เรียนรู้ประสบการ การพัฒนาชุมชนจากงานปฐมนิเทศรุ่นพี่พัฒนาชุมชน 16.4 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม


วิสาหกิจชุมชนหน่วยที่ 1 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนมหาสวัสดิ์

ม. 3 ต. มหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ. นครปฐม

รายชื่อสมาชิก

1. นาย พลวัต เขียวอ่อน

2 นาย พรเทพ สระสมทรัพย์

3. นางสาว พรรษมน ปัญญาจิราวุฒิ

4.นาย วิวัฒน์ แสงเกิดลาภ

5.นาย ณัฐภัทร ศิลาวุฒิ

6.นางสาว รวินรรณ เทศสมบูรณ์

7.นางสาว สิราวรรณ สวัวดิ์

8.นางสาว นวพร กุลชนะวิชิต

9.นางสาว นุชนาฎ จำปาเนียม

มันดีอย่างไร เป็นชุมชนที่มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน สามารถสอนให้เป็นผู้นำชุมชนที่ดีได้ เป็นชุมชนวิสาหกิจที่ดี ที่เลือกหน่วยงานนี้เพราะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปอบรมในชุมชนเยอะ มีการทำวิสาหะกรรมที่หลากหลาย

(ประวัติของหน่วยฝึกงาน)

โครงการที่ทำ คือ โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งคลองมหาสวัสดิ์

ชุมชนชาวน้ำบ้านศาลาดิน ต. มหาสวัสดิ์ อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม เป็นชุมชนดีมีสุข ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์การปลูกผักไร้สารพิษ ที่นอกจากจะทำรายได้แล้วยังถือว่าเป็นการกันตลิ่งการทำไร่นาส่วนผสมเป็นส่วนหนึ่งในหมู่บ้านOTOPถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ เช่น กล้วยตาก ไข่เค็ม ข้าวตัง และการทำนาบัว ในชุมชนเป็นจุดท่องเที่ยวทางการเกษตร มีผลไม้มากมายหลายชนิดและเป็นแปลงสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเราจึงเรียนรู้ที่จะเข้าใจธรรมชาติและใช้ทรัพยยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

(แผนที่รอบนอก ริมคลองมหาสวัสดิ์)

แต่ครั้งเมื่อสิบปีที่แล้ว คลองมหาสวัสดิ์มีแต่ผักตบชวาและวัชพืชเกิดปัญหาน้ำเสียจากหมู่บ้านจัดสรร ขยะชุมชน สารเคมีจากภาคเกษตรกรรมและการขยายตัวของชุมชน เนื่องจากชุมชนมีอาชีพหลักคือ ทำการเกษตรแม้ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของชุมชน ชุมชนถึงเริ่มรวมตัวขุดลอกผักตบชวาและวัชพืช โดยมรกิจกรรมรวมกันปีล่ะ 3 ครั้ง ปล่อยปลาดุกอุย เพื่อกำจัดหอยเชอรรี่รวมถึงการปลูกต้อไม้ริมฝรั่งคลองเพื่อลดปัญหาตลิ่งทรุด น้ำกัดเซาะ เพื่อลดปัญหาตลิ่งพังเป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทึกประเทศ ประเทศเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะบ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งนับวันจะลดปริมาณลงเรื่อยๆจนทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ซึ่งใช้คลองศรีสวัสดิ์เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธ์สัตว์อ่อน

ดังนั้นทางกลุ่มนักศึกษาจึงเห็นว่าการปลูกป่า ปลูกทองหลางชดเชยเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญตลอดจนเป็นการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชิติและความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับกลุ่มนักศึกษา

ตัวอย่างการทำผลิตภัณฑ์

1.กล้วยตาก

วิธีการทำ กล้วยตาก นำกล้วยที่สุดพอดีมาปลอกลอกเส้นใย แล้วนำไปตากแดด วันแรก 1 แดด พอตกเย็นเก็บใส่ภาชนะหมักให้น้ำหวานที่ออกจากกล้วยคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้ววันรุ่งขึ้นตากต่ออีก 2 วัน หรือจนแห้งแล้วเก็บนำเข้าตู่อบลมร้อนอีกครึ่งชั่วโมงแล้วบรรจุพร้อมจำหน่าย

2.ไข่เค็ม

วิธีการทำ ไข่เค็ม

1 .ดินสอพอง 1 กิโลกรัม 2. เกลือ ½ กิโลกรัม 3. น้ำ 350 กรัม 4 .สารส้ม 50 กรัม

5 .ไข่เป็ด 60 ฟอง

นำดินสอพอง เกลือ น้ำ ผสมให้เข้ากันทิ้งให้อิ่มตัว 12 ชั่วโมง แล้วนำไข่ลงชุบ ชุบคล้ายกล้วยแขกให้ทั่วฟอง เมื่อครบ 7 วัน เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดหรือป้องกันลมไม่ให้ดินสอพองแห้ง เมื่อครบ 7 วัน นำไปทอดเป็นไข่ดาวได้และสามารถเป็นไข่เค็มได้ ตั้งแต่เวลา 18 วัน แต่ห้ามเกิน 25 วัน ชอบเค็มน้อยก็ 18 – 20 วัน ชอบเค็มมาก 20 – 25 วัน เมื่อครอบกำหนดนำมาต้มจนสุกเหมือนไข่ทั่วไป ก่อนยกขึ้นให้นำสารส้มมาตำให้ละเอียดใส่ก่อนยกขึ้นเพื่อความสวยงามของไข่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นบรรจุพร้อมจำหน่าย

3.ข้าวตัง

ส่วนผสม แผ่นข้าวตัง

ข้าว 3,000 กรัม

น้ำมันพืช 3 ขวด

น้ำสะอาด 4000

วิธีทำแผ่นข้าวตัง

1.หุงข้าวให้สุก ตั้งทิ้งไว้ 20 นาที เพื่อให้ข้าวระอุ

2.นวดข้าวให้เนื้อข้าวเนียนเหนียวเข้าด้วยกัน

3.นำพลาสติกวางแล้วตักข้าวใส่พลาสติกปิดบนแล้วกดแผ่นให้บางๆ

4.แล้วใช้บล็อกตามแบบที่ต้องการ

5.นำไปตากแดดให้แห้ง จะได้ข้าวตังแผ่น นำไปทอดในน้ำมันพอเหลืองตักขึ้นพักไว้

ส่วนผสมน้ำปรุงทาหน้าข้าวตัง

รากผักชี 500กรัม กระเทียม 100 กรัม

พริกไทยป่น 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 500 กรัม

น้ำตาลปี๊บ 500 กรัม น้ำพริกเผา 100 กรัม

น้ำสะอาด 2 ถ้วย เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุงหน้าข้าวตังและข้าวตังสำเร็จรูป

  • โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทย ให้ละเอียด
  • ผสมน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ พริกเผา น้ำสะอาดและเกลือเข้าด้วยกัน เคี้ยวให้เหนียวแล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
  • นำน้ำปรุงทาแผ่นข้าวตังที่ทอดแล้วให้ทั่ว แล้วตกแต่งหน้าให้สวยงาม นำเข้าตบอบอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 ชั่วโมง
  • นำออกจากเตาอบทิ้งไว้ให้เย็น บรรจุในภาชนะที่สะอาดปิดผนึกไม่ให้อากาศเข้าเก็บไว้รับประทานได้นาน
  • (ตัวอย่างการทำผลิตภัฒน์)
  • จากการฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพได้อะไร -ได้เรียนรู้วิธีการทำไข่เค็ม -ได้เรียนรู้วิธีการทำข้าวตัง -ได้เรียนรู้การวางแผนในการพัฒนาชุมชน -รู้จักการรวมกลุ่มในการเรียนรู้ -เอาความรู้ที่ได้มาพัฒนาต่อไปอีก
  • (พี่ๆกำลังบอกว่าจากการฝึกงานได้ประสบการณ์อะไรบ้าง)
  • อุดมการณ์ในการเรียนพัฒนาชุมชนและจบไปเป็นนักพัฒนาชุมชน
  • “การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ให้ก้าวหน้าไปกว่าเดิม เพื่อเอาไปพัฒนาชุมชนที่บ้านเรา”


หมายเลขบันทึก: 599740เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2016 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2016 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท