รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ประเมิน นายนพดลย์ เพชระ

ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ก่อนการดำเนินงานตามโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ 3 )เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)ในการดำเนินงานตามโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ปีการศึกษา 2557รวมทั้งสิ้น 123 คน และใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation)

ผลการประเมินพบว่า

1.ด้านสภาวะแวดล้อมโดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าสูงสุด คือวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ ของท้องถิ่น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด น้อยที่สุดคือวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด

2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นโดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สูงสุด คือ ความพร้อมของผู้ดำเนินโครงการและเครือข่าย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด น้อยที่สุดคือการช่วยเหลือจากต้นสังกัด ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และองค์กรหน่วยงานอื่น มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด

3. ด้านกระบวนการโดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สูงสุด คือ ศึกษาปัญหาและประชุมชี้แจง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด น้อยที่สุด คือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด

4. ด้านผลผลิต

4.1. ผลการดำเนินการตามกิจกรรมหลัก 15 กิจกรรม โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สูงสุด คือ กิจกรรมเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด น้อยที่สุด คือ กิจกรรมอาหารปลอดภัยในโรงเรียน มีความคิดเห็นในระดับมาก

4.2.ผลการดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สูงสุด คือ นักเรียนได้รับโอกาสการดูแลอย่างทั่วถึงรอบด้าน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด น้อยที่สุด คือ ระบบการติดตามพฤติกรรม สภาพอารมณ์ ความประพฤติ และปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน อยู่ในระดับมาก

4.3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ให้ข้อมูลพบว่า พึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้ปกครอง พึงพอใจน้อยที่สุด คือ ครูผู้สอน

จากผลการประเมินในแต่ละด้าน ทำให้สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมได้ว่าการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชได้ผลในระดับมากที่สุด เพราะโครงการนี้มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด มีความพร้อมด้านปัจจัย ดำเนินการตามกระบวนการได้อย่างสมบูรณ์

มีกิจกรรมที่เหมาะสมยิ่งคือกิจกรรมเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการนี้นักเรียนได้รับโอกาสการดูแลอย่างทั่วถึงรอบด้านผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนควรดำเนินการโครงการนี้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 602165เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2016 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2016 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท