การเรียนรู้ R2R ในปางมะผ้า ปีที่ ๒ (ตอนที่ ๒)


การเรียนรู้ R2R ในปางมะผ้า (ตอนที่ ๒)

กระบวนการเรียนรู้วันที่สองเริ่มด้วยความเรียบง่าย ...อากาศเช้าวันนี้เริ่มอุ่นขึ้นมา ข้าพเจ้าเปิด VTR ของ รพ.สามโก้ ให้ทุกคนได้ดู ...เป็น VTR R2R ของงานทันตกรรมที่ส่งเสริมการมาตรวจฟันของเด็กปฐมวัย เป็นเรื่องราวที่น่ารัก การนำเสนอ VTR ก็เห็นกระบวนการชัดเจน

หลังจากที่ได้ดู VTR แล้ว ก็ให้ Share&Learning กันในกลุ่ม แล้วช่วยกันสกัดบทเรียนในประเด็น

  • คำถามการวิจัย
  • Intervention
  • รูปแบบการวิจัย
  • คุณค่าที่เกิดขึ้นจากผลงาน R2R เรื่องนี้

ขณะที่ดู VTR บรรยากาศดูสนุกและเบิกบาน เพราะกลุ่มตัวอย่างในเรื่องเป็นกลุ่มเด็กๆ น่ารักๆ

Intervention คณะทำงานก็ออกแบบสอดรับกับธรรมชาติของเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

กระบวนการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มดำเนินไปด้วยดี เสน่ห์อย่างหนึ่งที่พบในเครือข่ายนี้ คือ ทักษะของการ Dialogue และ Share&Learning ...skill ของการฟัง และการเชื่อมต่อความรู้

จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอต่อกลุ่มย่อย

เสร็จจากการเรียนรู้ผ่านงานของบุคคลอื่น ...ก็นำกลับมาสู่บทเรียนของตนเองในแต่ละงาน

เมื่อย้อนกลับไปมองปีที่แล้ว ... ข้าพเจ้ามองว่าการเรียนรู้ของบุคลากรดำเนินไปได้เร็วนั่นหมายถึงมีฐานความรู้เดิมในเร่ือง R2R เพิ่มขึ้น (Pier Knowledge)

กระบวนการเรียนรู้ดำเนินมาถึงช่วงบ่าย...

ข้าพเจ้าประสานกับทางคุณอำนวย R2R ในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนและติดตามต่อ

ตอนท้ายก่อนปิดกระบวนการ มาร่วมกัน AAR

  • ก่อนมาคาดหวังอะไร
  • มาแล้วได้เกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
  • มีอะไรบ้างที่รู้สึกประทับใจ เพราะอะไร
  • ข้อเสนอแนะ

จากการถอดบทเรียนสรุปได้ดังนี้...


ก่อนมาคาดหวังอะไร

มาแล้วได้เกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง

มีอะไรบ้างที่รู้สึกประทับใจ เพราะอะไร

ข้อสนอแนะ

- มีความรู้ความเข้าใจ งานวิจัยเพิ่มมากขึ้น

- ความสนุกสนาน

- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเพื่อนๆ

- จะได้หัวข้อวิจัย

- สามารถนำความรู้จากการวิจัยมาปรับใช้ในงานประจำได้

- ได้แรงบันดาลใจ

- ได้เจอ อ.กะปุ๋มตัวจริง

- ทำวิจัยได้

- รู้จักคำว่า R2R อย่างแท้จริง


- การแก้ปัญหาหน้างาน

- การทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม

- มีความรู้ ทราบถึงระเบียนวิธีวิจัย

- รู้วิธีต่อยอดงานเดิม

ได้สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน

- การเขียนโครงร่างการวิจัย

- ได้ฝึกปฏิบัติการทำ R2R

- เกิดกระบวนการคิดใหม่ๆ เกิดขึ้น

- งานวิจัยไม่ได้ยากอย่างที่คิด

- ขั้นตอนการเขียนทำ R2R

- การนำหน้าที่ในการทำงานเกิดการนำเอาไปใช้ได้

- R2R ไม่ใช่สิ่งที่ยุ่งยาก ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

- R2R ที่แท้จริงไม่ได้ทำให้งานเราซับซ้อนยุ่งยากหรือเพิ่มภาระงานให้แก่เรา

- มุมมองในการใช้ชีวิตเปลี่ยน/ดีขึ้น/สร้างสรรค์ขึ้น

- ประทับใจวิทยากร สอนสนุก เข้าใจง่าย

- เพื่อนในกลุ่มสนุกสนานช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ทีมงาน R2R ทุกคนในการจัดอบรมในครั้งนี้

- หลักธรรม

- การสอนที่เป็นกันเอง

- การเรียนรู้ไม่เครียด

- ประทับใจในการอบรมที่เป็นกันเอง

- อาจารย์สามารถเชื่อมโยงปัญหาหน้างานแล้วมาปรับใช้ในระบบของงานเราได้

- ทำให้ผู้เข้าอบรมมีแรงจูงใจ แรงบันดาลใจในการทำ R2R

- ดีใจที่เจออาจารย์อีกครั้ง

- รู้สึกมีแรงบันดาลใจ

- เป็นการเรียนรู้ที่ไม่เครียด

- ประทับใจอาจารย์กะปุ๋มที่ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ สนุก และเข้าใจง่าย

- บรรยากาศการเรียนรู้สบายๆ ผ่อนคลาย และอยากมีส่วนร่วม

- ประทับใจเสียงหัวเราะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของอาจารย์

- อาจารย์บรรยายนอกเรื่องมีสาระและชอบฟังมากๆ (เสริมแรงใจในทางบวก)

- อยากเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารพื้นบ้าน

- อยากเปลี่ยนสถานที่

- ควรจะมีการจัดกลุ่มให้หลากหลาย

- จัดอีกบ่อยๆ และต่อเนื่อง

- ยกตัวอย่างเพิ่มเติมงานวิจัยเต็มรูปแบบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน

- Refresh แบบนี้ปีละครั้ง

- อาจารย์กลับไปแล้วก็อยากให้หน่วยงานนำไปต่อยอดอย่างจริงจัง

- การติดตาม/ประเมินผล และการนำไปใช้ต่อ

๒๖-๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙







หมายเลขบันทึก: 600504เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท