ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จัดการอย่างไรดี?


ผู้สูงอายุในบ้านของท่าน กำลังประสบกับปัญหาภาวะซึมเศร้าอยู่หรือไม่?

แล้วถ้าหากเกิดภาวะซึมเศร้าแล้ว จะมีวิธีการรับมือกับสิ่งนั้นอย่างไร?

มีข้อมูลจากหลายแหล่งที่มาเลยค่ะ ที่กล่าวว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ที่ไม่คงที่ และเกิด'ภาวะซึมเศร้า'

ในส่วนของบันทึกนี้ จะเล่าถึงเอกสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า และเสอแนะแนวทางที่จะช่วยให้ภาวะซึมเศร้่าในผู้สูงอายุลดลงได้

รายละเอียดของเนื้อหา จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น.. ลองติดตามอ่านกันดูนะคะ :)


ในบทความแรกที่ดิฉันได้ทำการศึกษาจาก

Leisure activities and depressive symptoms in older adults with cognitive complaints

กรณีศึกษาคือ ผู้สูงอายุ (ประมาน65ปีขึ้นไป)ที่กำลังประสพกับภาวะซึมเศร้าบวกกับมีปัญหาด้านการรู้คิดเล็กน้อย พบว่าการรักษาโดยการใช้ยาจำพวก anti-depressant และวิธีการบำบัดรักษาทางจิต สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้

แต่ นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอื่นที่ สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้เช่นกัน!

ซึ่งวิธีนั้นก็คือ.. "การทำกิจกรรมยามว่าง " นั่นเองค่ะ

ฟังดูเป็นสิ่งที่ธรรมดาและไม่น่าจะเป็นส่งที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้เลยใช่ไหมคะ แต่ความจริงแล้วการทำกิจกรรมยามว่างนั้นเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีทีเดียวเชียวเลยค่ะ

เชื่อไหมคะว่า ผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมยามว่างกันซักเท่าไร

คำถามก็คือ แล้วกิจกรรมยามว่างประเภทไหนที่จะช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้?

คำตอบก็คือ กิจกรรมอะไรก็ได้ค่ะ อาจจะเป็นกิจกรรมที่เราสนใจ กิจกรรมที่ทำได้ดี มีความคุ้นเคยและเคยทำในอดีต หรือจะเป็นกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกับคนที่เรารัก

-จากในบทความที่ได้ศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับกับการเพิ่มช่วงเวลาในการทำกิจกรรมยามว่างว่าจะไปส่งผลถึงความลดลงของภาวะซึมเศร้าได้*

ซึ่งในบทความได้กล่าวถึงกิจกรรมยามว่างในส่วนของการทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นในสังคม(Social activities) และกิจกรรมทางกาย(Physical activities)


กิจกรรมยามว่างที่ทำร่วมกับผู้อื่นในสังคม(Social activities)

คือกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่น พบปะเพื่อนฝูง คนในครอบครัว คนสนิท หรือไปจนถึงคนในสังคมเป็นต้น ซึ่งการหาเวลาอยู่กับคนที่เรารักหรือครอบครัวและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในครอบครัวท่านแล้วยังเป็นการส่งเสริมการมีปฎิสัมพันธ์กันและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัวอีกด้วยค่ะ นอกจากทำกิจกรรมยามว่างร่วมกับคนในครอบครัวแล้ว การทำกิจกรรมยามว่างร่วมกับผู้คนในสังคมอาทิเช่น การเป็นอาสาสมัคร ทำให้ได้พบปะและรู้จักผู้คนใหม่ๆ ได้ทำตนให้เป็นประโยชน์สู่สังคม จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความภาคภูมิในในตนเองที่ได้ทำประโยชน์เพื่อคนอื่น และภาวะซึมเศร้าที่มีในตัวเขานั้นก็จะลดลงไปในตัวด้วยเช่นกันค่ะ

ต่อมาในส่วของกิจกรรมยามว่างที่ เป็นกิจกรรมทางกาย(Physical activities)

อาทิเช่น การเดินออกกำลังกายรอบสวนสาธรณะหรือรอบหมู่บ้าน การเล่นโยคะ หรือการรำไทชิ เป็นต้น แต่กิจกรรมที่ยกตัวอย่างมานี้อาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่บทความได้กล่าวไว้เท่านั้น ท่านสามารถเลือกกิจกรรมอื่นๆที่เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุที่สนใจ มาให้ผู้สูงอายุที่บ้านท่านทำก็ได้ค่ะ เช่นหากผู้สูงอายุของท่านชอบปลูกต้นไม้ ก็ให้เขาได้ปลูกต้นไม้ เป็นต้น นี่ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกันค่ะ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจกรรมในลักษณะของกีฬาหรือการออกกำลังกายเสมอไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุได้เช่นกัน


จากอีกบทความ ก็ได้มีการสนับสนุนแนวทางที่ว่า การทำกิจกรรมยามว่างในผู้สูงอายุ จะช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้ จาก

Leisure Activities and Quality of Life among the Oldest Old in Sweden

ที่ได้กล่าวถึงการศึกษา ผู้สูงอายุชาวสวีเดน 324 คนในชุมชมเมืองเก่าที่ได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมยามว่างผ่านมาเป็นเวลา 10 ปี ที่ทำการประเมินในปี 1982 และประเมินหลังจากการเปลี่ยนแปลงในปี 1992 โดยกิจกรรมยามว่างที่ได้ทำการศึกษานั้นทั้งหมด15 กิจกรรม และสามารถจัดกลุ่มกิจกรรมออกเป็นได้ กลุ่ม ดังนี้

  • culture-entertainment
  • productive-personal growth
  • outdoor-physical
  • recreation-expressive
  • friendship
  • formal-group

โดยผลจากการประเมินรอบหลังกล่าวว่าผู้สูงอายุ มีวิธีที่จะจัดการกับตัวเองและสามารถปรับปรุงกับคุณภาพชีวิตของตนเองได้ดีขึ้นและให้ผลดียิ่งขึ้นในผู้สูงอายุที่เป็นม่าย หรือผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังผู้สูงอายุประเภทนี้มักจะมีปัญหาด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นและเป็นโรคซึมเศ้ราร่วมด้วยซึ่งหลังจากได้ทำกิจกรรมยามว่างข้างต้น ที่ในส่วนใหญ่มักจะเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นแล้ว ผลชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มการมีส่วนร่วมกิจกรรมเป็นผลดีต่อผู้สูงอายุซึงเป็นผู้ที่นับว่าเป็นผู้การขาดดุลทางสังคมและทางกายภาพในชีวิตหลังจากไม่ได้ทำงาน ให้มีทักษะสังคมที่ดีและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้นั่นเอง :

ส่วนวิธีสุดท้ายที่นับว่าได้ผลดีอีกวิธีนึงที่ดิฉันจะมานำเสนอในการช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอีกวิธีหนึ่งก็คือ..


"การเขียนบันทึกเรื่องราวชีวิต"

อ้างอิงจากบทความของ

Effect of Life Review Writing on Depressive Symptoms in Older Adults: A Randomized Controlled Trial

ได้ทำการศึกษา ผู้สูงอายุ(อายุมากกว่าหรือเท่ากับ65ปีขึ้นไป) ในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 45คน ในการมาเข้าร่วมทำกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการให้เขียนบันทึกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมาของตัวเองในอดีตลงในบันทึกส่วนตัวของแต่ละคน การบันทึกนี้ จะเป็นการบันทึก ประสพการณ์ชีวิต ในเรื่องของการทำง่าน ครอบครัว งานอดิเรก กิจกรรมยามว่าง การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับผู้ใดหรือองค์กรใด บุคคลที่ประทับใจ หรือจะเป็นการเล่าถึงสิ่งใดก็ได้ แต่ควรจะต้องเป็นการบันทึกประสพการณ์ที่เป็นเรื่องราวที่ดี ที่ตนประทับใจและให้คุณค่ากับสิ่งนั้นๆ

ซึ่งขณะการเขียนเล่าบันทึกเรื่องราวชีวิตนั้นจะทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ได้มีการย้อนนึกถึงประสพการณ์ที่ดี เรื่องราวที่ดี ทำให้จิตใจของเขาได้นึกถึงแต่สิ่งที่ดีงาม ความรู้สึกดีๆเหล่านี้ก็จะมาช่วยทดแทนความรู้สึกซึมเศร้าให้เบาบางลงขึ้นได้

บางตำราก็ได้กล่าวว่า ผู้สูงอายุ คือผู้ที่มีประสพการณ์ชีวิตที่สูงเพราะเขาได้ผ่านเรื่องราวต่างๆมามาก เปรียบได้เสมือนกับเป็นนักปราชญ์

นอกจากการให้เขียนบันทึกเรื่องราวชีวิตในประสบการณ์ที่ดีแล้ว การให้ผู้สูงอายุได้ออกมาเล่าเรื่องราวแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในความรู้หรือประสบการณ์ที่เขามี พร้อมทั้งรับฟังประสพการณ์จากคนอื่นๆในกลุ่ม ก็จะมีส่วนช่วยให้เขาได้เกิดตวามรู้สึกที่ดีต่อตนเองมากขึ้น รู้สึกถึงการมีคุณค่าในตนเองจากการเป็นผู้มอบความรู้และแลกเปลี่ยนประสพการณ์แก่ผู้อื่น มีความเข้าใจและเข้าถึงจิตใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างเสริมความสามารถทางด้านการสร้างความสัมพันธ์กับคนในสังคมอีกด้วย โดยรวมแล้วจะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้นั้นเอง


และนี่ก็เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ดิฉันได้มานำเสนอจากบทความที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า โดยหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์จากท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ :)


ขอขอบคุณ(แหล่งอ้างอิง)

http://journals.cambridge.org/action/displayAbstra...

http://roa.sagepub.com/content/24/5/528.short

http://ajot.aota.org/Article.aspx?articleid=185159...

หมายเลขบันทึก: 602419เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2016 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท