การเรียนรู้ R2R ในปางมะผ้า ปีที่ ๒ (ตอนที่ ๑)


การเรียนรู้ R2R ในปางมะผ้า (ตอนที่ ๑)


ปีนี้เป็นปีที่๒ ที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปร่วมขับเคลื่อน R2R ใน Cup ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ปีนี้เจอเรื่องที่ท้าทาย คือ อากาศที่มีอุณภูมิต่ำลง ไปเจอที่ 6-7 องศาเซลเซียส ร่างกายก็ปรับไม่ทัน ... เจอฝนที่เชียงใหม่และที่แม่ฮ่องสอน หมอกยังเป็นสัญลักษณ์เต็มสองข้างทางในระหว่างการเดินทาง

ถ้าพูดถึงความหนาวเย็น หากเปรียบเทียบกับครั้งก่อนหรือในหลายๆ ครั้งที่มาในระแวกนี้ ...ก็พอทำใจปรับได้ หรืออาจเพราะเติบโตขึ้น ใจภายในจึงไม่หนาวจึงส่งผลให้อบอุ่นมาถึงภายนอก...

กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้น..ในเช้าวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙

ความคุ้มเคย และความปิติอิ่มใจเกิดขึ้นเมื่อได้เจอกับทีมทำงานของปางมะผ้า

ข้าพเจ้ามาที่นี่เมื่อปีก่อนมาซึมซับการทำงานของคนที่นี่ รู้สึกประทับใจและซาบซึ้งใจ ทุกคนทำงานหนักและยาก แต่ก็ไม่ได้แสดงออกผ่านใบหน้าและชีวิตถึงภาระกิจที่หนักอึ้งของตนเอง ... เสน่ห์ของงาน PCU@Home และ4x4 Team ยังคงเป็นอะไรที่เปี่ยมคุณค่าและปัญญาของการค้นหาวิถีแห่งการทำงานภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขของอุปสรรคมากมาย

ที่นี่ไม่ได้ตั้งต้นว่า "ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการ" แต่...ที่นี่ตั้งด้วยคำถามนำวิถีการงานว่า "ทำอย่างไรคนทำงานจึงจะเข้าถึงผู้ป่วย...” การขับเคลื่อนทุกๆ กระบวนการทำงาน ดำเนินไปภายใต้คำว่า Team นับตั้งผู้อำนวยการ สาธารณสุขอำเภอ และฟันเฟืองทุกๆ คน ...

ก่อนเข้าสู่กระบวนการผู้อำนวยการโรงพยาบาลกล่าวทักทายอย่างเรียบง่ายและนำพาทุกคนฝึกเจริญสติ...ตามด้วยคุณกร R2R Facilitator ในพื้นที่ได้วิเคราะห์การนำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนพัฒนางาน

จากนั้น...ข้าพเจ้าท้าวความถึงแนวคิดเบื้องต้น R2R และการนำ PICO มากำกับการทำ R2R ให้ง่ายขึ้น โดยส่วนใหญ่...จะมีหัวข้อหรือประเด็นในการทำ R2R กันแล้ว ... เพื่อเป็นการ Inspiration กันอีกครั้ง ข้าพเจ้าเปิด VTR R2R ของอำเภอท่าวังผาให้ทางทีมได้ดู

จากนั้นสรุปเรื่องรูปแบบการวิจัยที่นิยมในงาน R2R อีกครั้ง (เป็นการบรรยาย)

เวลาที่บรรยาย ส่วนมากสิ่งที่ลึกลงไปที่คนหน้างานไม่ได้ใช้ข้าพเจ้าก็ไม่มานำเสนอให้เป็นที่รกใจ จะบอกเล่าและพูดคุยรูปแบบงานวิจัยที่พื้นฐานคนทำงานประจำควรทราบ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าเปิด VTR ของคุณอดิเรก เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับแม่วัยใส ที่ตำบลโอโล จังหวัดชัยภูมิ จากนั้นให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อสกัดบทเรียนที่ได้จาก VTR ในประเด็น ...คำถามการวิจัย รูปแบบการวิจัยที่เลือกใช้ และกระบวนการหรือขั้นตอนการวิจัย ; การทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในรูปแบบการวิจัยชัดเจนขึ้น การแชร์กันทำให้องค์ความรู้ที่มีในแต่ละบุคคลเกิดการผ่องถ่ายแบ่งปันความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน...

เรียนรู้ผ่านงานผู้อื่น..แล้วย้อนกลับมาดูงานตนเอง

ให้แต่ละทีมวิจัยออกแบบรูปแบบการวิจัยของตนเองเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับคำถามการวิจัย

การเรียนรู้แบบกลุ่มแบบช่วยกันคิด ช่วยกันมอง...งานของตนเอง (ไม่โดดเดี่ยว)

ท้ายที่สุดข้าพเจ้าเติมเต็ม พื้นฐานความรู้ในเรื่อง "วิจัยเชิงปฏิบัติการ" (Action Research) ให้กับทางทีมและเติมเต็มพัฒนารูปแบบการวิจัยกันต่อท่ามกลางอากาศเย็น แต่อบอุ่นในใจ

...

๒๖-๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 600503เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท