การแจกวิภัตติกริยา


เราอาจจะละประธานหรือกริยา เป็น อยู่ คือ ได้ในภาษาบาลีเพราะภาษาบาลีมีการแจกวิภัตติกำกับความหมายไว้แล้ว

การแจกวิภัตติกริยา

ตำราเรียนภาษาบาลีทั่วไป มักจะเริ่มต้นด้วยชนิดของคำ แล้วอธิบายการใช้คำแต่ละประเภท ซึ่งมีรายละเอียดยืดยาวมาก เนื่องจากภาษาบาลีมีการเติมปัจจัยและแจกวิภัตติ ไม่ใช่เอาคำมาต่อกันได้เลยเหมือนภาษาไทย ถ้าเราจะอธิบายตามลำดับอย่างนั้น ต้องอ่านต่อเนื่องหลายตอน จึงจะเห็นรูปประโยค อาจจะนานเป็นปี (เพราะกว่าจะเขียนแต่ละตอน ใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์)

ฉะนั้นหลักสูตรเรียนลัดน่าจะเหมาะสมกว่า โดยเรียนจากประโยคที่เราได้ยินคุ้นหูกันก่อน เช่น

วิสาสา ปรมา ญาติ แปลว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง

ประโยคนี้ละคำกริยา โหติ เช่นเดียวกับประโยคที่ชาวพุทธคุ้นเคย คือ นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ซึ่งแปลว่า ความนอบน้อมย่อมมีแด่พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า การละคำกริยาที่แปลว่า เป็น อยู่ คือ นี้เป็นเรื่องปรกติในภาษาบาลี

สำหรับประโยคที่มีกริยา บางทีก็ละประธานได้ เนื่องจากคำกริยาภาษาบาลีมีการเติมปัจจัยและแจกวิภัตติ ตามเพศและพจน์ของประธาน นอกจากนี้วิภัตติยังบ่งบอกถึงเวลาว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต และบอกด้วยว่าประธานของกริยาเป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ

ประโยค พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมิ แปลว่า ข้าพเจ้าย่อมอภิวาทพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

ถ้าเราพูดพร้อมกันหลายๆ คนต้องพูดว่า พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมะ พวกเราย่อมอภิวาทพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

คำว่า พุทธะ บางทีแปลว่า พระพุทธเจ้า บางทีแปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มาจากรากศัพท์ว่า พุธฺ แปลว่า ตรัสรู้

พระพุทธเจ้าทรงใช้คำแทนพระองค์เองว่าตถาคต และทรงเรียกคำสอนหรือระเบียบชีวิตแบบที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ว่า พรหมจรรย์และทรงใช้คำว่า ธรรมวินัย ในความหมายว่าสังคมสงฆ์ คำว่า พระพุทธเจ้า พุทธศาสนา และสังคมสงฆ์ เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลัง

สำหรับคำกริยา อภิวาท เมื่อแจกวิภัติตามประธานบุรุษที่ ๒ และ บุรุษที่ ๓ จะมีรูปศัพท์ดังนี้


ที่เราต้องใช้คำว่า ย่อม เติมหน้าคำกริยา เพื่อแสดงว่าเป็นปัจจุบันกาล

ประโยค พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมิ แปลว่า ข้าพเจ้าย่อมอภิวาทพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

จะเห็นว่าเราละประธานไว้ สาเหตุที่ละประธานได้ เพราะคำกริยาบอกอยู่แล้วว่าใครเป็นประธาน

อภิวาเทมิ แสดงว่า ข้าพเจ้าเป็นประธาน

ถ้าใช้คำว่า อภิวาเทมะ แสดงว่า พวกเรา เป็นประธานของประโยค

บทสรุปสำหรับฉบับนี้คือ เราอาจจะละประธานหรือกริยา เป็น อยู่ คือ ได้ในภาษาบาลี เพราะภาษาบาลีมีการแจกวิภัติกำกับความหมายไว้แล้ว

หมายเลขบันทึก: 599431เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2016 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2016 09:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท