ทฤษฎีองค์กรที่ดีไปสู่องค์กรที่ยอดเยี่ยม


Collins (2001, pp. 13-17) เป็นชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1958 ที่ Boulder, Colorado จบการศึกษาด้าน Business Administration and Mathematical Sciences จาก Stanford University และระดับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จาก University of Colorado และ The Peter F. Drucker Graduate School of Management จาก Claremont Graduate University ได้เขียนหนังสือ Good to Great ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับองค์กรที่ดีสู่องค์กรที่ดีเยี่ยม ซึ่งเกิดจากประสิทธิภาพของผู้นำหรือความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล โดยใช้ทีมวิจัย จำนวน 21 คน ใช้เวลา 6 ปี และสำรวจบริษัทชั้นนำ 1,435 ราย ที่มีชื่อติดทำเนียบ Fortune 500 โดยคัดเลือกมาเฉพาะบริษัทอันดับ 1-11 ที่สามารถเปลี่ยนแปลงธุรกิจตนเองจากดีถึงยอดเยี่ยมได้สำเร็จ และผลตอบแทนทางธุรกิจดีกว่าค่าเฉลี่ยของมูลค่าหุ้นในตลาด 3-18 เท่า หรือมีผลประกอบการก้าวกระโดดอย่างน้อย 1.3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทฯ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในเวลาเพียง 15 ปี คุณลักษณะพิเศษขององค์การที่ก้าวจากองค์การที่ดีไปสู่องค์กรที่ยอดเยี่ยม 7 ประการ คือ

1. Level 5 leadership จากผลการวิจัยของ Collins (2001) ผู้นำในระดับที่ 5 คือ ผู้นำที่มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยาน มีความพากเพียรในการทำงาน อ่อนน้อมถ่อมตน มีทีมงานเหมาะสม ค่านิยมสอดคล้องกับองค์การ สามารถทำงานได้ดีโดยไม่ต้องกำกับดูแลใกล้ชิดและสำเร็จได้ตามเป้าหมาย รวมถึงไม่เอาความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นความสำเร็จของตนเอง แต่หากเกิดความผิดพลาดจะรับผิดชอบว่าเกิดจากผู้นำเอง รวมทั้งต้องการเห็นความสำเร็จขององค์การมากกว่าความสำเร็จและความร่ำรวยของตนเอง เป็นผู้นำที่สามารถพัฒนาบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำได้ โดยได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นและต้องพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองอยู่เสมอด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา หรือไม่หยุดเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างและวางรากฐานที่ดีให้กับองค์การด้วย ส่วนขั้นตอนในการพัฒนาภาวะผู้นำ

ระดับที่ 1 คือ ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง (highly capable individual) สามารถนำความรู้ ทักษะ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ รวมทั้งพฤติกรรมที่ดีมาใช้ เพื่อทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร

ระดับที่ 2 คือ ผู้ที่เน้นความสำเร็จของทีมงาน (contributing team member) สามารถทำงานร่วมกับสมาชิกของทีมงานได้ดีและช่วยให้กลุ่มหรือทีมงานบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งมีความเอาใจใส่ต่อความสำเร็จของทีมงาน

ระดับที่ 3 คือ ผู้จัดการที่มีขีดสมรรถนะ (competent manager) สามารถบริหารบุคลากรและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายตามต้องการขององค์การ เป็นผู้บริหารที่ใส่ใจทั้งคนและความสำเร็จของงาน

ระดับที่ 4 คือ ผู้นำที่มีประสิทธิผล (efficient leader) สามารถสร้างแรงกระตุ้น จูงใจให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่น โดยกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจให้ชัดเจน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลงานและทำงานอย่างทุ่มเท เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจดังกล่าว

ระดับที่ 5 คือ ผู้บริหารที่แท้จริง (executive) คือ ผู้นำที่เน้นการสร้างความ-สำเร็จอันยิ่งใหญ่และยั่งยืน ด้วยการผสานความเป็นมืออาชีพ (professional will) เข้ากับความอ่อนน้อมถ่อมตน (personal humanity)

2. First Who … Then What องค์การสามารถคัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานให้มากที่สุด โดยผู้บริหารและผู้นำมีการตัดสินใจที่ดีที่สุด จะสามารถนำพาองค์การไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้

3. Confront the Brutal Facts องค์การกล้าเผชิญกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นและพร้อม
ที่จะแก้ปัญหา โดยไม่สูญเสียความศรัทธา เพราะองค์การที่จะเจริญเติบโตจะต้องมี
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจประสบความล้มเหลวและต้องสร้างวัฒนธรรมองค์การในการรับฟังเรื่องของบุคลากร เพราะเป็นส่วนสำคัญในการจะพัฒนาองค์การให้ยิ่งใหญ่และยั่งยืน

4. Confront the Brutal Facts การสร้างกลยุทธ์ในการใช้ความคิดอย่างง่ายไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยลองทำกระบวนการนั้นซ้ำหลายครั้ง และพยายามมองหา
จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ เพื่อนำมาพัฒนา บูรณาการ รวบรวมเป็นความรู้ชัดเจน
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ

5. A Culture of Discipline วัฒนธรรมแห่งความมีวินัยเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติ
ที่จะสามารถพัฒนาองค์การให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ควรมีวินัย 3 ประการ คือ วินัยของบุคลากร วินัยทางความคิด และวินัยทางการปฏิบัติ

6. Technology Accelerators การประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ให้เข้ากับองค์การ
เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ความคิดแบบสร้างสรรค์ ผลักดันศักยภาพขององค์การอย่างเต็มที่ รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ Corporate Social Responsibility (CSR) ซึ่งหมายถึง การทำให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
มีความสมดุล อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

7. The Flywheel and the Doom Loop การปรับเปลี่ยนองค์การที่ดีสู่องค์กร
ที่ดีเยี่ยมอย่างยั่งยืน ต้องทำอย่างความค่อยเป็นค่อยไป เหมือนล้อเฟืองที่ขับเคลื่อน
และประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เพราะอาจ
ทำให้เกิดความเสียหายได้ รวมทั้งการสร้างตราสินค้า (brand) ให้เข้มแข็งทั้งภายนอกและภายในให้เป็นที่ยอมรับและจดจำโดยทั่วไป โดยบุคลากรภายในองค์การต้องปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องและมีมาตรฐานสม่ำเสมอทุกครั้ง

เมื่อเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมแล้ว ต้องรักษาศักยภาพดังกล่าวตามแนวความคิดหลัก
อยู่ 4 ประการ คือ

1. การสร้างองค์กรที่มีความยั่งยืนและปรับตัว เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนผู้นำกี่รุ่น หรือไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหนของวงจรชีวิต

2. มีความสามารถที่จะทำเรื่องที่ต่างกันอย่างสุดขั้วควบคู่กันไปได้อย่างดี คือ แทนที่จะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรคิดหาวิธีที่จะทำทั้งสองเรื่องไปพร้อมกัน

3. มีอุดมการณ์หลัก คือ การปลูกฝังค่านิยมหลักและเป้าหมายหลัก เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจและแรงบันดาลใจของบุคลากรภายในองค์การ

4. ยึดมั่นและรักษาอุดมการณ์ที่เป็นเป้าหมายสำคัญควบคู่ไปกับการสร้างความ-เจริญก้าวหน้าจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานและกลยุทธ์โดยปรับปรุงให้ดีขึ้น
หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่ยังคงยึดมั่นในค่านิยมและเป้าหมายหลัก

หมายเลขบันทึก: 600506เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท