Organizational Culture 14: Being flexible and adaptive in thinking and approach


ขีดสุดของ Learning Organization ไม่ใช่หยุดอยู่แค่การมีองค์ความรู้เยอะ หรือการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยความรู้ที่มีอยู่ได้ แต่คือการไม่กลัวความไม่รู้

องค์กรที่มีความสามารถ และ/หรือ ต้องการมีรูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการ และอาจรวมไปถึงกลยุทธ์ จะกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยมีการบริหารความรู้ (Knowledge Management) เป็นแกนหลักที่จะผลักดัน คำถามคือ รู้แหละว่า LO หนะดี แต่ทำไมต้องทำ ทำไมไม่ Sale and profit แล้วก็ happy ending ทำ LO เพื่อให้ไปสู่สิ่งนี้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่หรือ คำตอบคือใช่แค่ครึ่งเดียว ที่สำคัญกว่าคือการทำให้มัน ใช่ ใช่ ใช่ ใช่อย่างนี้ไปเรื่อยเรื่อย ไม่ใช่แค่ใช่ไม่กี่ครั้ง กล่าวคือทำให้เป็น Long term win หรือ Sustainability ฉะนั้นแล้ว ขีดสุดของ LO ไม่ใช่หยุดอยู่แค่การมีองค์ความรู้เยอะ หรือการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยความรู้ที่มีอยู่ได้ แต่คือการไม่กลัวความไม่รู้ แต่จะมีกระบวนการที่อย่างไรที่ให้รู้ได้อย่างฉับพลัน (ตอบดังดังว่ามีครับท่าน) เราไม่อาจปฐิเสธความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้ ความไม่รู้จะเพิ่มขึ้นทุกวันในวันนี้แฝะอาจจะเพิ่มขึ้นทุกขณะจิตในอนาคตที่เทคโนโลยีไร้ขีดจำกัด อีกทั้งความรู้ที่รู้รู้กันอยู่ก็ผันผวนขึ้นทุกที

ใช้แล้วครับ LO คืออนาคตที่สดใส แต่ทุกอย่างย่อมมีข้อด้อย อย่ามัวแต่ Learn เพลินเพลิน จนลืมเป้าหมาย หมั่นทบทวน vision missionอะไรพวกนี้บ้าง (อาจจะปรับปรุง) และต้อง Learn แบบทั่วทั้งองค์กรจึงจะมีลุ้น

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 599799เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2016 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2016 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท