MIX & MATCH : KM มมส.กับ ก.พ.ร.ปี พ.ศ. 2550 #2


"หน่วยงานควรทบทวนบทบาท บริบท และวัฒนธรรมองค์กร แล้วเลือกแนวทางที่เหมาะสมก็จะได้บรรลุเป้าประสงค์ว่าทำ KM ไปทำไม?"

การที่ มมส. (MSU-KM) จะดำเนินการจัดการความรู้ให้ได้คำตอบของเป้าหมายที่วางเอาไว้ ผมขอนำเสนอข้อมูลในส่วนของการดำเนินการจัดการความรู้ดของ ก.พ.ร. ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ให้แนวทางเพื่อจัดทำกิจกรรมการจัดการความรู้เอาไว้ 3 แนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1 :  ตามเอกสารแนะนำการจัดการความรู้ขององค์การหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้อื่นๆ เช่น American Productivity and Quality Center (APQC)

แนวทางที่ 2 : ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ (CKO) และคณะทำงานการจัดการความรู้ (KM Team) ประชุมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นมา

แนวทางที่ 3 : ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน "คู่มือการจัดการความรู้ : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (โดย ก.พ.ร. ประจำปี พ.ศ. 2549)"

จะเห็นได้ว่า ก.พ.ร. ให้อิสระเพื่อดำเนินการจัดการความรู้ค่อนข้างมาก คือ ถ้าหน่วยงานไหนมีงบประมาณมากพอ ก็อาจใช้แนวทางที่ 1 แต่ถ้าหากต้องการใช้ความอิสระมากๆ มีบุคลากรที่ชำนาญพอ ก็อาจเลือกใช้แนวทางที่ 2 คือ คิดเอาเองโดยมี CKO  และ KM Team ของหน่วยงานร่วมกันพิจารณา และ แนวทางที่ 3 ก็ดำเนินการตามแบบฟอร์มตามคู่มือของทาง ก.พ.ร. ที่จัดเตรียมไว้ให้แล้วครับ "หน่วยงานควรทบทวนบทบาท บริบท และวัฒนธรรมองค์กร แล้วเลือกแนวทางที่เหมาะสมก็จะได้บรรลุเป้าประสงค์ว่าทำ KM ไปทำไม?"

ทีนี้เมื่อทราบข้อมูลข้างต้นแล้วนั้น คำตอบอาจอยู่ในใจหรืออาจ ลป.รร. ผ่านทาง blog นี้ ก็ย่อมเป็นสิทธิ์ที่แต่ละท่านจะตัดสินใจไว้ก่อนได้

โปรดอ่านอีกครั้ง ! :  สำหรับแนวทางที่ 3 การดำเนินการ km ควรระวังให้ดี เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจกลายเป็น "km เทียม" หรือ ที่ ดร.ประพนธ์ เรียกว่า "km ติดรูปแบบ" (ผม ลป.รร. ไว้ที่ บันทึกhttp://gotoknow.org/blog/beyondkm/59915)

ยินดี ลป.รร. ครับ
วิชิต

หมายเลขบันทึก: 60108เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ที่ ม.อ.ทำการจัดการความรู้โดยไม่เคยอ่านเอกสารของ ก.พ.ร.เลย พี่เพิ่งได้อ่านวันนี้จากน้องนี้หล่ะค่ะ ที่มอ.เรียกได้ว่าทำตามแนวทางที่ 2  ที่ มมส.เลือกแนวไหนคะ.....เห็นทีพี่ต้องไปหาฉบับเต็มมาอ่านบ้างแล้ว ขอบคุณค่ะ
  • ท่าทางจะเกิดชุมชนใหม่ใน Gotoknow อีก 1 ชุมชน เพราะมีหัวปลาในการ ลปรร. เดียวกันเลยค่ะ  ชอบ ๆ
ควรใช้เกณฑ์การประเมิน(1-2-3-4-5)ในตัวชี้วัดKMของ กพร. มาเป็นกรอบกว้างๆ ของการดำเนินงานการจัดการความรู้ภายใน มมส. ด้วยครับ เพื่อจะได้ประโยชน์ในหลายทาง โดยเฉพาะในเชิงเอกสารหลักฐาน ที่เราอาจจะปฏิเสธไม่ได้

อย่างที่โทรไปปรึกษานะคะคุณวิชิต  พี่หนิงคงรบกวนด้วย  เพราะอยากนำ   กระบวนการKM มาใช้กับการจัดบริการสนับสนุนนิสิตพิการ  อ่ะค่ะ  ซึ่งหัวใจของการทำงาน DSS ของพี่จะอยู่ที่ อาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียน  ที่คิดๆไว้อาจจะคล้ายๆกับ UKM-8 ที่มน. จัด  กลุ่มเป้าหมายคือ อาสาสมัครเพื่อนช่วยเรียนในแต่ละสถาบัน  มาลปรร. กัน 

กะๆไว้ว่าจะเขียนโครงการขอทุนจากภายนอกค่ะ  วันจันทร์ ต้องขอรบกวนด้วยนะคะ ^__*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท