวิจัยจะทำให้เกิดความคิดอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงสังเคราะห์ (ย่อ แยก ยุบ) การคิดเชิงวิเคราะห์ (แยกแยะ)
  • เมื่อเราได้ทุนแล้ว จะได้ต่อ ๆ ไป
  • เริ่มมีผลงานตีพิมพ์
  • อย่าไปท้อ ขึ้นอยู่กับคนอ่านงานของเราว่าคิดอย่างไร ส่งไปที่ใหม่คนอ่านอาจคิดต่าง

2. การทำบริการวิชาการสัญจร ทำให้ได้ทราบปัญหาของพื้นที่ และได้ทำวิจัยร่วมกับพื้นที่ เห็นด้วยกับวิทยากรว่าเราควรจะไปทำงานในพื้นที่มากกว่านั่งอยู่ในวิทยาลัยเพื่อให้ได้โจทย์วิจัย และได้เครือข่าย

3. การส่งผลงานตีพิมพ์ ถ้าได้รับการปฏิเสธ ควรส่งหลาย ๆ ที่ และถ้าไม่ได้รับการตีพิมพ์จริง ๆ ก็ควรไปนำเสนอเวทีวิชาการ

4. การบริหารจัดการงานวิจัย หลาย ๆ งานวิจัย ท่านทำอย่างไร มีผู้ช่วยหรือไม่

  • แต่ละโปรเจคจะมีระยะเวลากำหนดไว้ เราต้อง Set Priority ไว้เลยว่าเวลาไหน จะต้องส่งอะไร ทุนเยอะ ก็ให้ความสำคัญก่อน
  • เขียนขอผู้ช่วยนักวิจัยไว้ในโปรเจค เช่น การลงข้อมูล การ Review literature ให้นักศึกษา
  • งบประมาณ ไม่สนใจหลักฐานการเบิก เพราะสตง. ไว้ใจอาจารย์ แต่สนใจรูปเล่มและการตีพิมพ์ เราต้องเขียนรายงานว่าใช้จ่ายค่าอะไร เซ็นชื่อกำกับ

5.การเบิกค่าถอดเทปไม่ได้ จะทำอย่างไรดี

  • การเขียนโครงร่างวิจัย ควรเขียนเป็นค่าอื่น เช่น ค่าวิเคราะห์ข้อมูล
  • งบประมาณ เขียนว่า ทุกรายการถัวเฉลี่ย (แต่ไม่ควรเกิน 25%)

6. การตีพิมพ์ มีวิธีพิจารณาอย่างไรในการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของงานแต่ละเรื่อง

  • อยู่ที่การออกแบบงานวิจัย เช่น PAR มี 3 ระยะ ตีพิมพ์ได้ 3 เรื่อง ขึ้นกับการทำวิจัย Methodology อาจแตกประเด็นได้ 8 ประเด็น (เป็นบทความวิชาการและบทความวิจัย)
  • ดร.อัศนี เขียนตีพิมพ์ได้ 5 เรื่อง โดยมีวิธีการดังนี้ ต้องวางแผนไว้ก่อน เขียนอย่างไรไม่ให้ซ้ำ ตั้งแต่ Introduction รวมทั้งทุกขึ้นตอน จะต้องไม่เหมือนเดิม Review literature จะทราบว่าวารสารนั้น ๆ ต้องการอะไร เราต้องไปค้นหาเพิ่มเติมในสิ่งที่วารสารต้องการ เพื่อจะให้ได้ตีพิมพ์ โดยเราไม่ต้อง Plagiarism ตัวเองด้วย

7. จริยธรรมการวิจัย การช่วยเขียนบทความวิจัย แล้วใส่ชื่อไป แต่ไม่ได้ทำงานวิจัย คิดเห็นอย่างไร

  • ขึ้นอยู่กับความยินยอมของเจ้าของงาน แบ่งกันเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว

8. ถ้าต้องการเขียนบทความวิชาการ จากผลงานวิจัยของตัวเอง แต่มาแตกประเด็นนอกเหนือจากคำถามวิจัย เขียนอย่างไร

  • เขียนจากผลงานวิจัยของตัวเองเพียง 1 เรื่อง ไม่ได้
  • ควรเขียนจากการ Review บทที่ 2 จากสิ่งที่อ่านมามาก ๆ แล้วตกผลึก สรุปตอนท้ายเป็นความคิดเห็นเชิงท้าทายทางวิชาการ

9. ประสบการณ์การตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ จ้างคนแปล และให้คนช่วยอ่าน

  • มีวารสารสำรองไว้หลาย ๆ เล่ม
  • วารสารที่ลงปีละ 1-2 เล่ม อย่าไปส่ง
  • ควรเลือกวารสาร Online ที่ลงบ่อย ๆ และมี impact ดี ๆ
  • อย่าเลือกวารสารที่กว้างเกินไป เช่น Public health จะกว้างเกิน ควรลงวารสารสูงอายุ

10. ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น เชียวชาญเรื่องมะเร็งเต้านม และมีผลงานตีพิมพ์มากมาย เวลาเขียน Profile ขอทุนวิจัยเรื่องอื่น ๆ จะมีปัญหากับการขอทุนวิจัยหรือไม่

  • มีผลแน่นอน ในเมืองไทย ดอกเตอร์ต้องเก่งทุกเรื่อง ซึ่งต่างจากเมืองนอก จะให้ทุนเมื่อเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ จริง ๆ

11. Scale ของงานวิจัย Methodology ควรจะใหญ่แค่ไหน ถึงจะได้ทุนวิจัย

  • Methodology ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขึ้นอยู่กับประเด็นปัญหามากกว่า ระเบียบวิธีวิจัยเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราได้คำตอบ
  • Concept paper และ Area interest

12. การวิจัยประเมินผล เคยทำหรือไม่

  • ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทฤษฏีอะไรรองรับ
  • วิจัยประเมินผล มักจะขอทุนจาก สปสช.

13. เคล็ดลับของรศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ ในการบริหารโครงการได้หลายโครงการให้ประสบความสำเร็จ

  • เรียนรู้จากอาจารย์ที่ปรึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มอบงานให้ทำ และช่วยสอน
  • รับมา 3 โปรแจค แล้วให้นักศึกษาปริญญาเอกรุ่น 1 ช่วย
  • ผู้ช่วยงานวิจัย
  • สร้างเครือข่ายจากอาจารย์ในภาควิชาเดียวกัน
  • ช่วงแรกจะลำบาก ถ้าทำหลาย ๆ ครั้งจะง่ายขึ้น เพราะชำนาญและมีทุนของงานอยู่ในมือ
  • ทำ Template
  • จ้างคนช่วยเก็บข้อมูล
  • การเขียนรายงาน จ้างคนถอดเทป แล้วมาจัดกลุ่มเอง
  • วางแผน Set Priority ว่าจะส่งอะไรก่อน
  • สนุกกับชีวิตประจำวัน อย่าไปเครียดกับงานวิจัย ตื่นมาค่อยทำใหม่ (Stress Coping)

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603221เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2016 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2016 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
จิตติพร ศรีษะเกตุ

ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ อย่างที่ทราบกันว่าวิจัยเป็นเรื่องยากสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่แต่จากการอ่านพบว่าอาจารย์ให้เทคนิคต่างๆมากมายที่จะช่วยให้งานวิจัยเป็นเรื่องง่าย โดยเฉพาะเทคนิคการบริหารโครงการวิจัยให้สำเร็จค่ะ...^

ได้เรียนรู้แนวทางจากดร. ณรงศักดิ์มากมายที่สามารถนำไปใช้ในการทำวิจัยได้ รวมทั้งกระบวนการคิดที่ดีมากของอาจารย์ เป็นนักวิจัยต้องรอบรู้ ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว และที่สำคัญต้องรู้จักการสมดุลชีวิตเพื่อไม่ให้เกิดความเครียด Burden & Balance

เป็นการชักชวนให้มองวิจัยในมุมที่แตกต่างออกไป ซึ่งพัฒนางานได้กว้างขึ้นและตอบเชิงนโยบายและนำงานไปตีพิมพ์เพิ่มขึ้น. ชื่นชมคะ มีประโยชน?มากค

ได้มุมมองใหม่ในการทำวิจัย ครับ

ได้เรียนรู้วิธีการที่จะเลือกประเด็นในการทำวิจัย และวิธีการที่จะทำให้เราได้ทุนวิจัย มีประโยชน์มากมายคะ

จากความรู้สึกเหมือนว่าจะมีอาการหมดไฟในการทำงานวิจัย เหนื่อยล้าจากการทำเอกสารหลักฐานทางการเงิน เริ่มไม่มีความสุขในการทำงานวิชาการ แต่จากการร่วมฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วันนี้ ช่วยให้คนทำงานรู้สึกมีความสุขในการทำงานรู้สึกตื่นเต้นกับการทำวิจัยของวิทยากร สรุปการเรียนรู้การทำงานวิจัยของวิทยากรดังนี้ ๑. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการทำวิจัย ประสบการณ์ของดร.ณรงค์ศักดิ์ช่วยให้มีแรงใจในการทำงานมากขึ้น อย่าคิดว่าเพราะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ให้คิดว่าต้องทำอย่างไรเราจึงจะทำผลงานได้ดีขึ้น อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หากเราทำงานดีก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะฉะนั้น ต้องไม่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม หรือคนรอบข้างที่จะสร้างความไม่สบายใจให้กับเรา ๒. ต้องคิดว่าความสำเร็จคือเป้าหมาย ต้องเปลี่ยนความคิดนี้ให้เป็นกำลังใจ แล้วทุ่มเทให้กับการทำงานให้มากขึ้น ให้มองว่า ความสำเร็จในการทำงานคือเป้าหมายของเรา เมื่อเรามีเป้าหมายในการทำงานเราก็จะทำงานอย่างเต็มที่ ๓. ขจัดอุปสรรคในการทำงาน เมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน ให้ลองคิดดูว่าปัญหานั้นคืออะไร เมื่อมีปัญหาให้รีบแก้ปัญหา เพื่อที่เราจะได้ทำงานอย่างมีความสุขได้ต่อไป ๔. จัดการกับความใฝ่ฝันอย่างชาญฉลาดการทำงานอย่างหักโหม ไม่ได้แสดงว่าคุณมีแรงจูงใจในการทำงาน จึงทำให้คุณสามารถทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ความใฝ่ฝันที่คุณมีจะนำคุณไปสู่ความสำเร็จที่คุณวาดหวังเอาไว้ได้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถจัดการกับความใฝ่ฝันนั้นอย่างชาญฉลาด มีความสมดุลของชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม และงานที่รับผิดชอบ ๕. วางแผนเส้นทางสู่ความสำเร็จ การกำหนดเป้าหมายและวางแผนเพื่อไปยังเป้าหมายต้องมีความชัดเจน คำนึงถึงโอกาสว่ามีความเป็นไปได้มากแค่ไหน และต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ จากใคร ดร.ณรงค์ศักดิ์ มีการวางแผนการสร้างผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ สามารถกำหนดทิศทางและวิธีการเดินไปถึงจุดหมายได้โดยไม่หลงทาง จึงประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกมาโดยตลอด ๖. หาความรู้รอบตัวมาประยุกต์ใช้ ดร.ณรงค์ศักดิ์ มีจุดยืน คือเรื่องสร้างเสริมสุขภาพ แต่ก็ไม่จำกัดตัวเองแค่เรื่องเดียว สามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง และเปิดใจยอมรับ ความรู้อื่นๆ จากเพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ แล้วนำมาปรับใช้รวมทั้งเรียนรู้จากความผิดพลาด

ขอบคุณความรู้ดีๆที่สามรถใช้เป็นแนวทางในการทำวิจัย เป็นประโยชน์อย่างมากคะ

รู้สึกดีกับการที่ต้องผลิตผลงานวิจัย บางครั้งการทำวิจัยให้สนุกนั้นเป็นเรื่องยากแต่จากการได้รับการแชร์ประสบการณ์จากอจ.ณรงค์ศักดิ์ แล้วมีกำลังใจเพิ่มขึ้นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก

ขอบพระคุณค่ะ


  1. ทราบประเด็นการวิจัยที่จะให้ได้รับทุนจากแหล่งภายนอก จากการเลือกกลุ่มประชากรที่ยังไม่ค่อยมีคนทำ ประเด็นท
    กำลังเป็น ที่สนใจในปัจจุบัน

ขอบคุณมากค่ะ อ่านแล้วได้รับความรู้ในเรื่องการทำวิจัย ข้อคิดก่อนการตัดสินใจเลือกทำวิจัย การเลือกหัวข้อวิจัยค่ะ สามารถใช้เป็นแนวทางการทำวิจัยในอนาคตค่ะ

ขอบคุณมากค่ะเป็นกิจกรรมที่มีดีมาก ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

จินดาวรรณ เงารัศมี

ได้เปิดมุมมอง โดยเฉพาะการแตกประเด็นเรื่องวิจัยให้มีความน่าสนใจ เช่น ปัญหา พื้นที ฯลฯ แต่ประเด็นของอาจารย์ในวิทยาลัยที่ผลงานไม่ได้ตามเป้า อยู่ตรงข้อจำกัดเรื่องเวลา แต่ก็พยายามจะมองไม่ให้เป็นข้อจำกัดค่ะ

ขอบคุณความรู้ดีๆที่สามรถใช้เป็นแนวทางในการทำวิจัย เป็นประโยชน์มากคะ

ตอนนี้มีงานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ประมาณ 2-3 เรื่อง จะนำเทคนิคนี้ไปใช้บริหารจัดการดูค่ะ

อ.รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ บรรยายได้ดีมากคะ กระตุ้นต่อมวิจัยได้ดีคะ ควรเชิญมาปีละ 3 ครั้งเพราะมีเทคนิคดีมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท