กองทุนรวม


กองทุนรวม เป็นอีกทางตัวเลือกหนึ่งที่นักลงทุนรายๆรายมาร่วมลงทุน และมีผู้บริหารจัดการกองทุนที่เป็นมืออาชีพเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับกองทุน และหลังจากนั้นก็ทำการเฉี่ยกับคือให้กลับผู้ซื้อหน่วยลงทุนตามสัดส่วนของการลงทุน กองทุนรวมมีวิธีประกอบการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนรวม

- บริษัทจัดการจัดทำโครงสร้างการลงทุน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต แล้วจึงสมารถจัดตั้งกองทุนรวมได้ ต้องระบุนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์ นโยบายจ่ายปันผล ค่าใช้จ่ายที่ผู้ลงทุนต้องจ่าย ระยะเวลาการขายและรับซื้อคืน และสิทธิของผู้ถืหน่วย

- การระดมเงินทุน เมื่อได้รับคำอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.แล้วและผู้จัดตั้งจะต้องมีการส่งหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ที่สนใจก่อนจะเสนอขายหน่วยลงทุน โดยต้องระบุรายระเอียดโครงการตามที่ได้รับจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

- จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หลังจากระดมเงินทุนได้เเล้วบริษัทจัดการจดทะเนียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม เป็นนิติบุคคลแยกจากบริษัทจัดการ

2.กระบวนการทำงานของกองทุนรวม

- นำเงินที่ได้จาการระดมทุนไปลงทุน ผู้จัดการกองทุนสามารถนำเงินทุนในกองทุนรวมไปลงทุนได้เฉพาะในหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่กำหนดในหนังสือชี้ชวนเท่านั้น

- การคำนวณและประกาศมูลค่าเงินลงทุนของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะต้องคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์และสินทรัพย์สุทธิที่กองทุนรวม๔ือไว้ขณะนั้น ตามมูลค่าตลาด หรือมูลค่ายุติธรรมที่ทาง ก.ล.ต. กำหนด

- การแบ่งกำไรจากการลงทุน ผลที่ได้จากการลงทุนจะนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลให่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละคนถือไว้

ประเภทของกองทุนรวม

กองทุนรวมสามารถแบ่งตามประเภทของการขายคืนหน่วยลงทุนออกได้ ดังนี้

กองทุนปิด (Closed-End fund) กองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง และเปิดให้มีการจองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อจัดตั้งโครงการ มีกำหนดอายุโครงการแน่นอน และบริษัทจัดการไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดอายุโครงการ ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อน ครบกำหนดอายุโครงการได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว อายุโครงการของกองทุนรวมในประเทศไทย จะมีกำหนด 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี และเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจนำหน่วยลงทุนของกองทุนปิดไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) หรือจัดให้มี ตัวแทนจัดการซื้อขาย (Market maker)

กองทุนเปิด (Open-End fund) กองทุนรวมที่สามารถเพิ่มหรือลดหน่วยลงทุนได้ ไม่มีกำหนดอายุโครงการ และบริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วย ลงทุนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกหกเดือน กองทุนเปิดจึงเป็นที่นิยม มากกว่ากองทุนปิด เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า



แหล่งที่มา : www.set.or.th/yfs/2015/.../YFS2015_YFSCamp2015_Reading06.pdf

www.econ.chula.ac.th/public/members/sothitorn/abou...

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603217เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2016 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2016 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท