ประสบการณ์การศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลกรุง และโรงพยาบาลมนารมย์


ดิฉันในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 เชื่อเหลือเกินว่าการสะสมประสบการ์ณในการศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ ได้เห็นแนวทางการให้บริการแก่ผู้รับบริการ แนวคิดทฤษฎี ข้อดีที่ควรส่งเสริมต่อและข้อเสียที่ควรปรับปรุใแก้ไข จะแนวทางที่ดีที่ดิฉันและนักศึกษาคนอื่นๆไปนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้ตนเองสามารถที่เป็นอนาคตนักกิจกรรมบำบัดที่ดีและช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งในวันนี้เช่นกันที่ดิฉันได้มีโอกาสเปิดประสบการ์ณใหม่ๆให้แก่ตนเอง คือการได้ไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่งเป็นครั้งแรก ได้แก โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลมนารมย์

- โรงพยาบาลกรุงเทพ -

ในช่วงเช้าพวกเรานั่งจากมหาวิทยาลัยใช้เวลาเดินทางกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อมุ่งหน้าสู่โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ สามารถรองรับผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างมากมาย โรงพยาบาลมีขนาดใหญ่กว้างขวางอุปกรณ์ทันสมัย

ในส่วนงานทางกิจกรรมบำบัด จะอยู่ในศูนย์บริการด้านสุขภาพจิต ซึ่งมีชื่อว่า "ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ" เรื่มเปิดให้บริการเป็นเวลาประมาณ2 ปีมาแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูให้ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตที่ดี โดยมีการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพจากหลายภาคส่วน ซึ่งมีทัศนติที่ดีต่อการทำงานด้านจิตเวช และมุ่งหวังช่วยเหลือให้ผู้รับบริการ โดยมีกระบวนการรักษาที่หลากหลาย ทั้งการจัดโปรแกรมกลุ่มบำบัดในแต่ละวัน เช่น exercise and well being, streets management, art and creativity , learning new skill เป็นต้น โดยในแต่ละกลุ่มก็จะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งในแนวทางของกิจกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ คือ

- streets management เป็นแนวทางในการจัดการความเครียดที่สะสมจนส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น กลุ่ม mind fullness, muscle relaxation เป็นต้น

- learning new skill เพื่อกระตุ้นการทำงานในทักษะใหม่ๆ และการทำงานร่วมกัน เช่น กลุ่ม cooking เป็นต้น


เมื่อนำประสบการณ์ที่ในวันนี้มาวิเคราะห์ตาม SMART THREES ได้ดังนี้


s = self

ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพ

M =Motivation

ยึดหลักการทำงานโดยมุ่งเน้นให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในการรักษามุ่งเน้นให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปมีสุขภาพที่ดีและสามารถกลับไปทำงานกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

A = Ability

ความรู้ความสามารถในทางกิจกรรมบำบัด ทั้งการประเมิน การสังเกต การออกแบบและวิเคราะห์กิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละ

RT = Role transformation

นักกิจกรรมบำบัดต้องมีการพัฒนาทักษะในการทำกิจกรรมตลอดเวลา แม้จะเป็นกิจกรรมที่ตนเองไม่เคย ก็ต้องฝึกฝนทักษะดังกล่าวเพื่อมาใช้ในการสอนผู้รับบริการ เช่น ทักษะการทำอาหาร,ทักษะการทำกระเป๋า เป็นต้น

TR = Therapeutic Relations

- ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพ มีการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพหลายหลาก การติดต่อสื่อสารข้อมูลของผู้รับบริการเป็นเรื่องสำคัญการทำงานที่เป็นระบบส่งผลดีต่อผู้รับบริการ

-การดูแลผู้รับบริการอย่างเป็นมิตรและให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องของผู้รับบริการเป็นสำคัญส่งผลให้ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูอย่างเต็มที่

TE = Therapeutic Environment

ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพ มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้คล้ายบ้าน ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกสบายใจไม่อึดอัดและกดดันในขณะทำการบำบัดฟื้น แต่แต่ปรับสภาพแวดล้อมทั้งหลายก็อยู่ภายใต้กรอบของการดูแลความปลอดภัยและแนวทางการจัดการในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

TE = Therapeutic Empathy

ทีมสหวิชาชีพมีเข้าอกเข้าใจในตัวผู้รับบริการ และมุ่งหวังให้ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

TS = Therapeutic Skills

สามารถใช้ความรู้ที่มีทางวิชาชีพในการรักษาและฟื้นฟูผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รับบริการมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้จริงและได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูอย่างเต็มที่

-โรงพยาบาลมนารมย์ -

ในช่วงบ่ายใช้เวลาไม่นานพวกเราก็เดินทางมาถึง โรงพยาบาลเอกชนแห่งที่สอง โรงพยาบาลมนารมย์ โรงพยาบาลเอกชนด้านจิตเวชแห่งแรกในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการด้านสุขภาพจิต ทั้งการส่งเสริม การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพจิต ด้วยทีมสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่นนักศิลปะบำบัดที่เรียนจบสาขาศิลปะบำบัดโดยตรงจากต่างประเทศ,นักดนตรีบำบัดที่จบมาโดยตรง เป็นต้น

โรงพยาบาลมนารมย์มีการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด สามารถแบ่งได้ทั้งแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็น

1. Day Program (Outpatient Department)

2. MLD ( Manarom Learning & Development Center )

3. IPD (Inpatient Development)

สถานที่ที่ใช้ในการบำบัดรักษามีห้องกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น ห้องกิจกรรมบำบัด, ห้องกายภาพบำบัด, ห้องทำอาหาร, ห้องละครบำบัด เป็นต้น


เมื่อนำประสบการณ์ที่ในวันนี้มาวิเคราะห์ตาม SMART THREES ได้ดังนี้


s = self

โรงพยาบาลมนารมย์

M =Motivation

ยึดหลักการทำงานโดยมุ่งเน้นให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในการรักษามุ่งเน้นให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปมีสุขภาพที่ดี มีการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาต่างๆเพื่อส่งเสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

A = Ability

ความรู้ความสามารถในทางกิจกรรมบำบัด ทั้งการประเมิน การสังเกต การออกแบบและวิเคราะห์กิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละ

RT = Role transformation


TR = Therapeutic Relations

-การดูแลผู้รับบริการอย่างเป็นมิตรและให้ความรู้สึกที่อบอุ่น เหมือนคนในครอบครัว เช่น ในผู้รับบริการบางรายมีการรักษาที่ติดต่อกันมา

TE = Therapeutic Environment

สถานที่ในการฟื้นฟูมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจนและมีความหลายหลากในการเลือกทำการบำบัด จำงทำให้ทีมสหวิชาชีพสามารถฝึกไปพร้อมๆกันได้ในหลายๆกลุ่ม นอกจากนี้ในแต่ละห้องยังจัดให้มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ

TE = Therapeutic Empathy

ทีมสหวิชาชีพมีเข้าอกเข้าใจในตัวผู้รับบริการ และมุ่งหวังให้ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

TS = Therapeutic Skills

สามารถใช้ความรู้ที่มีทางวิชาชีพในการรักษาและฟื้นฟูผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รับบริการมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้จริงและได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูอย่างเต็มที่

หมายเลขบันทึก: 602493เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท