นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศการศึกษา แกเปะราษฏร์นิยม และ เหล่าค้อ


อากาศลดลงเกือบสิบองศา ปรับตัวกันแทบไม่ทัน วันนี้ เดินทางไปนิเทศ ตามปกติ สอง โรงเรียน พยายาม หาแง่มุม เพื่อนำเสนอ ในเชิงสร้างสรรค์ อยู่นานเหมือนกัน โรงเรียนที่ไปในวันนี้ มีบริบททั้งที่เหมือน และ แตกต่างกับ ที่ผ่าๆ นมา ภาพที่สะท้อนไว้ที่โรงเรียน มีหลายประเด็นมากๆ แต่โดยสรุป คือ ให้ เพิ่มความเข้มข้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้ง ในระดับปฐมวัย และ ประถมศึกษา

โรงเรียนแกเปะราษฏร์นิยม


นักเรียน 203 คน ครู 14 คน จัดการศึกษา สองระดับ ปฐมวัย (60 คน) ประถมศึกษา 143 คน ในวันนี้ ร่องรอยหลักฐาน ที่ สะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการทำงาน ครู อาจจะมีไม่มากนัก ข้อเสนอแนะ โดยภาพรวมก็ทางโรงเรียนได้พูดคุย ในประเด็น ต่างๆ ที่ทาง คณะเราจะ เข้ามาช่วยเหลือได้ ที่นี่ ผอ.ร.ร. ขอ ผลงาน นักเรียน ไปตรวจสอบ .. ว่าเด็กได้เรียนรู้อะไร ครูสอนอะไรบ้าง ..แต่ก็ไม่ได้ครบทุกชั้นเรียน (ซึ่งก็คือการนิเทศครูทางอ้อมได้เช่นกัน)



ภาพที่ 1 แปลงผัก ของคุณครู สวยมาก (ขออภัยลืมบันทึก) นักเรียนได้ลงมือปลูกจริง ทำน้ำหมักเพื่อมารดผัก คุณครูยอมรับว่า ขาดการบันทึกการเรียนรู้ นักเรียนไม่ได้สรุปสิ่งที่เรียนรู้ แต่พอจะเห็นช่องทางแล้ว ว่าต้องทำอย่างไร ต่อไป จะลองฝึกทำ

ภาพที่ 2 กระดานแม่เหล็ก ผอ.ร.ร.ทำให้ทุกชั้นเรียน ..ด้านหลังติดผลงานนักเรียน แต่ด้านหน้า โล่งไปหน่อย ค่ะ (ไม่เป็นไรปรับใหม่สู้ๆ)


ภาพที่ 3 ในบางชั้นเรียน สอนกับ ทีวี แต่ไม่ได้จอแบน เหมือน รุ่นใหม่ๆ (นร.มากกว่า 120) แต่ครูก็ใช้จัดกิจกรรม DLTV ก็เป็นสื่อยอดฮิต ของ กส.1


ภาพที่ 4 ชั้นเรียนปฐมวัย ได้รับจัดสรรอุปกรณ์ dlit มีการใช้ประโยชน์ ในการทำกิจกรรม มากมาย โดยเฉพาะเว็บไซต์ยอดฮิต Youtbe เป็นขวัญใจของชั้นเรียนปฐมวัย


โรงเรียนเหล่่าค้อ

โรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียน ประมาณ 80 คน ครู 6 คน บริเวณโรงเรียนมีสองแปลง แปลงแรกเป็นที่ตั้งโรงเรียน แปลงที่สองปลูกป่ายูคาลิปตัส การเยี่ยมชั้นเรียนในวันนี้ เราอยากสะท้อนกับ ผอ.ร.ร.และครูวิชาการ แต่ ทาง ผอ.บอกว่า นานๆ มาที ให้พบปะทุกคน .. โดยสรุป .เราชื่นชมคุณครูที่นี่ตั้งใจสอนมาก สื่อในชั้นเรียนก็มีเยอะพอประมาณ เสนอแนะให้เพิ่มเติม ผลงาน ชิ้นงาน ร่องรอยการทำงานของเด็กๆ และ ให้เปลี่ยนรูปแบบ การให้งานเด็กๆ ให้หลากหลายขึ้น เราเน้นที่ การประเมิน การทดสอบ ให้เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับ ข้อสอบมาตรฐาน ที่เน้นข้อสอบสถานการณ์โดยให้ ตั้งเริ่มปลูกมาตั้งแต่ ป. 1 ไม่ควรไปเน้นที่ ป.6 เพียงชั้นเดียว

ภาพที่ 1 ชั้นเรียน ป.1 จัดโต๊ะ เก้าอี้ ไว้ ด้านหนึ่ง เพื่อให้เหลือพื้นที่ตรงกลางไว้ทำกิจกรรม (เป็นไอเดียที่ใช้ได้เลยค่ะ คงมองเห็นกระดานทุกคน ก็ลืมถามไป)



ภาพที่ 2 ทุกชั้นเรียนถูกสนับสนุนด้วย คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เพื่ออำนวยความสะดวกการทำงานของครู


ภาพที่ 3 เตาเผาถ่าน ของภูมิปัญญาที่สร้างไว้ให้กับโรงเรียน

ภาพที่ 4 ลักษณะของการบ้านนักเรียน " การให้นักเรียนได้ฝึกทำซ้ำๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง" ก็มีควาามจำเป็นแต่ เด็กๆ ก็ควรได้รับโอกาส และประสบการณ์ กับ
ใบงานที่หลากหลาย พวกเราได้เสนอแนะให้ไป หาข้อสอบ มาตรฐานเช่น NT ONET ให้ครู ได้ดูสไตล์การออกข้อสอบ และมาปรับ ให้ใกล้เคียง เหมาะสมกับเด็กๆ ของเรา
เพื่อให้เขาเกิดความะสร้างความคุ้นเคย


ภาพที่ 5 บางครั้ง ครูต้องทำงานธุรการไปด้วย และต้องบริหารเวลาให้กับการเรียนรู้ จากภาพ เป็นการมอบงานให้ นร.มาอ่านให้ฟังทุกวัน (เนื้อหาใดก็ได้) โดยครูจะเลือกในช่วงที่ต้องทำธุรการ งานโรงเรียน

ภาพที่ 6 เราพบ แฟ้มมสะสมงาน ที่โรงเรียนนี้ ทุกชั้นเรียน ..ได้แลกเปลี่ยนวิธีทำแฟ้มสะสมงาน (มุ่งให้เห็นพัฒนาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) งานที่ให้เด็กทำ อาจจะสะท้อนในเรื่องของการคิด คุณลักษณะ ต่างๆ เป็นต้น


ภาพที่ 8 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีพอได้ใช้โรงเรียนเล็กงบประมาณน้อย แต่อินเทอร์เน็ต เร็วและแรงมาก


ภาพที่ 7 ว่าจะสะท้อนอย่างไม่เป็นทางการ แต่ทาง ผอ.ร.ร.บอกว่า ร.ร.เล็ก ขอทั้ง โรงเรียน (และหลังเลิกเรียนแล้ว)



หมายเลขบันทึก: 599971เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2016 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2016 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท