​แม้จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จก็ต้องมีธรรมาภิบาล


ผมอยากให้เป้าหมายของ คสช. ที่ประกาศตอนยึดอำนาจ ประสบความสำเร็จ ไม่อยากให้เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป ในเวลาข้างหน้าสิบปี ประวัติศาสตร์จารึกความล้มเหลว จากการสะดุดขาตนเอง คือสะดุดผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง รวมทั้งผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่ตอมผู้มีอำนาจ คือรากเหง้าของความผิดพลาด ที่ทางวิชาการเรียกว่า ขาดธรรมาภิบาล (Good Governance)

แม้จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จก็ต้องมีธรรมาภิบาล

กรณี สสส. ที่นายกรัฐมนตรีออกมากล่าวขอโทษ ว่าตนไม่ได้เป็นผู้ริเริ่ม ตาม ข่าวนี้ ประกอบกับนิตยสาร Boardroom ของ IOD ฉบับเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๙ ที่สื่อสารเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น และการมีบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นธรรมาภิบาลของบริษัท

ทำให้ผมนึกถึงธรรมาภิบาลของระบบการเมือง ซึ่งที่จริงคอร์รัปชั่นที่กัดกร่อนสังคมไทย อยู่ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่มีรากเหง้ามาจากฝ่ายการเมือง แต่ก็มีฝ่ายธุรกิจร่วมมือ และมีฝ่ายที่ใครมีอำนาจก็เข้าไปตอม เข้าร่วมขบวนด้วย

คอร์รัปชั่น อาจไม่ใช่การจ่ายและรับเงินโดยตรง แต่อาจเป็นการเอื้อประโยชน์เชิงนโยบาย และเรื่อง สสส. ก็น่าจะเป็นบทเรียนให้แก่ คสช. ได้ โดย คสช. น่าจะได้หยุดคิด ไตร่ตรองให้รอบคอบว่ากลุ่มที่เข้าไปตอม คสช. ในเรื่องนี้เป็นใครบ้าง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ข้อมูลที่เขาให้น่าเชื่อถือแค่ไหน และมีส่วน ยกระดับธรรมาภิบาลของ คสช. หรือบั่นทอน

ผมอยากให้เป้าหมายของ คสช. ที่ประกาศตอนยึดอำนาจ ประสบความสำเร็จ ไม่อยากให้เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป ในเวลาข้างหน้าสิบปี ประวัติศาสตร์จารึกความล้มเหลว จากการสะดุดขาตนเอง คือสะดุดผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง รวมทั้งผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่ตอมผู้มีอำนาจ คือรากเหง้าของความผิดพลาด ที่ทางวิชาการเรียกว่า ขาดธรรมาภิบาล (Good Governance)

ขาดข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เป็นสาเหตุหนึ่งของการขาด Good Governance เชิงนโยบายระดับประเทศ

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ม.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 599747เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2016 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2016 05:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท