ประวัติภาษาบาลี


เดิมคำว่า "บาลี" ไม่ใช่ชื่อของภาษา แต่หมายถึงภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของศาสนาพุทธและศาสนาเชน

Text Box: ภาษาบาลีเป็นภาษาถิ่นของอินเดีย ประเทศอินเดียมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล จึงมีภาษาถิ่นมากมาย บางข้อมูลระบุว่ามีมากกว่าหนึ่งพันภาษา แต่เว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ บอกว่ามี ๔๑๘ ภาษา เป็นภาษาราชการ ๒๒ ภาษา (http://sameaf.mfa.go.th/th/country/south-asia/tips_detail.php?ID=2162) 
เดิมคำว่า "บาลี" ไม่ใช่ชื่อของภาษา แต่หมายถึงภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของศาสนาพุทธและศาสนาเชน ผู้ที่นับถือพุทธศาสนาส่วนใหญ่เชื่อว่า บาลีคือภาษาของชาวมคธ ซึ่งอยู่ทางใต้ของแคว้นพิหารปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธนานกว่าที่อื่น คงจะทรงใช้ภาษามคธในการเผยแพร่พุทธศาสนา ภาษาของชาวมคธชื่อว่า มาคธี (Māgadhī) (http://staff.buu.ac.th/~subhrang/208321/phist.htm)
ภาษาบาลีไม่มีภาษาเขียน ประชาชนที่นับถือพระพุทธศาสนาและรับภาษาบาลีมาใช้ด้วย ก็จะใช้อักษรของตนเขียนภาษาบาลี คนอินเดียใช้อักษรเทวนาครี คนจีนใช้อักษรจีน คนไทยใช้อักษรไทย การออกเสียงจึงไม่เป็นรอยเดียวกันนัก แต่ก็พอคาดเดาได้บ้าง สำหรับคำที่คุ้นเคย
พระไตรปิฎกเล่ม ๗ ข้อ ๑๘๐ กล่าวถึงพระภิกษุ ๒ รูปเห็นว่าพระภิกษุทั้งหลายมาจากเชื้อชาติและตระกูลต่างๆ กัน กล่าวพระพุทธพจน์ด้วยภาษาของตน อาจจะทำให้พระพุทธพจน์เพี้ยนไปได้ จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าขอใช้ภาษาสันสกฤตกล่าวพระพุทธพจน์ พระพุทธเจ้าทรงไม่อนุญาต และทรงตราพระวินัยว่าพระภิกษุผู้ใดกล่าวพระพุทธพจน์ด้วยภาษาสันสกฤต ต้องอาบัติทุกกฏ (เป็นความผิดเล็กน้อย) ทรงอนุญาตให้พระภิกษุกล่าวพระพุทธพจน์ด้วยภาษาของตน
คำว่าภาษาของตน ก็คือภาษาถิ่น พูดง่ายๆ ก็คือไปเผยแพร่พระศาสนาที่ไหน ก็ใช้ภาษาถิ่นนั้น คนในท้องถิ่นจะได้เข้าใจ

หมายเลขบันทึก: 599430เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2016 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2016 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท