ความร่วมมือของครูกับผลสัมฤทธิ์ของศิษย์



รายงานผลการวิจัย เรื่อง Teacher Collaboration in Instructional Teams and Student Achievement ลงพิมพ์ในวารสาร American Educational Research Journal ศึกษาครูกว่า ๙ พันคน ใน ๓๓๖ โรงเรียน (ที่เป็นโรงเรียนของรัฐ) สังกัดเขตการศึกษาหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา ๒ ปี

ความร่วมมือของครูมีได้หลายแบบ และครูแต่ละคน แต่ละกลุ่ม ก็มีพฤติกรรมด้านความร่วมมือแตกต่างกันมาก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ เป็นการดำเนินการแบบเข็นครกขึ้นภูเขา ครูที่ถือว่าข้าแน่จะไม่มีทัศนคติเชิงบวกต่อความร่วมมือ สะท้อนออกมาในผลการวิจัยที่ลงลึกมาก

จากผลการวิจัย บอกว่าความร่วมมือ ๔ แบบ (ความร่วมมือทั่วไป ความร่วมมือจัดการหลักสูตร ความร่วมมือดูแลนักเรียน และความร่วมมือประเมินแบบ formative assessment) ก็มีผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของศิษย์ไม่เท่ากัน

ข้อสรุปกว้างๆ คือ ความร่วมมืออย่างมีคุณภาพระหว่างครู มีคุณค่าและผลกระทบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ ของศิษย์อย่างล้นเหลือ แต่ในชีวิตจริง ความร่วมมือดังกล่าวมีคุณภาพแตกต่างกันมาก


วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 600414เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความร่วมมือของครูคืออะไร ?
คือเป้าหมายอยู่ที่ศิษย์ใช่หรือไม่ ?
หรือเป็นเพียงก้มหน้าทำกันไป ?
4 แบบงานวิจัยให้แนวทาง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท