การเรียนรู้ R2R ในปางมะผ้า ปีที่ ๒ (ตอนที่ ๕) ; กองทุนช่วยเหลือผู้ยากไร้โรงพยาบาลปางมะผ้า


การเรียนรู้ R2R ในปางมะผ้า (ตอนที่ ๕) ; กองทุนช่วยเหลือผู้ยากไร้โรงพยาบาลปางมะผ้า


สิ่งที่ประทับใจอีกเรื่องหนึ่งจากการเดินทางไปขับเคลื่อน R2R คปสอ.ปางมะผ้า นั่นก็คือ เรื่องกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้โรงพยาบาลปางมะผ้า ... ข้าพเจ้าได้รับทราบเรื่องราวของการทำงานที่มีข้อจำกัดมากมาย และความยากของงาน จากสภาพภูมิประเทศแล้ว ในเรื่องทางสังคมและการปกครองก็ส่งผลกระทบถึงวิถีแห่งการช่วยทางสุขภาพด้วย

ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเลขสิบสามหลัก สภาพการเข้าถึงระบบบริการน้อยมาก ปัญหาเรื่องความแออัด เท่าที่ข้าพเจ้าได้ไปสัมผัมถือว่าน้อย เพราะการเดินทางที่ไม่สะดวก ไม่หนักหนาสาหัสจริงๆ คนไข้ก็คงจะไม่ลงจากดอย ... งาน Routine ที่ต้องทำให้ผ่านตัวชี้วัด ทำได้ยากมาก

แต่...คนทำงานที่นี่ก็ไม่ย่อท้อ พัฒนางานอยู่อย่างตลอดเวลา แบบทำจริงเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และเอื้ออำนวยเกื้อกูลการทำงาน เกิดมีโครงการ PUC@Home และ 4x4 Team เกิดขึ้นเพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขได้เข้าถึงผู้ป่วย

คนน้อย...พื้นที่เข้าหาผู้ป่วยเดินทางไปลำบาก ลำพังเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ไปเองไปไม่ได้ ต้องอาศัยรถขับเคลื่อนสี่ล้อซึ่งมีเฉพาะที่โรงพยาบาล ดังนั้นทั้ง สสอ.และโรงพยาบาลจึงร่วมมือกันทำงานด้วยกัน ลงพื้นที่เข้าไปให้บริการ นับตั้งแต่แพทย์ พยาบาล เภสัช นักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยยาน ต่างร่วมกันเดินทางขึ้นสู่ยอดดอย...เพื่อไปให้บริการ

และที่ยากยิ่งกว่านั้น ในรายที่ต้องมีการส่งต่อ...ไปในโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า สิ่งที่กระทบมากคือ รักษาพยาบาล คนไข้ไม่มีสิทธิ์ทางการรักษา แต่ด้วยภาวะการเจ็บป่วย ทีมรักษาไม่อาจเพิกเฉยได้จำเป็นที่จะต้องส่งไปรักษาในสถานที่มีศักยภาพมากกว่า แต่คนไข้ไม่มีเงินไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเลขสิบสามหลัก ...

พยาบาลตัวเล็กๆ คนหนึ่งชื่อ คุณนุช เกิดแรงบันดาลใจเก็บขวดพลาสติดหรือขยะที่สามารถขายได้นำรายได้มาเป็นกองทุน ... จนเกิดเป็นการขยายผลตั้งกองทุนอย่างเป็นทางเกิดขึ้น

ชื่อกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้โรงพยาบาลปางมะผ้า

“อาจารย์รู้ไหมว่า คนไข้น่ะทั้งชีวิตเขาไม่เคยออกจากบ้าน แค่มาถึงโรงพยาบาลปางมะผ้า เขาก็กลับลำบากแล้ว และนี่บางครั้งต้องส่งไปเชียงใหม่ เขาจะเป็นยังไง พวกผมก็ทิ้งเขาไม่ได้ ...” เป็นความตอนหนึ่งที่คุณเงิน พนักงานขับรถที่คอยรับส่งข้าพเจ้าได้เล่าให้ฟัง

“บางครั้งพวกเราไปออกหน่วย ไปเจอคนไข้นอนป่วยเป็นเดือน เขาไม่สามารถพากันลงมาจากดอยได้ เราไปเจอก็ต้องพาเขาลงมารักษา...”

“เขาข้ามฝั่งมา ผมเป็นหมอ จะนิ่งเฉยได้อย่างไร...” นพ.สุพัฒน์เคยเล่าไว้

“บางทีเราเดินทางไปรับคนไข้ รถไปต่อไม่ได้ เราก็ต้องเดินเท้า...เพื่อไปรับเขาลงมา มาแล้วเขาเป็นมากกว่าที่เราจะรักษาก็ต้องคอยประสานหาโรงพยาบาลที่จะรับเขารักษาต่อได้ ไปเจออาจารย์หมอบางท่านใจดี ท่านก็ช่วยค่ารักษา...”

“เราเห็นแล้วว่าเด็กน่าจะรอดถ้าไปถึงมือทีมรักษาในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือพร้อม แต่เราก็ต้องตระเวณบางครั้งวิ่งรถไปแม่ฮ่องสอนก่อน ที่นั่นรับไม่ได้ก็ต้องวิ่งรับย้อนกลับมาเพื่อไปเชียงใหม่ ...ถนนแถวนี้พวกผมขับรถจนชินแล้ว...

...

๒๖-๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 600519เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท