สวัสดิการสังคม และความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจ ในผู้สูงอายุไร้ญาติ


การจัดสวัสดิการทางสังคมให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจ (Mental well-being) ในผู้สูงอายุไร้ญาติ

จากข้อมูลของจำนวนประชากรไทย พ.ศ.2557 ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวในประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวน 875,998 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในผู้สูงอายุ เมื่อร่างกายเสื่อมสมรรถภาพ จะมีการเสียบทบาทของตัวเอง ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองลดลง และจะส่งผลไปถึงกิจกรรมประจำวัน ไม่เป็นที่พอใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกลัว และยิ่งได้พบเห็นสภาพของผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน ยิ่งทำให้เกิดความกลัว อารมณ์เศร้า ซึมลงและสิ้นหวัง

การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในวัยสูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุนั้นมีทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านสรีรวิทยา, ด้านจิตใจอารมณ์ และด้านสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างนั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยชราคือการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ถดถอยลง สมรรถภาพและประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำกิจกรรมต่างๆที่เคยทำได้ปกติในวัยหนุ่มสาว ยากลำบากขึ้นในการร่วมทำกิจกรรม ซึ่งหัวข้อที่เราสนใจนั้นคือด้านจิตใจและอารมณ์ จะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ภาวะทางอารมณ์ : อาจจะมีการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง วิตกกังวล โกรธง่าย เอาแต่ใจตนเอง รวมไปถึง นอนไม่ค่อยหลับเวลากลางคืน
  • ภาวะทางความคิด : มักจะคิดซ้ำซาก ลังเล หวาดระแวง หมกมุ่นเรื่องของตัวเอง ทั้งเรื่องในอดีตและรวมถึง ปัจจุบัน กลัวถูกทอดทิ้งจากลูกหลาน
  • ภาวะทางความจำ : มักจำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ค่อยได้หลงๆลืมๆ และชอบย้ำคำถามบ่อยๆ
  • ภาวะทางพฤติกรรม : มักเอาแต่ใจตัวเอง จู้จี้ ขี้บ่น ชอบยุ่งเรื่องคนอื่น แต่บางคนก็อาจจะเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม เพราะคิดว่าตัวเองแก่แล้ว

ความต้องการของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความต้องการ 2 ประเภท คือ ความต้องการพื้นฐานและความต้องการขั้นสูงสุด เช่น ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุตรหลาน มีรายได้พอใช้ มีบริการสุขภาพที่รัฐจัดให้ มีบ้านพักอาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความต้องการด้านสุขภาพ เช่น ได้รับความรู้ คำแนะนำจากแพทย์ พยาบาล และต้องการตรวจสุขภาพประจำปี มีความต้องการด้านสังคม ต้องการให้ชุมชนมีหน่วยงานดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ต้องการสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย มีความต้องการด้านจิตใจ เช่น ต้องการความเคารพยกย่องจากครอบครัวและสังคม และต้องการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี นอกจากนี้ยังมีความต้องการด้านการเงินและการงาน เช่น ต้องการเงินช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่ยากจน ต้องการการเกื้อหนุนจากลูกหลาน ต้องการให้รัฐจัดหางานให้ (เกษม แก่นบุญ, 2552)

จากงานวิจัยแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ชี้ให้เห็นว่าความต้องการด้านสวัสดิการในผู้สูงอายุทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย, จิตใจ และสังคมนั้น ด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านร่างกาย และด้านสังคมตามลำดับ โดยด้านจิตใจ คือ ควรมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมตามความสนใจ และมีการจัดกิจกรรมนันทนาการร่วมกับเยาวชน คนในชุมชนและกลุ่มเครือข่าย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิด Mental well-being ในผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ?

ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุมีหลากหลายประเภท ในที่นี้จะกล่าวถึงสวัสดิการที่ส่งเสริมด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ดังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีบทบัญญัติที่บรรจุหลักการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุไว้ ดังนี้

มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่ การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรีและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ

  • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ และครอบครัว
  • ส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุและเครือขาย
  • ส่งเสริมการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อจัดทำกิจกรรมเสริมรายได้โดยให้ผู้สูงอายุสามารถมีส่วนร่วม
  • ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับสวัสดิการด้านรายได้พื้นฐานที่รัฐจัดให้
  • พัฒนาและส่งเสริมระบบประกันสุขภาพที่มีคุณภาพเพื่อผู้สูงอายุทุกคน
  • จัดและพัฒนาบริการทางสุขภาพและทางสังคม รวมทั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวในชุมชนที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุมากที่สุด โดยเน้นบริการถึงบ้านและมีการสอด ประสานกันระหว่างบริการทางสุขภาพและทางสังคม โดยควรครอบคลุมบริการดังต่อไปนี้

สนับสนุนการดูระยะยาว, ระบบประคบประคอง, ดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคหลอดเลือดในสมอง, อาสาสมัครในชุมชน

กฎหมาย/นโยบายที่ป้องกันคุ้มครองผู้สูงอายุ

ด้านสุขภาพและการรักษา – จัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ, บริการตรวจสุขภาพที่บ้าน, บริการตรวจสุขสภาพประจำปี ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บเป็นรายบุคคล, การออกบัตรประจำตัวให้กับผู้สูงอายุเพื่อรักษาในโรงพยาบาล

ด้านรายได้ – ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน, การช่วยเหลือค่าครองชีพประจำวัน, จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/ พิการ, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพ จำนวนคนละ 500 บาท ต่อ 1 เดือน โดยเป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้ดูแล

ด้านที่พักอาศัย – บ้านพักคนชรา, สถานพยาบาล เป็นบริการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการรักษาเป็นประจำและต่อเนื่อง, จัดที่พักอาศัยและเครื่องนุ่งห่ม

ด้านนันทนาการ – การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ, ศูนย์บริการผู้สูงอายุ, สโมสรผู้สูงอายุ กิจกรรมนันทนาการร่วมกับเยาวชน คนในชุมชน กลุ่มเครือข่าย

ด้านสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน –ระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การเยี่ยมบ้าน และการให้ความรู้กับผู้ดูแลและอาสาสมัครผู้ดูแล

บทบาทหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัด

1.ให้คำแนะนำและความรู้กับผู้สูงอายุในเรื่องของสวัสดิการต่างๆที่ผู้สูงอายุพึงจะได้รับ

2.ประสานงานกับเครือข่าย/องค์กรที่เกี่ยวข้อง

3.ออกชุมชนร่วมกับสหวิชาชีพ เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวอย่างทั่วถึง

4.บำบัดฟื้นฟูให้เกิด Occupational balance

5.ให้ความรู้กับคนในชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างแนวทางในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ(Well-being) ร่วมกับคนในชุมชน

แสดง FIN.png

จัดทำโดย นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4

นางสาว ภาณิชา อุรพีพล 5523005

นางสาว ณัฐณิชา สร้อยระย้า 5523006

นางสาว พรชนัน ขยัก 5523011

นางสาว ระวีวรรณ ชาวสามหน่อ 5523013

นางสาว วรนิษฐา ชาญพิทยานุกูลกิจ 5523015

นาย สุรพศ ใจคม 5523020

หมายเลขบันทึก: 600379เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Very informative. Thank you.

I see this as a good start point "...ควรมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมตามความสนใจ และมีการจัดกิจกรรมนันทนาการร่วมกับเยาวชน คนในชุมชนและกลุ่มเครือข่าย...". How much have we done 'officially'? (I know of many informal groups to tour wats and other places, and to do mindfullness courses. But there are more things elders can do. Perhaps we could move from 'talk-about-it to 'let-do-it' stage, so we can gain experience and understanding of issues involved.)

สวัสดีค่ะอาจารย์

คุณยายก็เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้วค่ะ ตอนนี้ก็ทำกิจกรรมบำบัดตัวเองทุกวันค่ะ

ขอบคุณมากๆสำหรับความรู้ที่แบ่งปันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท