ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก)


กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

2.เพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

โดยได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้วดังนี้

การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาของกลุ่มจังหวัดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งตะวันตก ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ณ ศาลากลางจังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬากลุ่มจังหวัดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ ได้แก่ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี ณ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558

การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ตัวแทนผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาของกลุ่มจังหวัดเขตการพัฒนาการท่องเที่ยวมรดกโลกด้านวัฒนธรรม ได้แก่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร ณ ศาลากลางจังหวัดตาก เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558

ในวันที่ 13-15 มกราคม 2559 จะมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก) ณ ห้องประชุมรังสรรค์ ชั้น 1 โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง

หมายเลขบันทึก: 599365เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2016 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2016 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 13 ม.ค. 59

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288051877886932

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 13 ม.ค. 59 ต่อ

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288102294548557

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

13 มกราคม 2559

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เทคนิคการสร้างเครือข่าย (Networking) ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันนี้ ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสมาร์ทโฟน

วันนี้ อยากจะรู้จักใคร หรือหาข้อมูลอะไร เช่น อยากรู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหนในระนองก็ไม่ยาก เพราะทุกอย่างอยู่ในโทรศัพท์มือถือ บอกตำแหน่งที่อยู่ในเวลาปัจจุบัน

เมื่อคืนก่อนนอน บอกราตรีสวัสดิ์ โทรศัพท์ แล้วสั่งสิรีให้ปลุกตอน 6.00 น.

บอกให้โทรศัพท์พากลับได้ บอกสิรี

บอกสิรีหิวแล้ว ทำอย่างไร สิรีก็บอกชื่อร้านในละแวกใกล้เคียง

คนเราสามารถพูดคุยกับโทรศัพท์มือถือก็ได้

สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือสามารถจะเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ แค่ป้อนคำถามลงใน Google ก็จะได้คำตอบ

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่พูดไทยไม่ได้มาเที่ยวไทยจะทำอย่างไร

คนไทยที่ต้องการพูดภาษาต่างประเทศ ก็ต้องพิมพ์ประโยคภาษาไทยลง Google Translate แล้วกดเปิดเสียงลำโพง ทำให้สื่อสารได้

ในปัจจุบัน สามารถพิมพ์หนังสือ โดยวิธีเปิดโปรแกรมคล้ายหน้ากระดาษเปล่า

กดเลือก File ตามด้วย Language เช่นพิมพ์ภาษาไทย

เลือกพิมพ์ด้วยไมโครโฟน แล้วพูด ก็จะเกิดตัวอักษรขึ้น

ตอนนี้เทคโนโลยีอยู่ในมือ

สังคมการเรียนรู้ในวันนี้เปลี่ยนไป

จากกรณีศึกษาเจน ฮอร์โมน โต้แย้งครูสอนภาษาอังกฤษที่แปลผิดโดยอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต

Google ตอบได้ทุกเรื่อง

หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไปหมดเลย

เราจะสร้างเครือข่ายในห้องนี้ ใช้โทรศัพท์มือถือคุยกับผม ผมสามารถทำสถิติว่าใครตอบอะไรกี่คน

อยากจะคุยกันก็ใช้ Face time, skype, Line Call

ทำให้โต้ตอบในลักษณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว

การเล่นเกมก็ทำได้ง่าย โดยพิธีกรส่งคำถามเข้ามือถือทุกคน โดยสร้างเครือข่าย

ผู้จะร่วมเล่นเกมต้องพิมพ์ kahoot.it เพื่อค้นหา ID

บนมือถือขึ้น Game Pin ก็ใส่ตัวเลขที่เห็นหลัง Game Pin

แล้วกด Enter แล้วใส่ชื่อเรา

พิธีกรกด start เพื่อส่งคำถาม

กดดูได้ว่าใครตอบถูกและเร็วที่สุด โดยกด Next

วันนี้ทำให้เห็นว่าสมาร์ทโฟนทำอะไรได้บ้าง ทุกคนมีมือถือทำได้เร็ว

วันนี้มีคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปเร็ว โดยเฉพาะคนอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็น Digital Native เกิดมาพร้อมดิจิตอลสามารถใช้ดิจิตอลเป็นเองโดยไม่ต้องเรียน

ตอนนี้เป็นสมาร์ททีวี เด็กติดตั้งทีวีได้ง่าย แต่ผู้ใหญ่ติดตั้งไม่เป็น

พวกเกิดก่อนดิจิตอลแต่จำเป็นต้องใช้ดิจิตอลคือ Digital Immigrant พวกนี้จะมีปัญหาในการใช้ดิจิตอล

ทุกสิ่งรวดเร็ว ตัวดิจิตอลทำทุกอย่างได้เร็ว ต้องเข้าใจพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่สามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ (Pararelism) เล่นไลน์ เชื่อมโยงกัน มีจินตนาการ อดทนรอไม่ได้ ทำอะไรได้แค่ระยะเวลาสั้นๆ คนรุ่นใหม่ไม่จดจำอะไร แต่ฝากกับคลาวด์

เราต้องสื่อสารให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

คนรุ่นใหม่เข้าสู่สังคมการเชื่อมโยง หรือ network society

คนรุ่นใหม่แบกเป้ไปเที่ยวโดยไปลุยเอาดาบหน้า ต้องอยู่กับมือถือและมีการโต้ตอบตลอดเวลา (Responsive)

BNB มีอยู่ทั่วโลก นักท่องเที่ยวสามารถเข้า bnb หาที่พักโฮมสเตย์ในระนองได้

เจ้าของโฮมสเตย์สามารถมาเชื่อมโยงเป็น network

ไอทีทำให้สินค้าเราสามารถมองเห็นได้

เทคโนโลยีทำอะไรได้มากกว่าที่คาดคิด

ตอนนี้กำลังจะก้าวสู่ 5G

ปี 2020 เทคโนโลยีจะเปลี่ยนใหม่หมด

เราสามารถดูทีวีทั้งโลกได้ ทีวีกำลังจะเจ๊ง

เรากำลังถูกภัยคุกคามรุนแรง

บ้านเรากำลังจะเข้าสู่ดิจิตอลเต็มรูปแบบ

วันนี้ มีเทคนิคการทำ visibility ทำคนอื่นเห็นธุรกิจเราได้หมด

เวลาที่ไปน้ำตกเอราวัณ มีการทำสินค้าหัตถกรรม เดิมจะซื้อได้ต้องมีคนมาซื้อ

วันนี้ไปรษณีย์ไทยเปิดถึง 2 ทุ่ม คนนำของมาส่ง สิ่งที่เป็นฐานดิจิตอลมี 3 เรื่อง

1. ข้อมูลมาก

2. ข้อมูลลอยไปอยู่เป็น cloud data

เวลาทำธุรกิจ สินค้าเราต้องปรากฏใน cloud ให้คนเห็น

3. ของทุกอย่างจะไปเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ต

ทั้งสามสิ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาทำธุรกิจในอนาคต

ในชีวิตจริง ชีวิตคนก็จะสมาร์ทขึ้น

เว็บไซต์เป็นเบสิค ต้องเรียกดูและโต้ตอบได้บนมือถือเพียงแค่ใช้นิ้วโป้งนิ้วเดียว เว็บททท.ใช้บนมือถือได้

เว็บไซต์ต้องเรียบง่ายและใช้บนมือถือได้

วันนี้การอ่านการเขียนของคนเปลี่ยนไป เป็นแบบดิจิตอล สื่อเปลี่ยนตัวเป็น social เพราะเชื่อมกันโดยเทคโนโลยี

การให้บริการทุกอย่างต้องผ่านออนไลน์

เว็บขายของที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Lazada ของสิงคโปร์ อาลีบาบา ของจีน

ต้องทำความเข้าใจสื่อ การตลาดอยู่บนสื่อรูปแบบใหม่

สื่อเปลี่ยนตัวเองอย่างไร

EU ทำโปรแกรมศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจใน EU

เป็นการเปลี่ยนแปลงผ่านรูปแบบอุตสาหกรรมอยู่แล้ว เปลี่ยนหลังจากเกิด Facebook

สื่อเปลี่ยนแปลงให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเขียนข่าว เช่น fail.in.th

แนวโน้มสื่อ

เดิมมีนักข่าวเก็บข่าวมา ตอนนี้นำข่าวมาจาก social media

สื่อสมัยนี้อาศัยคนทั้งโลกช่วยกันเขียน เขาเป็นผู้บริโภคแล้วเราโต้ตอบกับเขาได้ คนเป็นทั้งผู้บริโภคและนักข่าวในตัว

ผู้บริโภคต้องคัดกรองข้อมูลเองก่อนจะเชื่อ ต่างจากเมื่อก่อน

เวลาหาสินค้าใน Google จะมี Ad ซ้ายมือบนสุด เป็นรายได้ที่เก็บเป็น pay per click

ทำอย่างไรให้คนเห็นสินค้ามากขึ้น ทำให้ปรากฏในหน้า Google ในอันดับแรกๆแบบไม่ต้องเสียค่าโฆษณา

วิธีการคือใส่รูปภาพสวยเมื่อดูในโทรศัพท์มือถือ

ธุรกิจต้องปรากฏใน Facebook, YouTube, Twitter (ให้คนมาติดตามข่าว), Foursquare (แผนที่ ที่ตั้ง)ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยใช้มาก

สื่อเหล่านี้เน้นการตลาดโดยตรง

กระบวนการจัดการกับสื่อเราเอง

คนรับรู้จากข่าวสารได้จาก blog, movie site, Google, music site, game site, social network sites, sport sites

ต้องพยายามมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็น viral ปากต่อปาก ถ้าเป็นสิ่งไม่ดีเกิดกับเราจะแก้ปัญหาอย่างไร

สื่อสังคมออนไลน์มีด้านลบซ้อนอยู่ด้วย เช่นโฆษณาครีมผิวขาวที่โฆษณาเหยียดสีผิว

ต้องเปลี่ยนเป็นด้านบวกให้เร็ว ถ้ามีปัญหา เคลียร์หลังไมค์ที่ Pantip.com

ธุรกิจต้องการตัวกลาง

ตอนนี้มี SMEs มาก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้

Alibaba เป็น Website ของจีนที่ขายของทุกอย่างถึงบ้านเลย

ทำไม Lazada ที่เดียวมีทุกอย่าง

คนรุ่นใหม่ เวลาซื้อของก็ผ่าน Lazada สั่งที่นี่แต่ไปรับของที่เซเว่น คืนของที่เซเว่น

ปกติ มีคน 3 กลุ่ม

  • ผู้ซื้อ
  • ผู้ให้บริการ เช่น Lazada
  • ผู้ผลิต

Amazon.com มีรายได้มากกว่าร้านหนังสือบาร์แอนด์โนเบล

กลุ่มที่ขายโดยใช้สื่อออนไลน์โตมากกว่าการขายที่หน้าร้าน

ควรรวมกลุ่มนำเสนอธุรกิจเราให้คนเห็น

ธุรกิจต้องมองเห็นว่าคนเปลี่ยนเป็นอย่างไร สมัยนี้คนอ่านไม่เต็มเล่น แต่จะอ่านบางส่วน จ่ายน้อยลง ธุรกิจต้องจับพฤติกรรมของคนในจุดนี้

ทำไมแกรมมี่เปลี่ยน

Official แสดงว่าเป็นเพลงของแท้ของแกรมมี่

แกรมมี่จึงนำศิลปินไปออกงานจัดคอนเสิร์ต ขายตั๋วคอนเสิร์ตใหญ่

นี่เป็นการสร้าง Moment of Truth ทำอย่างไรให้คนอยากซื้อสินค้า

สื่อดิจิตอลสร้าง Moment of Truth ได้ ทำให้คนเห็น

กรณีศึกษาของ SMEs

เป็นธุรกิจเล็กแต่คิดแบบใหม่ คือ เดิมเป็นธุรกิจรับอาบน้ำ ตัดขนให้หมา เขานำเสนอว่าเปิดสอนการอาบน้ำและตัดขนหมาผูกกับธุรกิจท่องเที่ยวผ่านดิจิตอล ประสบความสำเร็จเป็นธุรกิจใหญ่

ทุกคนควรเข้าใจการใช้สื่อ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับงานของเราด้วย

ธุรกิจเล็กควรเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่มจะใหญ่ขึ้นแล้วคนอื่นมองเห็นง่ายขึ้นแล้วจะทำให้มีโอกาสมากขึ้น

คำถาม

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

ขอให้อธิบายปัญหาเรื่องจริยธรรม

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

เวลาใช้สื่อควรมีจริยธรรม อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน

จะมีกฎหมายความเป็นส่วนตัว ในอนาคตถ้ามีรูปคนอื่นติดมาในรูป ก็โพสต์ไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาต

ต้องคิดให้ดีก่อนให้ข่าว

ตอนนี้เรามีเสรีภาพมาก แต่ก็มีเรื่องที่ก้ำกึ่งระหว่างถูกกับผิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในระดับชุมชน มีตัวอย่างไหมว่ามีการใช้ดิจิตอลดึงดูดลูกค้าเข้ามา

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

ปลาทู.com ขายปลาทูสมุทรสงคราม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Market.com ขายปูนึ่งปีละ 200 ล้านบาท

โลกยุคต่อไปจะเป็นดิจิตอล

โฮมสเตย์ต้องทำแบบมีเครือข่าย เพราะคนเดินทางท่องเที่ยวเป็น Route ต้องขยายความสำเร็จไปสู่จุดอื่นๆ

คนที่ 1 อาจารย์อำนาจ เป็นเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนชุมพร

เป็นข้อมูลสำคัญกับเรา ยุคดิจิตอลสำคัญกับชุมชน แต่ขุมขนถนัดทำในพื้นที่ คนที่สนใจก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เชี่ยวชาญ

ถ้าให้เชื่อมโยงท่องเที่ยวชุมชนกับเทคโนโลยี เสนอเส้นทางสร้างประโยชน์สูงสุดร่วมกันระหว่างคนทำดิจิตอลกับชาวบ้าน เราต้องทำทั้งรุกและรับ คนพบคน ปฏิบัติการร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

เราทำผ่าน Facebook และ Line เป็นกลุ่ม Facebook และ Line

เสนอว่า อยากจะทำเป็นเว็บท่องเที่ยวชุมชน ทุกแหล่งท่องเที่ยวจะถูกผูกโยง เราจะนำเสนอเอกลักษณ์ชุมชนเสนอผ่านยูทูป

เราอยากมี QR Code แต่ไม่ทราบว่าใช้กับแหล่งท่องเที่ยวได้ไหม

อยากให้มีเวทีช่วยให้เราทำให้เป็น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าเราจะเป็น Global Standard ก็ควรจะต้องใช้ดิจิตอล

ต้องปรับเส้นทางเดินให้ไม่เร็วหรือช้าไป

ปีต่อไปจะมาคลัสเตอร์เดิมแต่เข้มข้นขึ้น ต้องลงทุนอย่างบ้าคลั่ง

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

เราต้องมองของดีในชุมชนให้ชัด จะได้นำเสนอได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่เราจะนำเสนอให้มองเห็นได้ Visibility เขาเปลี่ยนวิธีในการมองเห็น ก็ไปหาใน Google

ต้องทำให้มี Momentum ให้คนกล่าวถึง

กลไกจะทำให้เห็นได้อย่างไร

ทุกอย่างต้องอาศัยประสบการณ์ ทำแล้วต้องตั้งใจทำให้ดี

คนที่ 2 สุดาพร ยอดพินิจ ประธานหอการค้าระนอง

ขอขอบคุณที่จัดการประชุม

เป็นประโยชน์มาก

เทคโนโลยีอยู่ที่คนจริงๆ

เป็นประธานหอ 10 ปีที่แล้ว และในปัจจุบันนี้

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทำงานแล้วคนไม่รู้ข่าว

ตอนนี้มี Facebook, Line ส่งข่าวสาร

ถ้านำไอทีเข้าไปทำให้คนมีคนเห็น ก็จะมีคนซื้อมากขึ้น

หอการค้าก็ยังมองว่าเป็นปัญหา คือมีของดีแต่ไม่รู้จะขายที่ไหน หากมีปัญหาก็มาติดต่อหอการจ้าจะได้กระจายข่าวให้

ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่เก่งไอทีมาช่วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้ทุกกลุ่มสรุปว่า ได้บทเรียนอะไรจากอาจารย์ยืนแล้วจะนำไปทำโครงการการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างไร

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

13 มกราคม 2559

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และชี้แจงการแบ่งกลุ่ม Workshop

การบรรยายเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ และภาวะผู้นำด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่อาเซียน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนมีคุณภาพ

ควรนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเน้นเรื่องภาวะผู้นำกับทุนมนุษย์

จะมี workshop ด้วย

จะต้องวางแผนการท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม นำความรู้ดิจิตอล ทุนมนุษย์ การตลาด ความคิดสร้างสรรค์มาหารือกัน ปรึกษาโค้ชเพื่อนำเสนอโครงการ

อาจารย์แม่โจ้เห็นประโยชน์เรื่องไอที ก็ควรเสนอโครงการอย่างต่อเนื่อง

โครงการนี้มี 4 ตัวละคร

รัฐบาลไทยได้เข้าอาเซียนแล้ว ท่องเที่ยวและกีฬาเป็นยุทธวิธี พร้อมไหมในการเข้าสู่อาเซียน ได้หรือเสีย โครงการที่เสนอต้องกระเด้งไปยังลูกค้าที่มีความร่วมมือกับอาเซียน คุณแสงจันทร์ได้ลงไปถึงชุมชน ได้นำ 4 ตัวละครมาร่วมเป็น Value Diversity ความหลากหลายรวมกันเป็นพลังสำคัญ ชุมชนมีอุปสรรคคือมาตรฐาน แต่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์ ควรจะทำให้ไปสู่ระดับโลก ควรใช้ไอที คนควรมีจริยธรรม ไม่เอาเปรียบคนอื่น คนในห้องนี้ต้องได้รับการยอมรับจากคนข้างนอกเป็นผู้นำ ต้องมีภาวะผู้นำด้วย

ควรจะสร้างเครือข่าย ไว้ใจกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี แบ่งผลประโยชน์กันอย่างยุติธรรม

ต้องสร้างพลังร่วมกัน มุ่งผลลัพธ์

3V

คิดใหม่ คิดนอกกรอบ ถ้าไม่มีก็ขอคนอื่นมาช่วย 4 ตัวละครควรปรึกษากัน

หลักสูตรนี้ทำมาแล้ว 4 ปี

ได้ทำงานระดับอาเซียนแล้ว

จะไปที่บุรีรัมย์ และตากด้วย

จะหารือจัดโครงการไอที

3 ต ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

วันนี้มีความเชื่อมโยงดี

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อาจารย์เน้น 5 ยุทธศาสตร์หลัก

ถ้าทำให้ประสบความสำเร็จ เรื่องท่องเที่ยว มี Hardwareคือสถานที่ แต่ software คือคน

เครือข่ายสร้างไม่ยากแต่ยากตรงทำให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน

อาจารย์เน้นสร้างภาวะผู้นำ

เน้นไอที

เน้นการตลาด

อาจารย์ยืนบอกว่าของยังไม่ดีอย่าเพิ่งนำเสนอ เพราะไอทีมีบวกและลบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครั้งที่แล้วได้ทำโครงการอาเซียนระดับเยาวชนและแม่น้ำโขง

ปลายปีจะทำที่ภาคใต้เชิญอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ผู้เข้าร่วมประชุมรุ่นนี้อาจคัดเลือกตัวแทนมาร่วม อาจจะต้องฝึกความสามารถถ่ายทอดคุยกับประเทศเหล่านี้

เราใช้ไอทีเชื่อมอาเซียนแล้ว

อยากให้ย้อนไปว่า 3 ปีทำอะไร

ควรอ่านสิ่งที่ได้นำเสนอในคลัสเตอร์อื่นๆ

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีมูลค่าเพิ่มมหาศาล

ควรเน้นความต่อเนื่อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ 3V

ทุกเรื่องต้องเกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริง

เลือกประเด็นที่สำคัญที่สุด จัดอันดับความสำคัญ

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

Learning how to learn

กระบวนการอาจารย์จีระดี เริ่มจากปูพื้นฐาน เรื่องทุนมนุษย์ ภาวะผู้นำ ไอทีสู่อาเซียน

เปิดอาเซียน ซื้อง่ายขายคล่อง แล้วเราต้องแข่งกับเขาได้ ต้องมีการตลาดยุคใหม่

กระบวนการอีกขั้นคือทำ workshop ให้เกิดโครงการร่วมกัน มีตัวละคร 4 กลุ่ม

ท่องเที่ยวเชิงกีฬาหลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไม่ได้ ต้องคิดให้แหลมคม มีเป้าหมาย

Learn share care เรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์กันและเอาใจใส่กัน

เราต้องทดลองทำกันจริง ทำกันวันนี้เพื่อทำต่อกันวันหน้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบ้าน

กลุ่ม 1 เสนอโครงการท่องเที่ยวที่มีโอกาสไปเน้นที่ 3V

กลุ่ม 2 ทุนทางจริยธรรม และทุนทางปัญญาจะช่วยให้โครงการสำเร็จหรือไม่

กลุ่ม 3 ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 4 ถ้าจะไปมาตรฐานโลกด้านสุขภาพ จะต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับคน ถ้าเข้าใจว่าคนสำคัญมากสุด ก็จะทำให้การท่องเที่ยวและกีฬาสำเร็จ

มนุษย์อยู่ที่ศักยภาพของคนที่ซ่อนอยู่ข้างใน

ต้องปลูกและเก็บเกี่ยว ดึงเอาความเป็นเลิศของคนออกมา

สิ่งสำคัญต้องถามคำถามมากไม่ใช่ลอกเลียนมาก คือต้องกระหายการเรียนรู้ ใฝ่รู้ คนในชุมชนทำจริงและต้องใฝ่รู้

หลักการบริหารของดร.จีระคือ พัฒนา กระตุ้นให้เป็นเลิศแล้วทำให้สำเร็จ

เรื่องคนต้องทำ 3 เรื่อง

1.ปรับทัศนคติ

2. ทำงานแบบมืออาชีพ มีมาตรฐานที่สามารถเปรียบเทียบกับที่อื่น

3. ความเป็นสากล

4. สิ่งสำคัญสุดคือมีทุนทางจริยธรรม ทำด้วยความโปร่งใสไม่ใช่แค่ไม่โกง

เราต้องนำเสนอความจริงต่อนักท่องเที่ยว

คุณธรรมคือความดี จริยธรรมคือพฤติกรรมดูแลความดี

ทุนทางปัญญา คือ คิดวิเคราะห์อนาคต แก้ปัญหา

ทุนทางไอที อาจารย์จีระเขียนก่อนอาจารย์ยืนกล่าวถึง

หลังจากได้ 8 แล้วก็ต้องไป 5

Creativity คือ Value Creation ต้องมีเครือข่ายแนวร่วม ทำเป็น route ออกมา

มีนวัตกรรม ทำสิ่งใหม่ ทำให้เป็น action ทำให้เกิดมูลค่า ต้องรู้ว่าลูกค้าคือใคร ควรมีลูกค้าที่มีระดับมาอยู่ด้วย นอกเหนือจาก backpackers ต้องทำให้ชุมชนก้าวไปสู่มาตรฐานโลก มีห้องน้ำ ความสะดวกสบาย

ความคิดนี้มาจากผู้นำท่องเที่ยวชุมชนกระบี่

ชุมชนมีความเป็นเลิศ ภายใน 5 ปีต้องมีรายได้เพิ่มเดือนละ 30,000 บาท เงินขึ้นกับความพอใจของคนที่จ่าย

ทุนทางวัฒนธรรม ในที่นี้คือวัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชน

ถ้าเราเข้าอาเซียน ชุมชนก็ต้องได้ประโยชน์ด้วยเพราะเป็นคนที่สำคัญที่สุดของประเทศด้วย แต่ชุมชนต้องใฝ่รู้

เรื่องภาวะผู้นำ

ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง แต่ต้องเน้นคน ศรัทธา มองระยะยาว ถามคำถามเพราะอะไร เน้นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง

การเข้าสู่อาเซียนเป็นการกระตุ้นให้เป็นเลิศจึงถือเป็นความเปลี่ยนแปลง

ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณทำงานเป็นทีม

ผู้นำต้องปล่อยวาง เปิดโอกาสให้ผู้อื่น

ผู้นำต้องฟังความเห็นลูกน้อง

ผู้นำต้องให้เกียรติลูกน้อง

ผู้นำต้องมีเมตตา

เปลี่ยนผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นเครือข่าย

กฎผู้นำดร.จีระ

แก้วิกฤติ

คาดการณ์

กระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศด้วย ยุคต่อไปผู้นำคือผู้รับใช้ ต้องสนับสนุนคนอื่น

ผู้นำต้องลดความขัดแย้ง

ผู้นำต้องสร้างโอกาสและปัญญา

กฎ 9 ข้อ Chira Change Theory

ผู้นำต้องไม่ขาดความมั่นใจ กล้าและมุ่งมั่นทำ

ผู้นำต้องเข้าใจอนาคต ซึ่งเร็ว ไม่แน่นอน ทายไม่ได้

ผู้นำต้องมีความใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้นำต้องมีความคิดสร้างสรรค์สำหรับแก้ปัญหา

ผู้นำต้องมีเครือข่าย

ผู้นำต้องรู้จักชนะเล็กๆ รู้ให้จริง

ผู้นำต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง

ผู้นำต้องกระจายผลประโยชน์ไปให้ทุกกลุ่ม

ผู้นำต้องทำงานเป็นทีมที่มีความหลากหลาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อาจารย์จีระมีทฤษฎี

การเปลี่ยนแปลงตอนนี้คือการเข้าไปอยู่อาเซียนแล้ว

ต้องพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยง

ต้องปลูกดูแลคนโดยให้ความรู้ แล้วต้องเก็บเกี่ยวคือกระตุ้นให้เกิดความเป็นเลิศโดยใช้ workshop

ทำโครงการให้เกิดผลสำเร็จ

โครงการต้องเน้นคิดใหม่ เกิดได้จริง และเพิ่มมูลค่าได้ด้วยแบบ 3 V

Value Added

Value Creation ความคิดสร้างสรรค์

Value Diversity มาจากความหลากหลาย ภาวะผู้นำจะรวบรวมและทำให้เกิดขึ้นมาได้

ผู้นำต้องทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม

คนมั่นใจต้องรู้จริง

ต้องมองอนาคต เช่นคุณจินตนามองอนาคตส้มจี๊ดแล้ว มองถ้ำใหม่ๆให้คนมาเที่ยว

ถ้าใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย ก็ควรจะเกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้น

ชนะเล็กๆก็นำไปสู่ความสำเร็จขั้นต่อไป

ถ้ามีจริยธรรม ก็แบ่งประโยชน์ทั่วถึง

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

13 มกราคม 2559

การอภิปรายเรื่องท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน

กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน

โดย นายแพทย์ชัยพร สุชาติสุนทร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง

ระนองเด่นชัดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีการนำทรัพยากรการท่องเที่ยวมาใช้ทางสุขภาพ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับจังหวัด

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของสาธารณสุข แบ่งเป็น 2 แบบ

1.ส่งเสริมสุขภาพ แบ่งเวลาท่องเที่ยวมาทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เที่ยว นวดอบสมุนไพร Aroma Therapy

ระนองเน้นแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เช่นนวดสมุนไพร ใช้น้ำแร่

2.บำบัดรักษาสุขภาพ มีแนวโน้มโตขึ้น ไทยต้นทุนด้านนี้ดี หมออัธยาศัยดี ค่าบำบัดไม่แพง สถานที่เที่ยวสวยงาม เวลาต่างชาติมาไทย ก็สามารถได้รับบริการที่รวดเร็ว ภาคเอกชนใช้การท่องเที่ยวแบบนี้มากขึ้น

มีการตรวจร่างกาย รักษาสุขภาพฟัน พบในโรงพยาบาลเอกชน

จังหวัดระนอง มีสถานประกอบการด้านสุขภาพ

มีโรงพยาบาลระนองและโรงพยาบาลทุกอำเภอ

สถานประกอบการด้านสุขภาพแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทยอยู่มาก

มีแนวโน้มการเติบโตเรื่องสภาสุขภาพมากขึ้น มีนวดเพื่อสุขภาพน้อยลง นวดเพื่อเสริมสวยไม่มี

การมาระนอง ต้องตั้งใจมา ตอนนี้มีเครื่องบินมา ก็ทำให้มีการท่องเที่ยวมากขึ้น

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังมีไม่มาก

เอกชนมีสถานประกอบการด้านสุขภาพ มีการใช้บริการเฉลี่ยวันละ 5 คน ส่วนใหญ่คนไทยมาในช่วง High Season มีชาวต่างชาติมายังไม่มาก

เจ้าเรือนสปา โรงพยาบาลระนอง เปิดมา 10 ปี ผู้ใช้บริการเฉลี่ยเดือนละ 1,000-2,000 คน ส่วนใหญ่ชาวไทยมาใช้

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาก็เป็น backpack มาอยู่ 5-6 เดือนแล้วกลับ

ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเกี่ยวกับ คุณภาพและมาตรฐานสำคัญ การเป็นมืออาชีพ ความน่าเชื่อถือ การเดินทาง ราคาเหมาะสม

สาธารณสุขสนับสนุน Clean Food Good Taste Plus

มีช้อนกลาง

มีห้องน้ำสะอาดเหมาะกับคนพิการ

อาหารสะอาด ปลอดสารพิษ


ระนองติดชายแดน และมีความร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น อาเซียนและจีนมีความร่วมมือเฝ้าระวังโรค

มีเครือข่ายชายแดนเกาะสอง ระนอง เฝ้าระวังโรค ควบคุมป้องกันโรค

มีการฝึกอบรมควบคุมป้องกันโรคเคลื่อนที่

ระนองมีอาหารทะเลเข้ามา กระจายในพื้นที่ต่างๆ มีการควบคุมผลิตภัณฑ์ต่างๆ

โรงพยาบาลระนองมีการแบ่งพื้นที่รับรองนักท่องเที่ยว แยกพื้นที่ตรวจรักษาคนไข้จากเกาะสอง

มีศูนย์ฟื้นฟูแพทย์ทางเลือก

จังหวัดมีมาตรการสร้างหลักประกันหลักสุขภาพชาวต่างด้าว

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ประเด็นท่องเที่ยวสุขภาพโยงเศรษฐกิจใหญ่

ควรขับเคลื่อนให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

เรื่องการบำบัดและรักษาสุขภาพหมอได้ทำแล้ว มีการเฝ้าระวัง

ยังมีโอกาสเปิดขึ้น จังหวัดอื่นอาจไม่ต้องลงทุนด้านนี้แต่เชื่อมโยงกับระนองได้

กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน

โดย นางฉัตร ณ ภัทร์ ทรายแก้ว ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระนอง

ในการแข่งกีฬาก็เกิดรายได้ขึ้นมาก เพราะคนมาแข่ง ก็ใช้จ่าย ในการแข่งทุกครั้ง ก็มีผู้ติดตาม ไปเที่ยวที่ต่างๆ ทำให้เกิดรายได้สำหรับร้านอาหาร รถ ที่พัก อยู่เที่ยวต่ออีกวัน

จากประสบการณ์ที่ลูกเป็นนักกีฬา ท่องเที่ยวกับกีฬาไปด้วยกันได้ คนไปแข่ง 1 คน ผู้ปกครอง 3 คน สร้างรายได้ห้องพักเพิ่ม คนติดตามนักกีฬามาก็มีมากขึ้นจนกลายเป็นนักท่องเที่ยว

กีฬาระดับประเทศ ระนองคัดนักกีฬา ทำให้เกิดรายได้ มีการไปแช่น้ำแร่ ไปเกาะสอง

ฮอนด้าจัดกอล์ฟมีรายได้เข้ามาแล้ว เขามาแล้วก็ต้องการมาเที่ยว

บางทีไม่ได้เจาะจงมาเที่ยว แต่เกิดจากกีฬาพาเขามาเที่ยว

การสร้างมูลค่าเพิ่ม

จัดปั่นจักรยานในชุมชน ท่องเที่ยว ดูสวน เพื่อออกกำลังกายอาจจัดแรลลี่จักรยานก็ได้

ชุมชนแม่น้ำอาจมีการพายเรือแคนู

ควรดูบรรยากาศและสภาพพื้นที่ประกอบการจัดกีฬา

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

คุณจินตนาอาจจะเกิดความคิดนำจักรยานไปปั่นชมสวน

ปัจจุบันกีฬาเสริมเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวได้มหาศาล เชื่อมโยงกันหมด

กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชนกับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อาเซียน

โดย นายสุรพันธ์ ณ แก้ว

นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง

อาเซียนมีผลกระทบเชิงบวกและลบ

เมื่อจับประเด็นอาเซียนมา เป็นการสร้างโอกาสให้การท่องเที่ยว

โอกาสเข้ามาโดยตลอดเพราะสภาพสังคม โลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลง

การท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวได้เปรียบกว่าเพราะดึงเงินมาจากต่างชาติ ทำให้ดุลการค้าอยู่ในเชิงบวก

การท่องเที่ยววิถีไทย เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สินค้าหลักของการท่องเที่ยวคือวัฒนธรรมของชุมชน ท้องถิ่น

การท่องเที่ยวที่ใดๆก็ตามก็ใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชูโรง แม้มีความเจริญมาก วัฒนธรรมจะเลือนหลายไปแต่กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากขึ้น

สามารถนำวัฒนธรรมมาเป็นจุดขาย เข่นอาหารไทยโดดเด่นระดับโลก ต้มยำกุ้ง ผัดไทยติดอันดับ 50 อันดับต้นๆ

ระนองมีจุดเด่น ไม่ซ้ำที่อื่น เพราะเป็นจังหวัดชายแดนติดเมียนมา มีวัฒนธรรมสองประเทศเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกัน

มีศาสนาพุทธเหมือนกันจึงเชื่อมโยงความเป็นอยู่กันได้

ในแคมเปญ เที่ยวระนองได้ สองประเทศ มาแล้วไปเมียนมาได้

กลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย นั่งเรือไป ก็มีชาวมอแกน ซึ่งสามารถไปศึกษาวิถีชีวิต ก็มีนักวิชาการไปบ้าง บนบก มีชาวเมียนมา ชาวจีนในบริเวณน้ำพุเมือง มีชาวมุสลิม มีอาหารตามกลุ่มชาติพันธุ์

การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงอาเซียน

วัฒนธรรมเป็นเรื่องของชุมชน ชุมชนต้องมีบทบาท ภาคเอกชนก็ต้องรวมกลุ่มเป็นทางการมากขึ้น เรามีสภาวัฒนธรรม ถ้าพัฒนาจุดนี้ ก็กระตุ้นได้มากขึ้น ภาครัฐก็ต้องดูแลด้านนโนบาย กฎหมายและประสานระหว่างประเทศ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาครัฐและเอกชนก็ตระหนักแล้ว โดยใช้เกาหลีและญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ ในการประยุกต์ใช้ ของเกาหลีเกิดจากการวางแผนอย่างมีระบบและการเตรียมคน

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ขอสรุปการนำเสนอ 3 ท่านเป็นโครงการปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ ต้องมีร้านขายและร้านซ่อมจักรยาน อุปกรณ์ อะไพล่จักรยาน ชุดขี่จักรยาน ขี่ไปสวนเกษตร แช่น้ำร้อน ไปนวดบำบัด กินอาหาร ไปท่องเที่ยวเกาะสอง ไปชิมอาหารเมียนมา เครือข่ายหมอเฝ้าระวังโรค และดูแลนักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุ

สิ่งสำคัญคือ การวางแผนมีระบบและการเตรียมคน และทำให้เกิดขึ้นจริง

13 มกราคม 2559

พิธีเปิด

กล่าวต้อนรับ

โดย ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เรียน ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ธงชัย เจริญพานิชย์กุล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระนอง

และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

เนื่องจาก รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย อธิการบดี ซึ่งติดราชการด่วน ได้มอบหมายให้ผมเป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับท่านผู้มีเกียรติทุกท่านในนามมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาก็ทำงานในด้านวิชาการและก็สร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น เรามีวิทยาเขตที่จังหวัดระนองด้วย

รู้สึกมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

คิดว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้จะยังประโยชน์ด้านการสร้างศักยภาพให้กับการท่องเที่ยวและกีฬาของกลุ่มหรือคลัสเตอร์ที่จังหวัดระนองนี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่า ทางวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอที ทางด้านเครือข่ายจะให้ความรู้กับพวกเราและก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

การท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลชุดนี้จะผลักดันให้เกิดมูลค่าการสร้างเศรษฐกิจยุคปัจจุบันให้มากขึ้น ซึ่งการขับเคลื่อนตรงนี้จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายการท่องเที่ยวและกีฬาทั้งประเทศไทย

วันนี้นับว่าเป็นโอกาสดีที่พวกเราได้มาร่วมประชุมกันที่นี้และก็จะได้ฟังวิทยากรผู้เชี่ยวชาญได้มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยน และเชื่อว่าการประชุมสัมมนาครั้งนี้จะเกิดประโยชน์ สร้างคุณค่าและสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวและกีฬาของระนองและกลุ่มท่องเที่ยว

ในการเสริมสร้างศักยภาพครั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอขอบคุณรองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง วิทยากรและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน และหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด

ขอบคุณครับ

13 มกราคม 2559

พิธีเปิด

กล่าวรายงาน

โดย นางสาวแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี

หัวหน้ากลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

กราบสวัสดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ธงชัย เจริญพานิชย์กุล

ดิฉันนางสาวแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี ในนามของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอขอบพระคุณท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในวันนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีนโยบายเน้นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ในระดับเครือข่ายการทำงานบูรณาการร่วมกันในการที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬาในระดับพื้นที่จังหวัด รวมถึงเครือข่ายที่เป็นองค์กรชุมชน ภาคประชาชนและผู้ประกอบการต่างๆ

ด้วยการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเห็นความสำคัญว่า การท่องเที่ยวและกีฬาไม่สามารถที่จะทำได้โดยคนใดคนหนึ่ง หรือว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพราะฉะนั้นในเรื่องเครือข่ายหรือเรื่องความร่วมมือนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

และบทบาทของเครือข่ายที่จะสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว ก็ไม่มีจุดไหนที่จะสำคัญที่สุดเท่าเครือข่ายในระดับจังหวัด ซึ่งในระดับจังหวัดเอง ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีนโยบายคือ มีการพัฒนาในรูปแบบของเชิงพื้นที่ คือจะแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด (คลัสเตอร์) คลัสเตอร์ก็หมายถึงว่า มีจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักเช่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ เป็นเมืองที่มีศักยภาพอยู่แล้ว เป็นเมืองที่ศักยภาพอยู่แล้ว ทำอย่างไรจึงจะไปเชื่อมโยงกับจังหวัดใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการขยายตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามายังน้อยอยู่หรือว่า มีศักยภาพและความสมบูรณ์ของธรรมชาติอยู่แล้ว รวมทั้งความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล แต่ยังขาดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ทางกระทรวงก็จะพัฒนาในจุดนั้น

โครงการนี้ กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมซึ่งดำเนินการทั้งสิ้น 3 วัน ใน 3 วันนี้ก็จะประกอบด้วยเครือข่ายภาครัฐ เอกชน มีทั้งท่องเที่ยวกีฬาจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัด และหอการค้า ภูมิภาค ชุมชนที่เป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวมาร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมไม่ได้มีแค่จังหวัดระนองเท่านั้น ก็มีจังหวัดที่มีการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลเชื่อมโยงฝั่งทะเลทางตะวันตกตั้งแต่ระนองจนไปถึงชุมพรและประจวบคีรีขันธ์

ซึ่งการดำเนินการนี้ ทางกระทรวงได้รับเกียรติจากมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการนำวิทยากรมาสู่พื้นที่จังหวัดระนองแห่งนี้ ก็เป็นการพัฒนาเครือข่ายให้ความรู้ในเรื่องของการท่องเที่ยวและการพัฒนาอย่างอื่นที่สำคัญ การตลาด การเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

วันนี้ ดิฉันในนามกระทรวง ขอกราบขอบพระคุณท่านและเรียนเชิญท่านกล่าวเปิด

ขอบคุณค่ะ

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 13 ม.ค. 59 เพิ่มเติม

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288186537873466

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288176234541163

13 มกราคม 2559

พิธีเปิด

กล่าวเปิด

โดย นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง

เรียน คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัสมี ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระนอง

ผู้เข้าร่วมสัมมนาวันนี้ที่เคารพทุกท่าน

วันนี้ต้องกราบเรียนว่า ท่านสุริยันต์ กาญจนศิลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัดระนองและในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตกตามยุทธศาสตร์ใหม่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากวันนี้ท่านมีภารกิจสำคัญจึงได้มอบหมายผมมาทำหน้าที่ในวันนี้แทน ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับจังหวัดระนองนี้ ตามที่ผู้ที่กล่าวไปแล้ว 2 ท่านคือ ถ้ายึดตามคลัสเตอร์ใหม่ที่จัดใหม่โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระนองอยู่ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก แต่ตามยุทธศาสตร์เดิม ระนองอยู่ในกลุ่มอันดามัน เป็นกลุ่มของภูเก็ต พังงา แต่ในคลัสเตอร์ใหม่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระนอง อยู่ในกลุ่มเดียวกับประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรีและชุมพร

กราบขอบคุณกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นอย่างยิ่งที่มียุทธศาสตร์ใหม่

ตามที่เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไปแล้วว่า การที่ปรับเปลี่ยนแบบนี้ ทำให้ระนองเป็นพื้นที่ใหม่มากขึ้นที่มารวมกลุ่มคลัสเตอร์การท่องเที่ยว

ระนองมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ยังสดอยู่ ยังน่าค้นหาที่จะตอบโจทย์นักท่องเที่ยวซึ่งมีความอิ่มตัวจากการท่องเที่ยวในจังหวัดที่เจริญแล้วอย่างนี้เป็นต้น

ในการที่ระนองได้มาอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ใหม่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานี้ ทำให้ระนองได้รับการสนับสนุนในระดับสูงของประเทศ

ซึ่งเมื่อเช้า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดงานมหกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวใหม่ ผมก็คุยกับท่านอาจารย์ว่า ได้สังเกตดูในการเปิดงานนี้ สิ่งที่ได้นำเสนอไม่ได้เป็นจุดขายที่คนส่วนมากเห็น เช่นการเปิดมหกรรมท่องเที่ยวเชิญผู้คนมาท่องเที่ยวเมืองไทย จะเป็นภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี ก็ไม่ใช่ โทรทัศน์ถ่ายทอดสดไปภาคเดียวคือภาคเหนือ ผมเห็นเป็นพระที่นั่งซึ่งมีรูปร่างคล้ายพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ที่ระนอง แต่ไม่ใช่ ก็ทราบว่าต้องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 แต่ตอนหลังก็ได้มามีการขยายความว่า พระที่นั่งองค์นี้เป็นพระที่นั่งอยู่ที่แม่ริม เชียงใหม่ เป็นของเจ้าดารารัศมี คือ พระที่นั่งดาราภิรมย์ เมื่อได้ชมโทรทัศน์ ก็ได้เห็นแล้วว่า นี่เป็นแหล่งใหม่ที่น่าไปเที่ยว แค่เห็นแต่ไม่รู้จัก ก็มีความคิดที่อยากจะไป

ขณะนี้มั่นใจว่ารัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากำลังมุ่งไปเปิดพื้นที่การท่องเที่ยวและกีฬาที่เป็นแหล่งใหม่ๆเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ระนองหวังว่า ในเขตภาคใต้ ระนองยังมีความสดใหม่เหมาะอย่างยิ่งที่นักท่องเที่ยวที่มีความอิ่มตัวจากจังหวัดท่องเที่ยวเดิมๆ แล้วอยากจะมาแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ซึ่งระนองก็มีหลายจุด เช่น ธรรมชาติ ทะเล เกาะแก่ง อาหาร สินค้า ของที่ระลึก รวมถึงการกีฬา

การท่องเที่ยวของระนองก็ใช้การกีฬามาช่วยส่งเสริม ในการคัดเลือกทีมฟุตบอลต่างๆ ระนองก็ได้รับเกียรติให้เป็นแหล่งคัดเลือก เพราะฉะนั้น ระนองยินดีอย่างยิ่งที่ทางกระทรวงการท่องเที่ยวได้มีโครงการที่ผมได้นำเรียนท่านอาจารย์ว่า ในการทำการท่องเที่ยว ในความคิดของผม น่าจะมีอยู่ 2 ส่วน ที่ทางจังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมก็คือ

  • Hardware ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว โครงสร้างต่างๆ สิ่งอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่มาระนอง
  • Software ได้แก่ ผู้ประกอบการทั้งที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ที่จะมาช่วยเอื้ออำนวยประกอบการให้นักท่องเที่ยวมาแล้วเกิดความประทับใจ แล้วไปเล่าสู่นักท่องเที่ยวต่างๆกัน และการเผยแพร่ออกไปโดยหน่วยงานต่างๆทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลกันเข้ามา

สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมการและขาดไม่ได้คือคนหรือทรัพยากรมนุษย์

เมื่อหลายสิบปีก่อนนี้ ถ้าในกลุ่มของจังหวัดล้านนา คนไปแพร่แล้วไปลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ไม่ผ่านน่าน แต่น่านได้ใช้โอกาสของตัวเองเสนอจุดแข็งที่เป็นเมืองวัฒนธรรมต่างๆ ก็พยายามทำการท่องเที่ยวขึ้นมาร่วมกับประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขณะนี้ จังหวัดน่านมีสถานะที่เหนือกว่าจังหวัดแพร่

ตอนนี้ ระนองก็กำลังทำงานในลักษณะนี้ขึ้น แต่การที่จะไปจุดนั้นได้ Software ที่สำคัญก็คือ คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ สถานที่พัก ผู้ผลิตอาหาร ผู้นำเสนอข้อมูลทางการท่องเที่ยว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกีฬา สนับสนุนทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดเข้มแข็งขึ้น แต่ต้องบูรณาการอย่างเป็นระบบไปในทิศทางเดินที่ชัดเจน

ต้องขอขอบคุณกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ได้จัดโครงการนี้ขึ้น รวมถึง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยเฉพาะทีมงานที่ๆได้มาช่วยเติมเต็มและดูแลทรัพยากรคนของระนอง ว่าควรต้องเสริมและพัฒนาเพิ่มขึ้นในจุดใดเพื่อรองรับความแข็งแกร่งของระนองในการท่องเที่ยวและกีฬาในวันข้างหน้าต่อไป

ในโอกาสนี้ ผมขอเปิดโครงการประชุมสัมมนาในวันนี้

ขอต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน รวมถึงท่านที่มาจากจังหวัดต่างๆด้วย ให้ได้ใช้เวลาสัมมนา 3 วันที่ระนองอย่างมีความสุข เก็บเกี่ยวระนองแล้วนำระนองไปเผยแพร่ในจังหวัดท่านว่า อันที่จริงแล้ว ระนองก็มีจุดเด่นหลายจุดด้านการท่องเที่ยวเพื่อบูรณาการกับระนองที่จะเป็นเครือข่ายในอนาคต

ขออนุญาตเปิดการอบรมในโครงการนี้ครับ

ขอบคุณครับ

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 14 ม.ค. 59

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288884481137005

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

14 มกราคม 2559

การบรรยายพิเศษเรื่อง การตลาดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Marketing) สร้างมูลค่าท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ประธานบริหารด้านการเรียนรู้ (CLO: Chief Learning Officer)
บริษัท 37.5 องศาเซลเซียส จำกัด

การท่องเที่ยวเป็นการทำงานบนความสุขของคนอื่น

กิจกรรมที่ 1 ให้ตั้งคำถามกับวิทยากร

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชน

อาจารย์มาที่ระนอง ครั้งนี้อาจารย์รู้สึกอย่างไร

ตอบ

ผมนึกถึงธรรมชาติ ป่า น้ำพุร้อน

กลุ่มท่องเที่ยวเกษตร

บริษัท 37.5 เป็นแบบไหน

ตอบ

ให้การอบรมและโค้ชผู้บริหาร

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

สถานที่ประทับใจในไทย

ตอบ

เกาะกำเป็นธรรมชาติมาก

กลุ่มท่องเที่ยวกีฬา

ในระนอง มาเที่ยวที่ไหนบ้าง

ตอบ

เกาะพยาม

มาตีกอล์ฟ

แช่น้ำร้อน

นวดที่โรงพยาบาล มีสปา

เนื้อหา

สิ่งที่จะได้คือวิธีคิดสร้างสรรค์ให้ได้ความคิดใหม่ๆ

เมื่อใช้วิธีคิด แล้วอาจจะไม่ได้ความคิดใหม่ หรืออาจได้บ้าง

วิธีการจัดความคิดใหม่ๆ

1.เริ่มจากสิ่งเดิมๆที่ถูกขังในกรอบความคิด

บางทีความคิดใหม่ติดกรอบองค์กร

เมื่อคิดไปแล้วอาจติดกรอบสังคม เช่นการขัดกับวัฒนธรรม

เมื่อคิดไปแล้ว อาจจะขัดกับกรอบกฎหมาย

ทำให้ติดอยู่กับความคิดเดิม

2.ต่อมาทำลายกรอบความคิด กระโดดออกมาจากกรอบองค์กรและสังคม จะได้ความคิดแปลกใหม่ แต่อาจจะนำไปใช้ไม่ได้ ถือเป็นความคิดนอกกรอบ

3.มองความคิดนอกกรอบเป็นความคิดดิบๆ โดยดึงความคิดเข้ามากรอบองค์กรและสังคม แต่เป็นความคิดไม่ใช่แบบเดิม ทำให้เป็นความคิดนอกกรอบแบบใช้การได้ เป็นความคิดคร่อมกรอบ

4. การนำความคิดไปใช้

กิจกรรมที่ 2 ร่าง flipchart กระดาษทดความคิด

ชื่อกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

1 .ในกรอบ

2 คิดนอกกรอบ

3 คิดคร่อมกรอบ

4 นำไปปฏิบัติ

เพิ่ม

Value Creation

Value Diversity

ข้อดี

ข้อดีในอนาคต

ปัญหา

ปรับความคิด

ก.เส้นทาง

ข.สถานที่

ค.กิจกรรมการท่องเที่ยว

ง.อัตลักษณ์ความโดดเด่นและจุดขาย

1.เจ้าของกลุ่มเดิมความคิดในกรอบ

2.อีกกลุ่มมาเติมในช่องความคิดนอกกรอบในช่อง 2

2.1 ทำอะไรเพิ่มได้

2.2 ทำกิจกรรมเดิมเพื่ออะไร มีวิธีอื่นที่ช่วยบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันได้ไหม (Value Creation)

2.3 ห้ามทำซ้ำกับช่อง 1, 2.1, 2,2 แล้วจะทำอะไร (Value Diversity)

อีกกลุ่มมาเติมในช่องความคิดนอกกรอบในช่อง 2

3.เจ้าของกลุ่มเดิมมาคิดคร่อมกรอบ โดยเลือกความคิดนอกกรอบที่ชอบที่สุด แล้วปรับให้เข้ากรอบองค์กรและสังคม

มี 4 ขั้น

3.1 คิดถึงข้อดีของความคิดนอกกรอบที่เลือก

3.2 คิดถึงข้อดีในอนาคตของความคิดนอกกรอบที่เลือก

3.3 ติดกรอบอะไร เวลาทำจะมีปัญหาอะไร

3.4 ปรับความคิดเพื่อหลบ เลี่ยงทะลุกรอบ เพื่อแก้ปัญหา

ขั้นตอนเหล่านี้สามารถนำมาทำ Creative Marketing ได้

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 14 ม.ค. 59 เพิ่มเติม

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288895967802523

15 มกราคม 2559

การนำเสนอโครงการสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬาสู่อาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตร นำเสนอ โครงการท่องเที่ยววิถีเกษตรอันดามัน อ่าวไทย ตามรอยพ่อหลวง

1.ค้นหา 3V

โซนเหนือ เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์

จุดแรก: พาไปศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริชั่งหัวมัน ใช้เวลาครึ่งวัน

แวะชมโครงการพระราชดำริ ป่ากุยบุรี (ซาฟารีเมืองไทย) ใช้เวลาครึ่งวัน

พักค้างคืนที่บุญชูรีสอร์ท

กิจกรรม: เยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ (ศูนย์วิจัยหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร) บางเบิด

จุดที่สอง: ศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริวิถีจินตนา 1 ไร่พอเพียงและโฮมสเตย์

บ้านทอนอม พักรับประทานอาหารกลางวัน และเดินทางต่อไปสวนลุงนิล (พืชคอนโด 9 ชั้น)

รับประทานอาหารเย็นและพักค้างคืน เหวโหลมโฮมสเตย์ (คุณรุ่งโรจน์)

ตื่นเช้าอาบน้ำแร่ระนอง แล้วไปศึกษาดูงานแหลมนาว (โฮมสเตย์บ้านแหลมนาว)

อัตลักษณ์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี

ความโดดเด่น จุดขาย ได้เรียนรู้วิถีเกษตร ตามแนวทางโครงการพระราชดำริ

2. วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนา

กลุ่มเป้าหมาย: องค์กรท้องถิ่น หน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน รัฐวิสาหกิจ นักท่องเที่ยว

ทุนทางจริยธรรม: สรรหาบุคลากรที่มีจิตอาสา มีความซื่อสัตย์ รักงานและเสียสละ

ทุนทางปัญญา: สร้างบุคลากรให้มีทักษะ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และมีความรู้ด้านการเกษตร

3.คุณสมบัติผู้นำ

กล้าตัดสินใจ

ทำงานเป็นทีม

สร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

วิเคราะห์การตลาด: สร้างจุดขายให้กับตัวเอง มีการนำเสนอผ่านช่องทางสื่อ

4. ในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่มาตรฐานระดับโลก 3 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา

5. วิเคราะห์เรื่องการตลาด – การประชาสัมพันธ์

5.1 ระดับ ชุมชน

สร้างแหล่งทุน

สร้างจุดขายให้ตัวเอง

มีการนำเสนอผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์

5.2 ภาครัฐ ควรทำอะไรบ้าง

ส่งเสริมสนับสนุนให้งบประมาณผู้ประกอบการ

วิจัย

ทำเว็บไซต์

6. การวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาเครือข่าย

เพิ่มเครือข่ายจากท้องถิ่นสู่อำเภอ จังหวัดแต่ละจังหวัด แต่ละภาคจนถึงระดับประเทศ

มีการประชุมอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งวิจัย

7. จะนำ IT มาใช้ในเรื่องการตลาดและเครือข่าย

ทำเว็บไซต์

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นำเสนอ โครงการพัฒนาเส้นทางหรือกิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่จากการขยายเครือข่ายระหว่างเขตการพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก+อาเซียน : กรณีศึกษา จังหวัดระนอง

  • โครงการพัฒนาเส้นทางหรือกิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ จากการขยายเครือข่ายระหว่างเขตการพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก+อาเซียน : กรณีศึกษา จังหวัดระนอง

2.ในการขับเคลื่อนโครงการที่นำเสนอในข้อ 1 ให้เกิดความสำเร็จ วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนา และเสนอแนวทาง

  • ทุนทางมนุษย์ สร้างคนในสายงานการท่องเที่ยวและสุขภาพ โดยเปิดการเรียนการสอนในสายงานดังกล่าวในสถาบันการศึกษาท้องถิ่น

-ทุนทางเทคโนโลยีทำการตลาดยุคใหม่ทางอินเทอร์เน็ต หรือทางSocial Media

-ทุนทางจริยธรรมสร้างระเบียบ สร้างความซื่อสัตย์ในอาชีพ

-ทุนทางปัญญาเกิดภูมิปัญญาใหม่ๆ ที่จะนำมาเป็นภูมิปัญญาในพื้นที่ของตัวเอง

การเสนอแนวทางให้เกิดความสำเร็จ

มีการเชิญชวนทดลองให้มาใช้โปรแกรมสุขภาพ ใน 3 ระดับ คือ ระดับประเทศ / ระดับอาเซียน / ระดับโลก เช่น เชิญหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในแต่ละประเทศของอาเซียนมาดูและทดลอง

คุณสมบัติของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด 3 เรื่องคืออะไร อธิบายเหตุผล และเสนอแนวทางในการพัฒนาเพื่อความสำเร็จ

1.การจัดการภาวะวิกฤต (Leadership value)

ผู้นำต้องมีไหวพริบ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ผู้นำจะต้องมีศรัทธากับสำหรับทีมงานเพื่อการยอมรับและทีมงานพร้อมที่จะทำตามอย่าง

เส้นทางท่องเที่ยว

ในกรอบ

นอกกรอบ

Value Added

Value Creation

Value Diversity

สถานที่ท่องเที่ยว

สนามบิน-เมืองระนอง

Logistic ทางสุขภาพ

สนามบินกรุงเทพ – ภูเก็ต

สนามบินกรุงเทพ – ชุมพร

สนามบินกรุงเทพ – สุราษฎร์ฯ

สนามบินกรุงเทพ – เชียงใหม่

สนามบินกรุงเทพ – หาดใหญ่

เชื่อมโยงกับสนามบินในอาเซียน

ขยายสนามบินให้ใหญ่มากกว่าเดิม

เพิ่มสายการบินตรงจากสนามบินในกลุ่มประเทศอาเซียน

สถานที่

โรงพยาบาลระนองเฉพาะทาง, ศูนย์วารีบำบัด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในระนอง

การลงทุนในระบบเทคโนโลยีและสิ่งปลูกสร้าง , สิ่งอำนวยความสะดวกในระดับมาตรฐาน

ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งสุข การทำงานร่วมกับคนอื่น และการบริหารมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์อาหาร Green food (แหล่งให้ความรู้) , ร้านอาหาร Green food

ศูนย์อาหารนานาชาติ Green food , การสร้างสูตรอาหารใหม่ๆ โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในจังหวัด

เส้นทางท่องเที่ยว

ในกรอบ

นอกกรอบ

Value Added

Value Creation

Value Diversity

กิจกรรม

ใช้น้ำพุร้อนซึ่งมีอยู่ในจังหวัดมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างกิจกรรม

สร้าง Brand Hub Health ระนองให้เป็นที่รู้จักระดับ

โลก

สร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ตัวอย่างเช่น สเปรย์น้ำแร่

เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายกับองค์กรสุขภาพอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลอภัยภูเบศร์ โรงพยาบาลในเครือกรุงเทพฯ

อัตลักษณ์

ความโดดเด่น

จุดขาย

ระนองเมืองสุขภาพ

คำโปรโมทการท่องเที่ยว

“ไม่อยากแก่ ต้องมาแช่น้ำแร่ที่ระนอง เมืองยิ่งมายิ่งหนุ่ม ยิ่งเที่ยวยิ่งสาว”

สุขภาพ + ท่องเที่ยว

- สร้าง Package Health + Tourism

-ทำให้เศรษฐกิจเมืองระนองดีขึ้น เช่น รายได้ การเพิ่มงานและการลงทุน

นำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพจากถิ่นอื่น มาประยุกต์ให้เป็น Branding ของตัวเอง

2. การตัดสินใจ(Leadership Process)

ผู้นำที่ดีต้องกล้าตัดสินใจเพื่อที่จะปรับเปลี่ยน หรือ ตัดสินใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำงานต่อหรือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงานผู้นำต้องมีมุมมองที่กว้างไกล มี vision ที่จะมองเห็นอนาคตว่าจะให้ทีมงานเดินไปในทิศทางใด

3. การทำงานเป็นทีม (Leadership skill)

การเป็นผู้นำไม่ใช่การทำงานคนเดียว ไม่ใช่การสั่งงานอย่างเดียว แต่จะต้องทำงานไปด้วยกันทั้งทีม เพื่อให้เกิดพลังให้ทีมงานเป็นพลังหนุนขับเคลื่อนงานไปด้วยกัน ในทีมงานการเป็นผู้นำ ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีคนเดียว อาจจะเป็นผู้นำในแต่ละด้านตามที่ตนถนัด

แนวทางในการพัฒนาเพื่อความสำเร็จ

  • ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.สนุกกับการคิดนอกกรอบ

3.อย่าคิดว่าตัวเองถูกทุกเรื่อง ให้รู้จักฟังให้มาก

4.รู้จักควบคุมอารมณ์และมีความรับผิดชอบ

5.รู้จักการปรับตัวและปรับเปลี่ยน

4. ในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่มาตรฐานระดับโลก 3 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา

4.1 การพัฒนาคน ทุนมนุษย์ การสร้างคนเพื่อการต่อเนื่องปูพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยม ในด้านการบริการ การดูแล สร้างหลักสูตรการศึกษาเฉพาะทางในจังหวัด

4.2 ทางคุณธรรม จริยธรรม ปรับเปลี่ยนทัศนคติคนให้มีความซื่อสัตย์ในอาชีพและการใช้ชีวิต

4.3 ด้านเทคโนโลยี สร้างคนให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการตลาดยุคใหม่

5. วิเคราะห์เรื่องการตลาด – การประชาสัมพันธ์

5.1 ระดับผู้ประกอบการ / องค์กร / ชุมชน ต้องทำอะไรบ้าง

ใช้การตลาดสื่อสารยุคใหม่ในการประชาสัมพันธ์ โดยเอาระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และสร้างเครือข่ายการทำงานใน 3 กลุ่มให้เกิดการเขื่อมโยงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การลงทุนโดยเอกชนในชุมชน แต่ต้องไม่ทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไป

5.2 ภาครัฐ ควรทำอะไรบ้าง

เป็นฝ่ายสนับสนุนโครงการในระดับองค์กรและงบประมาณ ในโครงการที่เกิดขึ้น

6. การวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาเครือข่าย

ใช้วิธีการสร้างพันธมิตรในการสร้างเครือข่าย

7. จะนำ IT มาใช้ในเรื่องการตลาดและเครือข่าย

ทำเว็บไซต์หรือสร้างเพจในโซเชียล กลุ่ม Hub Health Ranongขึ้นมา โดยมีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ในเว็บไซต์ และทำการ www. ออกไปสู่ภายนอก

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

นางจีระวรรณ เศวตะกุล ประธาน

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช ที่ปรึกษา

นางสาวนภาพร เพชรไทย

นายศุพิชชา หอมคง

นายวัฒนา ตู้ประดับ

นางศิวาพัชญ์ กุลรัตน์ภิญโญ

นายพงศ์ธวัช ศรีจำนอง เลขานุการ

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา นำเสนอ โครงการเส้นทางกิจกรรม “ไตรกีฬา” จากอันดามันสู่อ่าวไทย

Sport Tourism : Chira-Ranong Model โดย กลุ่ม 2 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา

รายชื่อคณะทำงานโครงการกลุ่ม

ประธานกลุ่ม

1. นายชาญณรงค์ บุญชุม

รองประธานกลุ่ม

2. นายนันทวัฒน์ กาญจนพยัคฆ์

3. นายวัชรินทร์ วรามิตร

กรรมการ

4. นางสาวศิวพร ไชยวงศ์

5. นางสาวสุวรรณา หาญชนะ

สมาชิก

6. นายธนาวุฒิ เพ็ชรชระ

7. นางฉัตร ณ ภัทร์ ทรายแก้ว

8. นายวันใหม่ สุขนุ้ย

คณะที่ปรึกษา

1.อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ โค้ช

2.นางสาวจิตรลดา ลียากาศ ผู้ช่วยโค้ช

แนวคิด

การตีโจทย์ การเสริมสร้างศักยภาพ องค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน รองรับอาเซียน

วิเคราะห์กิจกรรม (เพื่อ)

การเสริมสร้างศักยภาพ คือ การคิดวิเคราะห์ (ปัญญา) ร่วมกันเป็นองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา(เครือข่าย/ ตัวละคร) เพื่อให้ได้โครงการใหม่ๆ ด้านกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีคุณธรรม จริยธรรมเป็นตัวกำกับ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงกับอาเซียน


เส้นทางท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย

Sport Tourism : Chira-Ranong Model โดย กลุ่ม 2 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา

ค้นหา 3 V
Value Added การเพิ่มมูลค่าและคุณค่า
Value Creation การเพิ่มมูลค่าและคุณค่า จากความคิดสร้างสรรค์
Value Diversity การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าจากความหลากหลายของคน วัฒนธรรมและอื่นๆ


(2) ในการขับเคลื่อนโครงการที่นำเสนอในข้อ 1 ให้เกิดความสำเร็จ..วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนา

1) ทุนทางจริยธรรม และ

2) ทุนทางปัญญา อธิบายเหตุผล และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเพื่อความสำเร็จ


(3) คุณสมบัติของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด 3 เรื่อง และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเพื่อความสำเร็จ

คุณสมบัติผู้นำ

เหตุผล

แนวทางในการพัฒนาเพื่อความสำเร็จ

คุณธรรม จริยธรรม

ผู้นำต้องกระจายผลประโยชน์ไปให้ทุกกลุ่ม

เป็นหลักสากล

ใช้คุณธรรมและปัญญา (เพื่อการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (เพื่อให้เกิดมาตรฐาน)

ผู้นำต้องไม่ขาดความมั่นใจ กล้าและมุ่งมั่นทำ

ผู้นำต้องตัดสินใจ

ผู้นำต้องมีเครือข่าย เป็นนักประสานสิบทิศ

เป็นการทำงานเชื่อมโยงหลายภาคส่วนและหลายจังหวัด

(4) ในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาสู่มาตรฐานระดับโลก 3 เรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา

เรื่องที่ต้องพัฒนา

เหตุผล

1. คน

เป็นจุดเริ่มของการพัฒนาอื่นๆ

2.พัฒนามาตรฐานและความปลอดภัย คุณภาพผู้ประกอบการบริการ สถานประกอบการ

เข้าสู่อาเซียน

3.ขยายเครือข่ายและบูรณาการร่วมกัน

เป็นความสำคัญในการพัฒนา

(5) วิเคราะห์เรื่องการตลาด – การประชาสัมพันธ์

5.1) ระดับผู้ประกอบการ / องค์กร / ชุมชน ต้องทำอะไรบ้าง

หน้าที่

ระดับผู้ประกอบการ

ให้บริการนักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจแล้วนำไปบอกต่อกัน

องค์กร ชุมชน

สร้างความเข้าใจ ขยายเครือข่ายให้เกิดพลัง

5.2) ภาครัฐควรทำอะไรบ้าง

หน่วยงานภาครัฐ

หน้าที่

จังหวัด

มีนโยบายสนับสนุน

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

ฝ่ายเลขา เขียนแผน

ททท.ภาค

ที่ปรึกษาและช่วยประชาสัมพันธ์

กกท.จังหวัด

คณะกรรมการจัดกิจกรรม

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะทำงาน

ตำรวจจังหวัด

อำนวยความสะดวกตามเส้นทาง

(6) วิเคราะห์เรื่องการพัฒนาเครือข่าย

6.1) เครือข่ายที่มีอยู่ กับ เครือข่ายที่ต้องการเพิ่มเติม

รัฐ

วิชาการ

ชุมชน

เอกชน

ที่มีอยู่คือตั้งใจทำงานเต็มที่ ยังขาดความร่วมมือ การบูรณาการเครือข่ายจึงสำคัญ

ในระดับปราชญ์ชาวบ้านมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขาดการเชื่อมโยง

อยากให้กระทรวงจัดโครงการแบบนี้

ชุมชนและท้องถิ่น เข้มแข็งบางแห่งแต่ขาดการบูรณาการ แต่กำลังผลักดัน

เข้มแข็งเป็นจุดๆ แต่ขาดการบูรณาการ

6.2) เสนอแนะวิธีการที่จะพัฒนาขยายเครือข่ายให้เกิดความสำเร็จ

จัดโครงการแบบนี้

มีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ด้านวิชาการ กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กิจกรรมจริงๆในพื้นที่

(7) การนำ IT มาใช้ในเรื่องการตลาดและเครือข่าย

Line กลุ่ม ชื่อ การท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก

เว็บไซต์ การท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก

Facebook ส่วนตัวและองค์กรเครือข่าย

Smartphone

ขยายเครือข่ายไอที

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชน นำเสนอ โครงการพัฒนาเส้นทางหรือกิจกรรมท่องเที่ยวใหม่

  • เส้นทางท่องเที่ยวชมธรรมชาติ= สีสันแห่งอันดามัน (ฝั่งทะเลตะวันตก)

8.00 น.

ออกเดินทางจากที่พักในเมือง

8.50 น.

เดินทางถึงอุทยานแห่งชาติแหลมสน (ท่าเรือบางเบน)

9.00 น.

ออกเดินทางสู่หมู่เกาะดำ จุดที่ 2 ดำน้ำชมปะการังที่เกาะค้างคาว

11.00 น.

เดินทางสู่อ่าวเขาควาย เกาะดำ ลักษณะเป็นอ่าวใต้ คล้ายเขาควาย พื้นทราย ย้ำทะเลใสเป็นมรกต มีสวนสนร่มรื่นกั้นระหว่างทะเลแหวก

12.00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น.

เดินทางสู่เกาะญี่ปุ่น

14.00 น.

ชมวิถีชีวิตชุมชนการเลี้ยงปลา ปูนิ่ม ในกระชัง ชุมชนหมู่บ้านบางเบน

15.00 น.

ชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนม่วงกลาง

18.00 น.

เดินทางกลับที่พัก

สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติแหลมสน หมู่เกาะดำ ศูนย์การเรียนรู้บ้านม่วงกลาง ชุมชนหมู่บ้านบางเบน

กิจกรรม

ดำน้ำ ชมวิถีชาวมุสลิม การประมงพื้นบ้าน การเลี้ยงปูนิ่ม ปลาในกระชัง

อัตลักษณ์ ความโดดเด่น จุดขาย

อัตลักษณ์ ความเป็นชุมชนมุสลิม วัฒนธรรมชุมชน

ความโดดเด่น ความหลากหลายของธรรมชาติ

จุดขาย หมู่เกาะดำ ซึ่งเป็นความงดงามของหาดทายและปะการัง ป่าชายเลน “สีสันแห่งอันดามัน”

2) วิเคราะห์ความต้องการในการขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จ

1) จัดอบรมเรื่องความรู้ในการบริหาร จริยธรรมในการดำเนินการ

2) อบรมให้ความรู้เรื่องสุขลักษณะชุมชน

3) จัดโครงสร้างชุมชน เพื่อการรองรับนักท่องเที่ยว

4) ปรับโครงสร้างพื้นฐาน ถนน โทรศัพท์ WIFI

5) ให้ความรู้พื้นฐานด้านการตลาดและ IT

6) ส่งเสริมเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบด้านการตลาด

3. คุณสมบัติของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

  • ศรัทธา และมั่นใจต่อผู้ร่วมงาน
  • เสียสละแบ่งปัน
  • รับฟังผู้อื่น พูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะระหว่างภาครัฐ/เอกชน

4. การยกระดับ โดยชุมชนสู่มาตรฐานระดับโลก

  • คงความเป็นอัตลักษณ์ให้ชัดเจน
  • ปรับให้เป็นมาตรฐานสากลอย่างแยบยล ไม่รู้สึกตัว ทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ
  • ทำการตลาดอย่างมืออาชีพ

5. วิเคราะห์เรื่องการตลาด-การประชาสัมพันธ์

1. เอกชน ของดีราคาไม่ถูก

2. ภาครัฐ ของดีในราคายุติธรรมคือสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในภาครัฐ อย่าตั้งราคาสินค้าตามใจคนซื้อ ตั้งสินค้าให้เราอยู่ในไฮคลาส

6. เครือข่ายที่มีอยู่

ผู้ประกอบการ กระบุรี พังงา ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี

จัดแผนกลยุทธ์ของกลุ่มโปรโมทร่วมหรือร่วมลงทุน Road show

7. การนำ IT มาใช้ต่อ

ทำแฟนเพจ

Facebook

www.

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/22472

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2559 หน้า 5

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/569b5126938163f0d98b46e9#.Vpxg8pqLSt8

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2559 ทาง 96.5 MHz.

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 14 ม.ค. 59 เพิ่มเติม

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1288895967802523

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

14 มกราคม 2559

การศึกษาดูงาน ณ ชุมชนบ้านในวง อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

การบรรยายสรุปเกี่ยวกับชุมชนบ้านในวง

โดย นายสมชาย ทิศกระโทก ผู้จัดการกลุ่มจัดการท่องเที่ยวบ้านในวง

ชุมชนบ้านในวง อำเภอละอุ่น แบ่งเป็น 2 ตำบล คือ ในวงเหนือ และในวงใต้ ตำบลละ 3 หมู่บ้าน ชุมชนในวงใต้ 70% ของประชาชนมาจาก 38 จังหวัดทั่วประเทศ มีคนพื้นที่ละอุ่นเดิม 2% ประชากร 99.9% นับถือศาสนาพุทธ

หมู่บ้านบุรีรัมย์ในชุมชนบ้านในวงมีประชากร 395 คน เป็นชาวอีสาน 390 คนซึ่งมาจากจังหวัดอื่นด้วย และอีก 5 คนเป็นชาวใต้ แต่คนส่วนมากมีพื้นถิ่นมาจากจังหวัดบุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร

บ้านในวง เริ่มเป็นชุมชนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 หรือ เป็นเวลา 20 ปีที่ก่อเกิดชุมชนมาจากผืนป่าล้วนๆ โดยเริ่มจากการปลูกกาแฟโรบัสตา 100% แต่เนื่องจากอากาศไม่หนาว กาแฟที่เคยมีราคากิโลกรัมละ 100 กว่าบาท ตกลงเหลือแค่กิโลกรัมละ 8 บาท คนจึงเลิกปลูกกาแฟ แล้วปลูกผลไม้เพิ่ม เพราะมีกระแสผลไม้หลังสวนเข้ามาได้แก่ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ซึ่งปลูกเป็นพืชเสริมในระยะแรก ปัจจุบัน ทุเรียนมีประมาณ 70% ของพื้นที่ มังคุดมีเกือบ 20% และที่เหลือเป็นยางพารา ปาล์มน้ำมันและหมาก ส่วนกาแฟปลูกน้อยลงทุกปี ผลไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆคือทุเรียน และทุเรียนตอนนี้ก็จะมีอายุมากขึ้น ก็ให้ผลผลิตมากขึ้น ชุมชนนี้ผลิตทุเรียน เป็นเกษตรปลอดภัยซึ่งใช้สารเคมีในอัตราปลอดภัย ต่างจากเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีเลย มีการรับรองแปลงจากกรมส่งเสริมวิชาการเกษตร มีการสุ่มตรวจความปลอดภัยของผลผลิต แปลงของนายสมชาย บุญเขื่องเป็นเกษตรปลอดภัย

การเกษตรทำให้ชาวบ้านพออยู่ได้ มีการทำในเรื่องการลดต้นทุน โดยใช้ชีวพันธุ์ที่เป็นธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยปรับปรุงสภาพดินเช่น ขี้วัว ขี้ไก่ การใช้ปุ๋ยพืชสด เลิกฉีดหญ้าด้วยยาดูดซึม แต่ใช้วิธีการตัดหญ้า ถ้าใช้ยาฉีดก็จะใช้ผลไม้เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ สัตว์ประเภทแทะ เช่น วัว แพะ หมู ไม่สามารถเลี้ยงปล่อยได้ ที่ชุมชนนี้ยังไม่มีปศุสัตว์

พื้นที่บ้านในวง (ของทั้งสองตำบล) มีประชากรทั้งหมดประมาณ 2,000 กว่าคน จำนวน 800 กว่าครัวเรือน

พื้นที่บ้านในวงดูเหมือนกับไข่ดาว ไข่แดงหรือพื้นที่ตรงกลางเป็นพื้นที่สปก. เนื้อไข่ขาวหรือพื้นที่ถัดออกมาเป็นพื้นที่ป่าสงวน จานหรือพื้นที่รอบนอกเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แล้วนำส้อม 2 คันมาวางพาดก็คือถนนที่เข้ามา ฝั่งหนึ่งมาจากทุ่งตะโก เข้ามาผ่านเขาทะลุ เขาคาดแล้วมาถึงที่บ้านในวงเพราะเป็นตำบลชายแดน ทางทิศเหนือเป็นอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ถัดมาเป็นอำเภอหลังสวน ด้านหลังเป็นพะโต๊ะ

ลักษณะพื้นที่เป็นกระทะบนภูเขา อยู่ตรงกลางระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-300 เมตร พื้นที่สูงสุดอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 550 เมตร อากาศจึงเหมาะสมกับการผลิตผลไม้

ทุเรียนและมังคุดมีคุณภาพดีเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัดระนอง ทุเรียนมีพูเต็ม หนามเขียว หัวไม่จีบ

เฉลี่ยทั้งปี ราคาขายทุเรียนหน้าสวนเกือบกิโลกรัมละ 40 บาท ชาวสวนอยู่ได้สบาย ปัจจุบันนี้ ราคาขายทุเรียนหน้าสวนกิโลกรัมละ 125 บาท ถ้าไม่ใช่ช่วงฤดูกาล ฤดูกาลของทุเรียนคือช่วงกรกฎาคม-กันยายน ส่วนฤดูกาลของมังคุดคือช่วงสิงหาคม-กันยายน

ราคาขายมังคุดหน้าสวนเฉลี่ยทั้งปีกิโลกรัมละ 60 บาทต่อปี และมังคุดทั้งหมดของชุมชนบ้านในวงจะขายที่ชุมชนนี้เท่านั้น 70% ส่งออกไปยังจีน ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดคือหลังสวน มังคุดบ้านในวงออกช้ากว่ามังคุดหลังสวน จุดเด่นของมังคุดบ้านในวงคือ ผิวมัน ลูกโต หมวกเขียว เป็นที่ต้องการของตลาด

การเกิดท่องเที่ยวชุมชน ประชาชนในชุมชนบ้านในวงแม้จะมาจากหลายถิ่นฐาน แต่ไม่เคยมีคดีอาชญากรรม

ชุมชนนี้เป็นสองตำบลสุดท้ายของระนองที่ไม่มีแรงงานพม่า แต่ในชุมชนไม่ห้ามการนำแรงงานนอกพื้นที่เข้ามาใช้ ก่อนหน้านี้ ชุมชนนี้เคยมีข้อบัญญัติในธรรมนูญตำบล ชุมชนนี้มีกฎระเบียบคือมีธรรมนูญพลเมืองตำบลเป็นกฎระเบียบเดียวที่บังคับใช้ทั้งตำบล มีศาลเป็นของตนเองเรียกว่า ศูนย์ประสานงานการจัดการความขัดแย้งชุมชน ทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการระงับข้อพิพาทของชุมชนที่เกิดในชุมชน เช่น เรื่องเขตแดน การแย่งน้ำ ไม่มีการขึ้นโรงขึ้นศาล อย่างมากเรื่องก็ไปถึงแค่ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ แต่ก่อนจะไปถึงศูนย์นั้น ต้องผ่านศูนย์ดำรงธรรมหมู่บ้าน ศูนย์ดำรงธรรมตำบล ศูนย์ประสานงานการจัดการความขัดแย้งชุมชน ต้องผ่าน 3 ศาลในพื้นที่ก่อนจะถึงระดับสูง

ชุมชนนี้เกิดหลังหลายชุมชน จึงได้เรียนรู้บทเรียนจากที่อื่น และได้นำมาประยุกต์ใช้

อัตลักษณ์ของชุมชนนี้คือการตั้งบ้านเรือนแบบอีสาน สร้างด้วยไม้ มีหลังคาป้าน มีฝา ไม่ค่อยมีหน้าต่าง ตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของถนนในชุมชน เพื่อความสะดวกในการไปมาหาสู่ แตกต่างจากชาวใต้ที่ปลูกบ้านตามสวน

ชุมชนนี้ยังนำศิลปวัฒนธรรมมาอีสานมาสานต่อ เช่น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตาบ้าน ประเพณีบุญข้าวเหนียว แต่ไม่มีประเพณีบุญบั้งไฟ เพราะอาจจะไปกระทบเกาะพยาม

ภาษาที่ใช้คือ ภาษาอีสานใช้สื่อสารกันระหว่างชาวอีสาน ภาษาใต้ใช้สื่อสารกันระหว่างชาวใต้และภาษากลางใช้สื่อสารกันระหว่างชาวอีสานและชาวใต้

ชุมชนนี้ใช้สาธารณูปโภค ได้แก่ น้ำประปาภูเขา 100% น้ำบาดาล (สำหรับบ้านที่มีทุน) มีการทำแหล่งเก็บน้ำฝน

สถานที่บรรยายเป็นศูนย์ประสานงานและศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับการศึกษาดูงานและรับรองนักท่องเที่ยว

ส่วนที่พักก็จะเป็นครัวเรือน บ้านชาวบ้าน ไม่มีแบบบ้านหลังเดี่ยว บังกะโล นักท่องเที่ยวจะพักภายในบ้านเดียวกับชาวบ้าน

นางเปรมวดี ขำมะลัง

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลที่ลงเน็ต โดยเฉพาะการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ที่ระนอง และขอบคุณที่ให้ประโยชน์กับสังคมส่วนรวมค่ะ ขอนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนค่ะ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=I8pabmOUFZo&feature=youtu.be

รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”

ตอน : กรณีศึกษาการพัฒนา “ทุนมนุษย์” อย่างต่อเนื่อง

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2558

ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/599853

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 21 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2559

โปรดคลิกลิ้งค์นี้เพื่อดูภาพบรรยากาศโครงการ 14 ม.ค. 59 เพิ่มเติม

https://www.facebook.com/konporpeang/posts/882704725162095

https://www.facebook.com/konporpeang/posts/882197528546148

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

14 มกราคม 2559

เสวนาเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการเครือข่ายบ้านในวง”

ร่วมเสวนาโดย

นายสมชาย บุญเขื่อง ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตร

นายสมชาย ทิศกระโทก ผู้จัดการกลุ่มจัดการท่องเที่ยวบ้านในวง

นายแสวง แผลติตะ ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรม

ดำเนินการเสวนาโดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการศึกษาดูงานครั้งนี้คือ ทางคณะมาที่ระนอง แต่สถานที่จัดเสวนาคือบ้านบุรีรัมย์ จากการที่ได้ไปดูงานและพบปะกับชาวบ้าน ทำให้ทราบว่า มีคนที่ย้ายมาจากบุรีรัมย์ สุรินทร์

นายแสวงน่าจะเป็นผู้บุกเบิกรุ่นแรก เมื่อปีพ.ศ. 2528 ทางภาคอีสานเพิ่งเลิกจากเหตุการณ์ 66/23 มีเหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย และตอนหลัง ทุกคนเริ่มทำมาหากินอย่างจริงจัง สิ่งที่ได้พบคือ กลุ่มคนอีสานกลุ่มหนึ่งได้พยายามเดินทางเป็นระยะทางเกือบ 1,000 กิโลเมตรมาถึงที่บ้านในวง เป็นการเดินทางที่ค่อนข้างจะยาวไกลพอสมควร และน่าจะมีเหตุผลของการเดินทางมาครั้งนั้น

นายแสวง แผลติตะ

ตอนแรก ได้รับข้อมูลจากเพื่อนเกี่ยวกับเขมรแดง ก่อนหน้านั้น ตนเองเคยไปอยู่กาบเชิง มีเพื่อนลงมาทางใต้ ไปพบกาแฟราคากิโลกรัมละ 80 บาท เพื่อนจึงกลับไปบ้านที่อีสาน คนจึงได้ถามว่า ถ้าไปใต้ จะมีปัญหาเรื่องผู้ก่อการร้ายหรือไม่ ตนเคยเจอเขมรแดงที่กาบเชิง เพื่อนตอบว่า มีผู้ก่อการร้ายแต่ไม่โหดเหี้ยมเหมือนเขมรแดง เวลาที่เขมรแดงเจอคน ก็จับไปเลย ตนจึงถามเพื่อนว่า คนใต้โหดจริงหรือไม่ เพื่อนบอกว่า ถ้าสอบถาม พยาน 3 คน และพบว่า ไม่ได้ทำผิดจริง และไม่ได้หนี ก็จะไม่ฆ่า แต่ตนมาอยู่ที่ภาคใต้ ก็ยังไม่ถูกฆ่า

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

สรุปได้ว่า ความเป็นคนอีสานเข้ามาปะทะกับความเป็นคนใต้ คนใต้เป็นคนจริงใจ คนอีสานเป็นนักสู้ ทั้งสองคุณสมบัตินี้ทำให้เกิดเป็นชุมชนขึ้นมา

นายสมชาย บุญเขื่อง

ปราชญ์ชาวบ้านก็คือผู้รอบรู้ ตนเป็นปราชญ์เกษตร เป็นได้เพราะสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองได้เข้ามาคลุกคลีกับชุมชนนี้ ตนได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาพืชผล เนื่องจากราคากาแฟตอนนั้นตกต่ำเหลือกิโลกรัมละ 7-8 บาท จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาหารือการแก้ปัญหาราคากาแฟตกต่ำ ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองได้เข้ามาพบตอนที่ทางกลุ่มหารือกัน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองได้นำเสนอที่จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ตนมีความรู้เรื่องพืช จึงยกระดับเป็นศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

จากปราชญ์เกษตร มาถึงเรื่องการท่องเที่ยว การเสวนานี้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ระยะทางจากระนองมาถึงชุมชนบ้านในวงใช้เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที เป็นทางที่ค่อนข้างไกล ประมาณ 60 กิโลเมตร ในจุดของการท่องเที่ยว ชุมชนนี้ต้องมีจุดเด่นบางประการ จากการที่ได้ไปศึกษาดูงาน ก็พบหมู่บ้านเลี้ยงจิ้งหรีด ทอเสื่อ มีความแปลก ระนองมีความผสมผสานกันหลายเชื้อชาติ เช่น มอญ พม่า อีสาน มีความกลมกลืนที่ค่อนข้างจะแปลก มีความแตกต่างในความเหมือนกัน ทำให้อยู่ร่วมกันได้

สิ่งที่น่าจะดึงดูดใจในด้านการท่องเที่ยวน่าจะสำคัญคือ การขี่มอเตอร์ไซค์ การขี่จักรยาน ได้มีการวางแผนเตรียมตัวในลักษณะนี้บ้างหรือไม่ ค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวและพักโฮมสเตย์ประมาณเท่าไร

นายสมชาย ทิศกระโทก

ถ้ามาเที่ยว 2 วันแล้วพัก 1 คืน คิดราคา 490 บาท ราคานี้รวมอาหาร 3 มื้อและที่นอน 1 คืน แต่จะมีส่วนนักท่องเที่ยวอาจจะต้องจ่ายเพิ่มคือรถนำเที่ยวราคาอยู่ที่คันละ 500 บาทนั่งได้ 8 คน ใน 2 วัน ถ้ามาเป็นกลุ่ม ค่าใช้จ่ายก็จะลดลง ค่าทิปสำหรับไกด์ 300 บาทต่อทริป ราคานี้ถือว่าไม่แพงมาก ชุมชนก็ไม่ได้กำไรมาก

จุดประสงค์ที่แท้จริงของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ได้หารือกันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว สิ่งแรกที่ไม่ได้มองคือเรื่องรายได้ แต่สิ่งแรกที่มองคือการรักษาอัตลักษณ์และวิถีความเป็นคนบ้านในวงเอาไว้ให้มากที่สุดโดยใช้การท่องเที่ยวชุมชนเป็นเครื่องมือ เมื่อมีนักท่องเที่ยว ก็ได้ขายศิลปวัฒนธรรม เพราะมีการแสดงหมอลำ ดนตรีพื้นบ้าน ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ เมื่อมีนักท่องเที่ยวติดต่อไปเดินป่า ก็ต้องรักษาป่าไว้

รายได้เป็นเรื่องรองลงมา ถ้าคนบ้านในวงไมทำการท่องเที่ยวชุมชน ก็สามารถอยู่ได้ คนหนึ่งมีรายได้ปีหนึ่ง 4-5 ล้านบาท บางครั้งขายทุเรียนได้ 10 ล้านบาทแต่ก็ไม่เคยดูถูกเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวชุมชน รายได้จากการท่องเที่ยวทั้งปีไม่เกิน 4 แสนบาท การทำการท่องเที่ยวชุมชนของชุมชนนี้จึงเป็นการทำด้วยใจรัก แต่ถ้าวิถีคนบ้านในวงเปลี่ยนเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวที่มา บ้านในวงก็จะเลิกทำการท่องเที่ยวชุมชน แต่ชุมชนนี้ยังทำการท่องเที่ยวชุมชนอยู่เพราะวิถีชีวิตคนในชุมชนยังไม่ได้เปลี่ยนไป

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

อันที่จริงแล้ว เป็นการสนับสนุนแนวความคิดว่า วัฒนธรรมอยู่กับที่ นักท่องเที่ยวเคลื่อนที่ แต่ในกรณีของชุมชนบ้านในวง วัฒนธรรมเคลื่อนมาแล้ว และนักท่องเที่ยวเคลื่อนมาจากทุกแห่งมายังที่ชุมชนนี้ วัฒนธรรมที่อาจจะซ้ำเดิม แต่ในที่สุด ในอนาคต อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านในวงจะมาอีกรูปแบบหนึ่ง จะกลายเป็นรูปแบบวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการผสมผสาน

นายสมชาย ทิศกระโทก

วัฒนธรรมอาจจะเปลี่ยนแปลงจากเดิม แต่ถ้าอยู่ในวิสัยที่คนในชุมชนยอมรับในวิถีใหม่และมีความสุข ก็ไม่มีปัญหา

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ในการจัดรูปแบบธุรกิจแบบนี้ มีอุปสรรคอะไรบ้างในระยะแรก ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกบ้างหรือไม่

นายสมชาย ทิศกระโทก

ใน 2 ปีแรกของการทำการท่องเที่ยวชุมชน ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเลย แต่ชุมชนนี้ไม่ทำการท่องเที่ยวชุมชนก็อยู่ได้ โฮมสเตย์ที่ชุมชนนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวก็ยังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต่างจากโรงแรมที่อื่น ถ้าไม่มีนักท่องเที่ยว ก็จะอยู่ไม่ได้ โฮมสเตย์ในช่วงที่ไม่มีนักท่องเที่ยว ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของโฮมสเตย์ก็ยังใช้ชีวิตแบบเดิมได้ เมื่อมีนักท่องเที่ยวมา ก็เจียดเวลาส่วนหนึ่งมาดูแลต้อนรับนักท่องเที่ยว ถือเป็นความแตกต่างระหว่างธุรกิจกับการท่องเที่ยวชุมชน

ใน 2 ปีแรก จึงมีทั้งคนที่ทำการท่องเที่ยวชุมชนที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงแรก ทำหลายกลุ่มในพื้นที่ เช่น บ้านทับสุรินทร์โฮมสเตย์ บ้านเนินทองโฮมสเตย์ บ้านบุรีรัมย์โฮมสเตย์ ไม่ได้เกิดการรวมกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่มาช่วงนั้นก็ไม่รู้ว่าต้องติดต่อประสานงานกับใครเป็นหลัก จึงไม่สามารถให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวได้

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวชุมชนบ้านในวงมาจากที่ไหนบ้าง

นายสมชาย ทิศกระโทก

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนไทย

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกี่เปอร์เซ็นต์

นายสมชาย ทิศกระโทก

มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3-4% แต่ไม่เกิน 5% ส่วนใหญ่เป็นชาติตะวันตก เช่น ชาวเยอรมัน อาจจะหลงมาก็ได้ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มาเที่ยวเกาะและได้เห็นชุมชนนี้ บางคนเดินทางมาจากภูเก็ต เพื่อตามหาแหล่งท่องเที่ยวจากภาพเดียวว่าถ่ายที่ไหน เป็นการ share ภาพต่อกัน บางคนมาใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบเพื่ออ่านหนังสือ หรือเขียนหนังสือ บางคนก็ขี่จักรยานมา เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าการเสวนาครั้งนี้ ก็มีคณะขี่จักรยานมา โดยเริ่มจากอำเภอสวี ไประนองแล้วมาที่ชุมชนนี้

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

นักท่องเที่ยวที่หลงเข้ามาเป็นพวกขี่ Big Bike มอเตอร์ไชค์ จักรยาน พอมาถึงชุมชนนี้เวลาค่ำ ก็จะมานอน และก็เป็นกลุ่มที่ถูกดึงดูดมา การตื่นตัวด้านการท่องเที่ยวของชุมชนนี้เป็นไปตามธรรมดาตามกระแสโลก ถ้าที่ชุมชนนี้มีจุดดึงดูด เช่น พอถึงเวลาเก็บทุเรียน คิดจะจัดงานพิธีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาที่ชุมชนนี้บ้างหรือไม่

ถ้ามีการจัดงานประเพณี ก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาค้างคืนที่ชุมชนนี้ ตามเส้นทางที่ผ่านมาถึงชุมชนนี้ ก็ไม่มีหมู่บ้านอื่น คนที่เข้ามาที่ชุมชนนี้จะมีอัตราเสี่ยงหรือไม่ มีการให้ข้อมูลแก่ประชาชนในพื้นที่อื่นบ้างหรือไม่

นายสมชาย ทิศกระโทก

ถ้าต้องการมาที่ชุมชนบ้านในวง ก็สามารถหาข้อมูลได้จาก Facebook เว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ประสานงานที่ปรากฏใน Facebook ลูกค้าที่มาที่ชุมชนนี้ส่วนมากมาจาก Facebook เกือบ 90%

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

หมายความว่า สิ่งที่รศ.ยืน ภู่วรวรรณได้กล่าวไว้เป็นความจริง สิ่งที่เรียกว่า การท่องเที่ยวในรูปแบบ Virtual หรือแบบเปิดภาพดูบนจอโทรทัศน์ หรือจอคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนมาเพื่อค้นหาว่าภาพที่เห็นในจอนั้นอยู่ที่ไหน

นายสมชาย ทิศกระโทก

นักท่องเที่ยวได้มาเห็นชุมชนนี้ แต่ไม่ได้เห็นหมอก

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

การทำการท่องเที่ยวแบบนี้ให้ยั่งยืนควรมีการบริหารจัดการที่ลงตัว มีการทำงานอย่างเป็นระบบ เพราะที่ชุมชนนี้ไม่ใช่ทางผ่านเหมือนที่อื่น ต้องเป็นคนที่ตั้งใจจะมา เมื่อเป็นคนที่ตั้งใจจะมา ชุมชนก็ต้องตั้งใจให้เต็มที่ จากการหารือกับผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ในกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ชุมชน ทำให้ทราบว่า ในการจัดการบางครั้งทำให้นักท่องเที่ยวตกใจ ไม่กล้าอาบน้ำ เพราะไม่กล้าใช้ห้องน้ำ

มีการพัฒนาสมรรถนะของคนในชุมชนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบใดบ้าง

นายสมชาย ทิศกระโทก

มีการเรียนรู้ดูงานนอกพื้นที่โดยอาศัยเครื่องมือจากหน่วยงานราชการเป็นหลักก็คือ งบประมาณและแจ้งความจำนงว่าต้องการไปศึกษาที่ใด ส่วนใหญ่ก็ใช้งบจากพัฒนาชุมชน สำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง องค์การนักศึกษาที่มาร่วมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชนคือ วิทยาลัยชุมชนระนอง ทำเป็นพื้นที่โครงการ Project Based ประมาณ 2 ปี มีการอบรมการเป็นเจ้าภาพที่ดี อบรมหลักสูตรอาหาร อบรมมัคคุเทศก์ อบรมหลักท่องเที่ยวชุมชน มีการไปศึกษาดูงานที่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาดูงานที่ลับแล ศึกษาดูงานที่อัมพวา ศึกษาดูงานที่ถ้ำผึ้ง เกาะพิทักษ์ เรียนรู้ในหลายพื้นที่เพื่อมาตกผลึกเป็นของตนเอง ได้เรียนรู้ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวของหลายพื้นที่

ชุมชนบ้านในวงมีแกนนำด้านการท่องเที่ยวชุมชนอยู่ไม่กี่คน คนที่เป็นนักปฏิบัติมีหลายคน แต่นักคิดมีไม่มาก ก็ต้องการพัฒนาคนที่เป็นนักปฏิบัติเป็นนักคิดแล้วคิดไปพร้อมๆกันหลายๆคน ชุมชนนี้ก็จะสามารถพัฒนาได้ต่อไปไม่เฉพาะในเรื่องท่องเที่ยวชุมชน เพราะเรื่องท่องเที่ยวชุมชนก็คือทุกอย่างในชุมชน

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ในฐานะที่นายสมชาย บุญเขื่องเป็นปราชญ์ชาวบ้านและเกษตร คิดที่จะปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นบ้างหรือไม่

นายสมชาย บุญเขื่อง

ทางศูนย์แก้ไขปัญหาพืชผล ก็ได้ทำธนาคารต้นไม้ เรื่องของไม้ผล คิดว่าจะปลูกอีก 2-3 อย่าง ได้เคยไปศึกษาเรื่ององุ่น แต่ไม่เหมาะสมที่จะปลูกในระนองเพราะจะเน่า จึงไม่ได้ปลูก ได้ไปที่บ้านตีนเป็ด อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พบผักหงุย

นางสุดาพร ยอดพินิจ

เคยอ่านหนังสือพิมพ์แล้วได้ทราบว่า มียุโรปมาส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ที่ระนอง ได้เคยทดลองปลูกแล้วหรือยัง

นายสมชาย บุญเขื่อง

ชุมชนบ้านในวงได้ทดลองปลูกโกโก้แล้วเป็นรุ่นแรกพร้อมๆกับกาแฟ ได้ผลดีแต่ไม่มีตลาดรองรับโกโก้ช่วงนั้น จึงยกเลิกการปลูกต่อ

นางสุดาพร ยอดพินิจ

ตอนนั้นไม่มีตลาดสำหรับโกโก้ ทำไมไม่ปลูกใหม่ช่วงนี้

นายสมชาย บุญเขื่อง

ตอนนี้ไม่มีกระแสของโกโก้เข้ามา ไม่มีพ่อค้ามาแนะนำเรื่องนี้ แต่ตอนนี้ชุมชนทำธนาคารต้นไม้ ปลูกไม้เศรษฐกิจไว้รองรับ

นางจีระวรรณ เศวตะดุล

จากการที่ได้ไปดูงานการท่องเที่ยวของสมาพันธ์การท่องเที่ยวจันทบุรี จึงมองว่า เรื่องงนี้น่าจะทำได้ในตลาดเกี่ยวกับเชิงเกษตร ก็มีเงาะ ทุเรียนและสวนผลไม้อื่นๆ บางฤดูกาล ก็มีสละ ก็มีการจัดสวนเชิงท่องเที่ยว ชุมชนบ้านในวงมีตลาดที่จะต้องส่งออกหรือว่ามีคนมารับโดยตรงแต่ว่า ไม่ได้ทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือให้นักท่องเที่ยวมากิน ชมวิถีการปลูก การเก็บ มันคือกรรมวิธีที่น่าจะไปกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ แล้วก็คิดราคาค่าเข้าเยี่ยมชมเหมารวมคนละ 180 บาท

นายสมชาย บุญเขื่อง

ชุมชนบ้านในวงมีการจัดบุฟเฟต์ผลไม้คิดราคาคนละ 90 บาท

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

กว่าคนจะมาถึงชุมชนบ้านในวง ก็หิวแล้ว คนก็จะมาเสียเงินให้ที่ชุมชนนี้มากกว่า เช่นมากินที่ชุมชนนี้ กรณีศึกษาของปากช่อง ครั้งแรกมีการปลูกข้าวโพด แต่ในปัจจุบัน อโวคาโด องุ่น มีผลไม้ต่างประเทศขึ้นมา ในสมัยก่อนราคาอโวคาโดที่เชียงใหม่ราคากิโลกรัมละ 10 บาท แต่อโวคาโดนำเข้าจากนิวซีแลนด์ราคาผลละ 199 บาท ปัจจุบัน สามารถซื้ออโวคาโดที่ปากช่องได้ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท แต่ที่กรุงเทพขายกิโลกรัมละ 80 บาท

ถ้ามีการปรับปรุงการปลูกพืชในพื้นที่ ก็จะเป็นโอกาส

ในฐานะที่นายแสวงเป็นคนเก่าคนแก่ในพื้นที่ ถ้าถึงเวลาจะกลับไปบุรีรัมย์หรือไม่

นายแสวง แผลติตะ

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2559 ก็ได้ไปบุรีรัมย์ และก็ได้ติดต่อญาติอยู่ ต้องขับรถ 985 กิโลเมตรเพื่อไปถึงอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คนอื่นๆที่ย้ายมาอยู่ที่ชุมชนบ้านในวง เมื่อถึงเวลา จะกลับไปที่บุรีรัมย์หรือไม่

นายสมชาย บุญเขื่อง

ตนเองรู้สึกว่ากลายเป็นชาวระนองแล้ว

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

คนนอกทั้งสามคนนี้เข้ามาเป็นคนใน ทำให้ได้เรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ภูมิใจที่ได้เห็นคนไทยที่มาอยู่ร่วมกันที่ชุมชนนี้แล้วมาช่วยกันทำงาน (35.20)

ช่วงถาม-ตอบ

นางจีระวรรณ เศวตะดุล

ถ้าจะขอข้อมูลเกี่ยวกับการมาเยี่ยมชุมชนบ้านในวงในแต่ละช่วงว่า ช่วงใด ควรจะมาทำกิจกรรมอะไร จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน

นายสมชาย ทิศกระโทก

ทางชุมชนยังไม่ได้ทำปฏิทินกิจกรรมท่องเที่ยวไว้ ถ้าต้องการข้อมูล อาจจะต้องประสานมาทางโทรศัพท์ อาจจะมีการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมลงใน Facebook

นายชัยวัฒน์ ชูชัยนิรันดร์

จากที่ได้ฟัง รู้สึกสนใจที่มา คิดว่าชุมชนนี้เป็นแบบอย่างของที่อื่น แล้วการก่อตั้งสมัยนั้น ชุมชนมีลักษณะเป็นผู้นำมา ถ้าชุมชนนี้จะไปพัฒนา ในสมัยนี้อาจจะลำบากกว่าสมัยก่อน สมัยนี้มีความคิดมากขึ้น สมัยก่อน พอมา ก็เชื่อฟังผู้นำ อยู่ได้เพราะปกครองง่าย ชุมชนนี้เป็นแบบอย่างที่ดี รวมกันได้แล้วอยู่กันมาได้ถึง 30 ปี เป็นชุมชนตัวอย่างที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง อนุรักษ์วัฒนธรรมได้ดี

นายสมชาย ทิศกระโทก

ในเรื่องของการปกครองของชุมชนบ้านในวง ซึ่งมี 6 หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านบริหารจัดการชุมชนแบบคุ้มบ้าน เช่น บ้านบุรีรัมย์มี 150 ครัวเรือน ใช้การแบ่งคุ้มบ้านออกเป็นทั้งหมด 9 คุ้มบ้าน ในแต่ละคุ้มบ้านที่ถูกแบ่งออกมามี 9-15 หลังคาเรือน แต่ละคุ้มบ้านมีหัวหน้าคุ้ม เรียกว่า ประธานคุ้ม ซึ่งมีประธานคุ้มทั้ง 9 คุ้ม ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกอย่าง แต่ไม่ทำอยู่ 2 อย่างคือ ไปรับค่าตอบแทนที่อำเภอกับไปประชุมอำเภอ ของเดิมมีอยู่ 3 คน ของใหม่อีก 9 คน รวมเป็น 12 คน บ้านบุรีรัมย์มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 12 คน ขึ้นมาทำงานและมีครัวเรือนที่ตนเองดูแลประมาณ 9-15 หลัง ในการพูดคุยกัน แก้ปัญหา การตอบสนอง ความรวดเร็วต่างๆในการดูแลง่ายขึ้น ก็ต้องมาประสานที่ระบบคุ้ม แม้แต่การเรี่ยไรเงินทำบุญ หัวหน้าคุ้มเรี่ยไรแค่ 15 หลัง ใช้เวลาไม่มาก เกิดการแข่งขันและพัฒนาแต่ละคุ้ม แม้แต่ในเรื่องค่าน้ำ ที่ชุมชนบ้านในวงให้สิทธิ์แก่คุ้มบริหารจัดการเอง เก็บเงินค่าน้ำมาได้ ก็เก็บเงินไว้ที่คุ้มบ้าน คุ้มบ้านสามารถบริหารเงินก้อนนี้ได้โดยอิสระ นี่คือรูปแบบของการกระจายอำนาจการปกครอง ทุกวันนี้ ชุมชนบ้านในวงทั้ง 6 หมู่บ้านใช้การบริหารจัดการแบบคุ้มบ้าน การบริหารแบบนี้เป็นประโยชน์ต่อการปกครองและการประสานงานในหลายเรื่อง

นายชัยวัฒน์ ชูชัยนิรันดร์

อบต.ในเขตที่ชุมชนบ้านในวงอยู่ ได้เข้ามาดูแลหรือไม่

นายสมชาย ทิศกระโทก

ทุกๆพื้นที่ อบต.มีงบน้อย เมื่อมีปัญหาจึงไม่ควรไปตำหนิอบต. ดังนั้นจึงของบยาก เมื่อขอไป แม้จะมีงบ แต่ไม่มีในแผนก็ทำไม่ได้ อบต.ไม่ค่อยได้มาส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน แต่ช่วยส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า กลุ่มอาชีพที่ไม่ใหญ่มาก

ถ้าเป็นเรื่องหมู่บ้าน ชุมชน หน่วยงานหลักที่ช่วยได้จริงคือ สำนักงานพัฒนาชุมชนและสำนักงานพัฒนาเกษตรระนอง ก็จะทำในแผนที่ชุมชนบ้านในวงเสนอเข้าไป ในการช่วยคิดหรือส่งเสริมต้องขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของอบต.ด้วย

ในชุมชนบ้านในวง มีทั้งคนชอบและไม่ชอบการทำการท่องเที่ยวชุมชน วิธีการแก้ปัญหาคือมอบบทบาทหรือตำแหน่งแก่ผู้ที่ไม่เห็นด้วย เช่น แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา ให้มีโอกาสได้รับรู้ แต่อาจจะไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นประจำก็ได้ แต่ไม่จำเป็นจะต้องไปปรึกษาเรื่องที่สำคัญ บุคคลเหล่านี้ต้องการเกียรติยศ และจะไม่คัดค้าน

นายชัยวัฒน์ ชูชัยนิรันดร์

เรื่องเกษตร เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยว 2 จังหวัด ระนองเป็นผู้ลงทุน เจ้าหน้าที่ของระนองมาทำให้ทุกอย่าง แต่ส่งผลผลิตไปขายที่ชุมพร อาจจะไม่ได้ส่งมาขายที่ระนองเพราะส่งไปลำบาก ภาครัฐมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้

นายสมชาย ทิศกระโทก

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ต้องจัดรถขึ้นมาฝากเงินสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน อยู่ประมาณเกือบ 3 เดือน 90% ของเงินที่ไหลออกไปที่ชุมพร คิดเป็นเงินหลายร้อยล้านบาทซึ่งเกิดจาก GDP ของชุมชนบ้านในวง หน่วยงานภาครัฐมาช่วยรณรงค์ให้ฝากเงิน

นางสาวพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

จากการที่ได้ไปเยี่ยมชุมชนส่วนมาก คนที่ทำงานขับเคลื่อนส่วนมากเป็นคนรุ่นเก่า ที่ชุมชนบ้านในวงมีการส่งต่อไปยังคนรุ่นใหม่หรือเยาวชนบ้างหรือไม่ ในชุมชนบ้านในวง มีปัญหาเรื่องยาเสพติดหรือเรื่องที่ไม่ดีบ้างหรือไม่ และจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

นายสมชาย ทิศกระโทก

ปัญหาหลักด้านยาเสพติดที่ชุมชนบ้านในวงคือเรื่องน้ำกระท่อม และมีปัญหาเรื่องยาบ้า ยาไอซ์ประปราย ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบและจับกุมได้ก็มาจากฝั่งด้านนอก เขาคาด ฝั่งทุ่งตะโก ชุมชนบ้านในวงเป็นเส้นทางผ่านจากชุมพรไประนอง ชุมชนบ้านในวงมีโรงเรียนสังกัดอบจ. เป็นแห่งเดียวที่สังกัดอบจ.ระนอง มีแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กที่เรียนจบทั้งหมดจึงไปเรียนต่อนอกพื้นที่โดยเฉพาะไปเรียนที่ชุมพร แทบจะไม่มีไปเรียนต่อที่ระนองเพราะเดินทางลำบาก เด็กเกือบ 200 คนที่ต้องออกไปเรียนระดับขยายโอกาสนอกพื้นที่ ปัญหาคือยังไม่มีโรงเรียนระดับขยายโอกาส เช่น โรงเรียนมัธยมศึกษา ในชุมชนบ้านในวง มีการผลักดันขับเคลื่อนกันหลายครั้ง ทั้งผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะของหมู่บ้าน การรวมกลุ่มของ 2 ตำบล ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดการขยายได้ สรุปข้อจำกัดคือบุคลากร ไม่มีครูมาที่ชุมชนบ้านในวง เนื่องจากเป็นพื้นที่ลำบาก ตอนนี้มีแนวคิดคือ ดึงนักเรียนที่เรียนจบจากชุมชนบ้านในวงกลับมาเป็นครูในพื้นที่ เริ่มมีบ้าง แต่ยังไม่มาก อีกวิธีคือส่งเสริมให้แต่งงานกับคนในชุมชน ก็จะไม่ออกนอกชุมชน หมอที่มาที่ชุมชนบ้านในวงเมื่อหลายปีที่ผ่านมาบอกว่า เคยน้อยใจที่ถูกส่งมาที่ชุมชนนี้เพราะคิดว่าเป็นพื้นที่ลำบาก แต่ปัจจุบันมีสวนทุเรียนที่ชุมชนบ้านในวง

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

มองอนาคตของชุมชนบ้านในวงอย่างไร นี่เป็นเครือข่ายหนึ่งของประเทศ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอให้ทำให้สำเร็จในนโยบายของประเทศ ลูกหลานก็โตขึ้น แต่พ่อแม่ก็แก่ลงเรื่อยๆ ตอนที่ไปจังหวัดตากพบว่า ลูกหลานออกนอกพื้นที่เพราะทำการเกษตรไม่เป็น ควรคิดว่า เยาวชนจะเป็นอย่างไรในอนาคต ต้องปลูกฝังให้เด็กไม่บ้าปริญญา แต่สอนให้รักชุมชน ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จูงใจให้จงรักภักดีต่อผืนแผ่นดินในชุมชน สิ่งที่ชุมชนบ้านในวงทำมา 30 ปี ปัจจุบันก็เป็นนโยบายของรัฐบาล ควรจะยกระดับโฮมสเตย์ให้เป็นมาตรฐานโลก ควรจะเชื่อมโยงกับนักธุรกิจที่จะส่งต่อนักท่องเที่ยวมาให้ ควรนำภาพของชุมชนลงอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายกับนักธุรกิจที่มาที่นี่ ควรหล่อหลอมลูกหลานทำงานจุดนี้

ผลการเลือกตั้งคณะกรรมการรุ่น

1. นางสุดาพร ยอดพินิจ ประธานร่วม

2. นายรุ่งโรจน์ ใหม่ซ้อน ประธานร่วม

3. นายชาญณรงค์ บุญชม รองประธานร่วม

4. นางจีระวรรณ เศวตะดุล รองประธานร่วม

เลขานุการ

1. นายนันทวัฒน์ กาญจนพยัคฆ์

2. นางสาวสุวรรณา หาญชนะ

3. นางจินตนา ไพบูลย์

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก)
https://www.youtube.com/watch?v=GdWfnGLNhik&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะ­วันตก ออกอากาศเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

15 มกราคม 2559

การนำเสนอโครงการสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬาสู่อาเซียน

ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากวิทยากร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชยทั้ง 4 กลุ่ม ที่สามารถนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ได้อย่างมีคุณภาพสูงมาก

การทำงานของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จอยู่ที่สิ่งที่ได้นำเสนอไปที่จะได้รับการดำเนินการต่อไป ข้อเสนอโครงการจากทั้ง 4 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางชุมชนต่างๆ เรื่องเกษตร ท่องเที่ยวกีฬา สุขภาพอนามัยและชุมชน เป็นเส้นทางใหม่ที่ทำได้จริง ถือเป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นที่ระนองและมีคุณค่า และมีการกระชับพื้นที่ในการที่ทำให้สิ่งที่คิดไว้เกิดคุณประโยชน์อย่างมาก แต่ละกลุ่มสามารถนำเสนอได้ละเอียดมาก แต่ละเรื่องก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะผู้นำ จริยธรรม ปัญญา เครือข่าย แม้กระทั่งเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในแนวของรศ.ยืน ภู่วรวรรณ นี่คือสิ่งที่น่าประทับใจ

ข้อสรุปก็จะได้รับการนำไปสังเคราะห์และวิเคราะห์ ถึงแม้ว่างบประมาณอาจจะมาในปี 2560 เดือนพฤศจิกายน อาจจะได้มีโอกาสพบกันอีกครั้ง ผู้เข้าร่วมประชุมควรกล้าเสนอโครงการ เชิญคณะผู้จัดงานไปเยี่ยมเยียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ให้ข้อเสนอแนะต่อดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีว่า ถ้าจะกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า ไม่ต้องใช้นโยบายประชานิยมแบบในอดีตที่ต้องมีงบมาประมาณมาลงที่หน่วยงานต่างๆ เครือข่ายผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดแต่เครือข่ายนี้ยังไปสู่มาตรฐานโลกไม่ได้ ยังขาดความรู้ต่างๆ

กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีอาจารย์เป็นผู้นำเสนอ ก็เป็นผู้มีความเข้าใจ หรือแม้กระทั่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้มาร่วมประชุมครั้งนี้เป็นเวลา 2-3 วัน ก็ลุกขึ้นมาถามตั้งแต่วันที่รศ.ยืน ภู่วรวรรณมาบรรยายเพราะมีความสนใจที่จะทำโครงการต่อเนื่อง ถ้าโฮมสเตย์ของนางจินตนา ไพบูลย์ยกระดับมาตรฐานขึ้นไปอีก ไปเชื่อมโยงกับโฮมสเตย์อื่นๆ ก็จะไปสู่ระดับ World-class ได้คือประกอบด้วยภูมิปัญญา ธรรมชาติ ห้องน้ำ ร้านอาหาร การสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว เรื่องสุขอนามัยสำคัญมาก ในการประชุมครั้งนี้โค้ชได้แนะนำแนวทางที่ดีเพื่อไปสู่มาตรฐานโลก

หลังจากการประชุมครั้งนี้จบลง ขอให้ดร.จีระเดช ดิสกะประกายประสานผู้เข้าร่วมประชุมผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ ความรู้ในการประชุม 3 วันนี้ ตรงกับความต้องการของผู้เข้าร่วมประชุมและสร้างมาตรฐานได้แน่นอน การไปสู่มาตรฐานโลกต้องทำอย่างต่อเนื่อง การทำท่องเที่ยว 1 ชุมชน ต้องเริ่มจากระดับชุมชน ภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ในการประชุมครั้งนี้

ขอบคุณคนตั้งโจทย์ในการหารือกัน รศ.ยืน ภู่วรวรรณกล่าวว่า จะส่งคนมาให้ความช่วยเหลือด้านไอทีแก่ชุมชน รศ.ยืน ภู่วรวรรณเสนอให้ใช้ smartphone เชื่อมโยงกับลูกค้าใหม่ๆในโลกนี้ ดังนั้นข้อมูลควรเป็นภาษาต่างประเทศด้วย เมื่อมีนักท่องเที่ยวมา 1 คน ก็กระจายข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวรายอื่นๆตามมาด้วย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะมาพบกับประธานรุ่น 2 ท่านเพื่อหารือการทำโครงการในระยะต่อไป หลังเดือนมีนาคม 2559 เป็นต้นไป

แม้ว่าจะเป็นคลัสเตอร์เล็กที่ระนอง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ชอบกลุ่มที่เสนอให้มีการขยายรันเวย์ระนอง

ถือว่าดีจะได้รองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ระนองจะต้องมีมาตรฐานที่ดีกว่า บ่อน้ำพุร้อนของระนองยังเป็นแบบดั้งเดิม ไม่น่าสนใจ ต้องทำให้บ่อน้ำพุร้อนเป็นมาตรฐานโลก อาจจะปรึกษาสถาปนิกอย่างดร.จีระเดช ดิสกะประกาย ปัญหาคืออบจ.ดำเนินการเองโดยไม่ฟังเสียงประชาชน แต่ข้อดีคือนายธงชัย เจริญพานิชย์กุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง มีความเข้าใจและมาร่วมโครงการถึง 2 ครั้ง

ขอแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมประชุม และขอให้คณะทำงานหารือกันเกี่ยวกับโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะต่อไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเอาชนะอุปสรรค การท่องเที่ยวชุมชนมีอุปสรรคมหาศาล และอุปสรรคในการก้าวไปสู่มาตรฐานโลกก็มีมหาศาลด้วยเช่นเดียวกัน และต้องชนะเล็กๆก่อน คือใฝ่รู้ มีพลังคือความบ้าคลั่งที่ทำให้งานเป็นเลิศ และควรร่วมมือกัน ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับเทคโนโลยีอย่างสมดุล แล้วนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับบนมาเที่ยวได้

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ผู้เข้าร่วมประชุมควรทำตัวเหมือนถ่านไฟแบตเตอรี่ใส่ในของเล่นเดินเอง ไม่ต้องรอให้ใครไขลาน ตอนนี้ ยังเป็นเหมือนของเล่นไขลาน ใครให้เดินไปทางไหนก็ไป

การนำเสนอของทั้ง 4 กลุ่ม มีสิ่งที่ขาดหาย คือเวลา กล่าวถึงชุมชน คนไทย อาเซียน นานาชาติ ยังขาดความเชื่อมต่อกัน กลุ่มการท่องเที่ยวสุขภาพก้าวไปสู่ระดับนานาชาติ ในขณะที่กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก็กล่าวถึงการนำคนไทยมาท่องเที่ยวในประเทศ

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมยังขาดกลุ่มช่วยคิด ต้องคิดก้าวหน้า ถ้าวางเส้นทางการเดินทางแล้ว เวลาที่คนมาจากกรุงเทพ จะไปกินอะไรแต่ละที่ เช่น ไปกินขนมหม้อแกงที่เพชรบุรี กินอาหารที่ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อมาที่ชุมพร ก็ต้องมาดื่มกาแฟ แต่เมื่อมาถึงระนองคนจะกินอะไร

อีกกลุ่มนำเสนอว่า ชุมพรผลิตกาแฟได้ปีละ 5,000 ตัน ระนองผลิตกาแฟได้ปีละ 4,000 ตัน ดังนั้นคลัสเตอร์นี้ผลิตกาแฟรวมเกือบ 10,000 ตัน ควรจะมีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่าง 4 จังหวัดนี้ แล้วจะเกิดพลังแรงขึ้นมา

อีกเรื่องคือสนามบิน คนมาเที่ยวระนองมาจนครบหมด มาจนมาไม่ได้ ไม่มีเครื่องบินจะมา จะเป็นการบังคับให้เกิดการขยายสนามบินโดยปริยาย สายการบินจะรุมกันมาถ้าคนเข้าแถวมา ตอนนี้คนมาระนองเหมือนรถบขส.เพราะวิ่งวันละ 2 เที่ยว ถ้ามีจุดสนใจให้คนระนองผลักดันกัน เช่น ในวันนักขัตฤกษ์ ประเพณีต่างๆ ก็จะสังเกตเห็นความหลากหลายในชาติพันธุ์ของระนอง ความหลากหลายของระนองไม่ได้มีเฉพาะระนองกับเมียนมา ในเมียนมาก็มีมอญ ยะไข่ พื้นที่ระนองเป็นพื้นที่ดีมากในอดีต เคยมีหมู่บ้านชาวประมงเพียงไม่กี่หลัง เมื่อคนหาปลา ก็มาหลงที่บริเวณนี้ ในที่สุดก็สร้างเป็นชุมชน มีกลุ่มฮกเกี้ยนมาก่อน ตามมาด้วยกลุ่มไหหลำ และกลุ่มแต้จิ๋ว เกิดชุมชนขึ้นมา กลายเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2559 ได้ไปดูงานกลุ่มชาวอีสานที่มาอยู่ที่ระนองเพราะกาแฟขายได้ราคาดี กิโลกรัมละ 80 บาท ต่อมาราคาลดลงเหลือกิโลกรัมละ 8 บาท ตอนนี้ปลูกทุเรียน แล้วฟันต้นยางขาย จึงได้เสนอให้ปลูกกาแฟร่วมกับพืชชนิดอื่น ถ้าพื้นที่บ้านในวงดี ก็น่าจะทำให้เป็นอัตลักษณ์ชัดเจนขึ้น แต่การเดินทางไปยังบ้านในวงค่อนข้างไกลและทางคดเคี้ยว ถ้ามองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจะล้มเหลว ถ้าเป็นศูนย์ผลิตสินค้าส่งขายต่างประเทศ จะดีกว่า ถ้ามีความหลากหลายในแนวคิด ฝ่ายวิจัยและพัฒนาหรือกลุ่มนักคิดควรรวมกลุ่มหารือกันเป็นประจำ จากการที่ไปที่ชุมพร นางจินตนา ไพบูลย์ได้พาไปดูงานที่สถานที่ต่างๆที่น่าสนใจ จากมุมมองคนนอกภาคเกษตร เห็นว่า พื้นที่แถบจังหวัดระนองและชุมพรสามารถทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงชาวโลกได้ สิ่งสำคัญคือต้องดูเชิงว่า ผู้ที่ต้องการ ต้องการอะไร ควรทำงานแบบรู้เขา รู้เรา กลุ่ม 4 จังหวัดนี้น่าจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ดีมาก

ในเรื่องกีฬา จะมีการปรับให้เป็นกีฬานานาชาติ ถ้าเปิดประชาคมอาเซียนแล้วมีกีฬาสุวรรณภูมิ ควรทำงานอย่างมด คิดบริหารอย่างปลวก 2-3 ชั้น และใช้สมองอย่างหนอนที่เข้าไปไชชอน จะทำให้ไปได้ไกลกว่ามาก

ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ

รู้สึกดีใจแทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและระนอง ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติได้เคยมา

ระนองตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ระนองเป็นทำเลที่มีทรัพยากรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากมาย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เล็งเห็นว่า ระนองเป็นจุดที่สำคัญจึงได้มาสร้างวิทยาเขตที่ระนอง ลงทุนสร้างตึกไป 200 กว่าล้านบาท ในปัจจุบันนี้ ก็ได้ดำเนินกิจการมหาวิทยาลัย รับนักศึกษาในหลักสูตรต่างๆ

เป็นที่ทราบกันว่า ระนองเป็นเมืองเล็ก ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทายังไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติให้ชาวระนองเรียนและทำงานในระนอง จากการที่ได้ฟังข้อเสนอแนะจากหลายฝ่าย ทำให้ต้องกำหนดกลยุทธ์ใหม่ เพราะระนองไม่เหมือนเดิม กลายเป็นเพชรเม็ดใหม่

ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมแข็งขัน จากการสนทนากับผู้เข้าร่วมประชุม ทำให้เห็นว่าเป็นเพชรเม็ดใหม่ ที่ค้นพบใหม่ ซึ่งอาจจะเจียระไนไว้แล้ว ตอนนี้เริ่มจะส่องแสงเป็นประกายสร้างความมั่งคั่งในแถบทะเลตะวันตก เป็นไปได้แน่นอนภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ก่อนต้องรอ 10 ปี แต่ปัจจุบันเป็นยุคดิจิตอล

อีกสิ่งที่สำคัญคือ เวลา เวลาไม่ใช่อุปสรรค สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง นอกจากมีเว็บไซต์และ Facebook แล้ว สามารถใช้โทรศัพท์มือถือทำงานได้ทุกแห่งและทุกเวลา สามารถสนทนากันแบบเห็นหน้าได้โดยทันที ทำให้ใช้เวลาสั้นลงที่จะพัฒนาและสร้างความมั่งคั่งสำหรับฝั่งทะเลตะวันตก ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกจะเจริญแบบก้าวกระโดดและเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือไปเป็นหลังมือ คนที่จะสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้นก็คือผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาปักธงเพื่อสร้างความร่วมมือร่วมกัน ให้เกิดศักยภาพที่จะเสริมให้เครือข่ายแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ตามคติตะวันตก ยื่นมือท่านมาก่อน แล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน ดังนั้นไม่ควรจะรอการสนับสนุนจากรัฐบาล จังหวัด หรืองบจากภายนอก แต่ต้องรู้จักพึ่งตนเอง พัฒนาตนเอง และต้องมีความร่วมมือซึ่งกันและกัน คือต้องมีเครือข่ายทุกกลุ่ม ต้องมีความรักและต้องทำให้คนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เครือข่ายที่ดีควรจุดประกายให้คนมีความร่วมมือประสานกันในเรื่องของคน ทรัพยากร และต้องได้ผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น ในเรื่องเงิน โอกาส เวลา ตรงนี้ต้องมีการแบ่งปันกัน การมีกำไรก็ควรจะมีความสมดุลกันระหว่างสังคมส่วนร่วมและตนเอง

เหตุผลของการประชุมครั้งนี้คือเนื่องจากการศักยภาพของผู้เข้าร่วมประชุมมีความหลากหลาย จึงให้มีการเสริมศักยภาพของเครือข่ายในทุกมิติ ทุกแห่งมีอุปสรรค แต่ก็เป็นความท้าทายในการหาทางแก้ปัญหาและทำเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ประเด็นในการทำเครือข่าย การประสานงานร่วมมือกันยังไม่ดีเท่าที่ควร ต้องเสริมศักยภาพ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เครือข่ายสร้างผลผลิตเดียวกันแต่ขายทั่วประเทศดังนั้นจึงควรมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย

สุดท้าย ไม่ว่าเครือข่ายจะใหญ่ หรือเล็ก ควรมีการสร้างสมานฉันท์ร่วมกันในการสร้างสรรค์ส่งเสริมความสุขและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน แต่ละคนควรถอยคนละก้าวและหารือกัน แล้วจะสร้างความมั่นคงและยิ่งใหญ่ให้กับประเทศไทย

ขอปรบมือให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่จะสร้างความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งให้ระนอง

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

วิทยากรทุกท่านได้สรุปถึงแก่น เห็นด้วยกับวิทยากรทุกท่าน เป็นการสรุปที่กินใจ ปลูกจิตสำนึก ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ มีกระบวนการและที่สำคัญที่สุดคือความหลากหลาย ที่ระนองมีความหลากหลายทางด้านทุนมนุษย์ สนใจทฤษฎี HRDS ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มากว่า บนความหลากหลายต้องดึงโอกาสของความหลากหลายทางด้านทุนมนุษย์ ให้เกิดประโยชน์ต่อระนองมากที่สุด ไม่มีการเกี่ยงกันเรื่องชาติพันธุ์ จากการที่ได้สนทนากับชาวระนอง ทำให้ทราบว่า คนระนองเหลือจำนวนน้อยลง เมื่อแต่งงานกันแล้ว เด็กที่เกิดขึ้นมาก็มีสัญชาติไทย เพราะฉะนั้นการที่ให้เกียรติและศักดิ์ศรีแก่เด็กเหล่านี้ โดยกฎหมายประจำชาติและกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ก็เป็นคนไทยแล้ว ทำอย่างไรที่จะนำความหลากหลายที่มีอยู่ในตัวคนเหล่านี้มาสร้างประโยชน์แก่ระนองให้มากที่สุด

ในกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เข้าทฤษฎีทุนมนุษย์ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือปลูกคนแล้วพัฒนาให้เป็นคนที่มีคุณภาพ แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นประชากรชั้นสอง แล้วลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ทำศูนย์กลางด้านสุขภาพ (Health Hub) ในระนอง คนเหล่านั้นก็จะเป็นแรงงานและทรัพยากรที่มีประโยชน์ที่จะสร้างระนองให้ไปสู่เป้าหมายต่างๆ

สุดท้าย ควรทำให้มนุษย์ SMART ซึ่งประกอบด้วย

  • Synergy
  • Man บริหารจัดการคนให้มีคุณภาพ
  • Alignment of Objectives ต้องหารือกับทุกกลุ่มเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์สอดคล้องจึงจะเกิดพลังขึ้น
  • Reality ค้นหาความจริงแล้วใช้ ทฤษฎี 2R’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้เกิดประโยชน์
  • Technology ใช้เทคโนโลยีให้มากและอย่างคุ้มค่า

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ขอบพระคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และวิทยากรทั้ง 3 ท่านที่ได้ให้ความคิดเห็นที่หลากหลาย และ

กว้างขวาง จะขอนำกลับมายังกระบวนการการเรียนรู้ จากการนำเสนอของทั้ง 4 กลุ่ม ขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมคิดย้อนกลับไปถึงวันแรกของการประชุม เป็นการดำเนินการตามกระบวนการเป็นขั้นตอน

จากวันแรก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาบรรยายเรื่องทุนมนุษย์ ให้การบ้านเป็นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม มีปัญญาเพื่อให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็นที่จะไปทำงานต่อไป ต้องมีคุณธรรมเป็นตัวกำกับ ทุกกลุ่มได้นำเสนอประเด็นนี้ แสดงว่า มีความเข้าใจในบทเรียนที่ได้รับจากการประชุมวันแรก

ในวันที่สองของการประชุม อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์มาบรรยาย ไม่ควรลืมกระบวนการที่ได้เขียนไว้บน flipchart เพราะรายละเอียดก่อนที่จะเป็นโครงการที่นำเสนอ ก็อยู่ใน flipchart วันที่สองของการประชุม ก่อนที่จะหลายเป็นประเด็นที่เข้มข้นที่ร่วมกันคิดวิเคราะห์ในวันที่สองของการประชุม ถือเป็นขั้นตอนที่ฝ่ายวิชาการคิด และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้วางแผนกิจกรรมในแต่ละวัน

ในการนำเสนอของทั้ง 4 กลุ่ม ความสำคัญของการนำเสนอขึ้นอยู่กับการกระชับแก่นของการประชุมปฏิบัติการก็คือ องค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้ตั้งแต่วันแรกของการประชุม มีวิทยากร 4 ท่านนำเสนอ กรณีศึกษา และความคิดใหม่ รศ.ยืน ภู่วรวรรณถ่ายทอดความรู้ด้านไอที อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ให้ความรู้ด้านการตลาดแบบใหม่

การนำเสนอในวันสุดท้ายของการประชุมครั้งนี้เป็นการกระชับองค์ความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผสมผสานกับ Learn, Share, Care คือการฟัง คิด และยอมรับซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำกิจกรรมกลุ่ม สมาชิกคนใดคนหนึ่งอาจมีความคิดว่าบางเรื่องดีมาก แต่ถ้าคะแนนเสียงเอกฉันท์มีมติว่า เรื่องอื่นดีกว่า ความคิดของสมาชิกผู้นั้นจะต้องตกไปก่อนแต่ไม่ควรละทิ้งความคิดนั้น ถ้าเป็นความคิดที่ดี ก็อาจจะนำกลับมาใช้ได้ ถือเป็นกระบวนการรับฟังเสียงข้างมาก หรือผ่านกระบวนการที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอน Learn, Share, Care ก็คือ V ตัวที่ 3 Value Diversity ทั้ง 3V’s เป็นกระบวนการ ไม่ได้เกิดแค่โครงการที่นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ การที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้มาอยู่ร่วมกันเกิด Value Added แล้ว เพราะทุกคนมีคุณค่าในตัวเองเพิ่มเข้าไป เมื่อเกิดโครงการใหม่ ก็คือ Value Creation ซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ Value Diversity ก็คือความหลากหลาย แต่ละกลุ่มนำเสนอไม่เหมือนกัน เชื่อมต่อมายังการกระตุ้นในวันสุดท้ายของการประชุม แล้วเกิดความคิดร่วมกัน กระตุ้นความเป็นเลิศของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน แล้วไปสู่การนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

กลุ่ม 4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีข้อมูลแน่นเพราะทำเอง ยึดหลักในหลวงซึ่งไม่ทำให้พลาดแน่นอน นอกจากนี้ คิดจริง ทำจริง นำเสนอเก่ง เพราะชุมชนต้องใช้ความพยายามนำเสนอจนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นกระบวนการนำเสนออย่างธรรมชาติ แต่จุดอ่อนก็คือ ยังคิดกว้างไม่ได้มาก ยังขาดเชื่อมโยงไปยังอาเซียน เพราะฉะนั้น ภาครัฐและเอกชนต้องคิดไปเพิ่มเติม กลุ่ม 3 เก่งมาก มีสมาชิกเป็นนักวิชาการจำนวนมาก นักวิชาการก็ต้องไปช่วยแต่ละกลุ่มเติมเต็มเข้าไปในส่วนที่ขาด จะเห็นว่า ถ้ามีคนไปช่วยก็จะยิ่งดีมาก

กลุ่ม 3 กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีสมาชิกเป็นนักวิชาการจำนวนมาก จึงมีการนำเสนอสิ่งใหม่ แต่ไม่ลืมของเดิมคือ สุขภาพกระแสหลักหรือการรักษาพยาบาล ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม และไม่ลืมสุขภาพทางเลือกและภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ลืมเรื่องอาหาร ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่น่าชื่นชม กลุ่ม 3 ช่วยเติมเต็มเรื่องอาหารปลอดภัย สิ่งที่เด่นที่สุดในกลุ่มนี้คือ การคิดเรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากน้ำแร่ นี่เป็นตัวอย่าง ถ้าที่ใดไม่มีน้ำแร่ ก็คิดอย่างอื่นได้ กลุ่ม 3 นำเสนอได้ดีเพราะมีภาควิชาการที่สามารถนำเสนอได้โดดเด่น เป็นขั้นตอน สิ่งใหม่ของกลุ่มนี้เชื่อมโยงได้ด้วยการพัฒนาโลจิสติกส์ใหม่ๆ ขยายรันเวย์และเส้นทางบิน จะเห็นได้ว่า ถ้ามีการรับฟัง ก็จะเติมเต็ม

กลุ่ม 2 กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญเป็นโค้ชประจำกลุ่ม กลุ่ม 2 มีสมาชิกเป็นนักคิดและนักปฏิบัตินำเสนอเรียบๆ แต่ได้นำเสนอโมเดลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ โดยเริ่มจากเมืองสู่ท้องถิ่น ชุมชนสู่อาเซียน แล้วทิ้งท้ายเรื่องเส้นทางไว้ กลุ่ม 2 นำเสนอไม่เก่ง กลุ่ม 2 ไม่ได้นำเสนอว่าการกีฬาที่หมายถึงในโครงการที่นำเสนอคือการปั่นจักรยาน แต่เป็นการเก็บผลไม้แล้วไปปีนเขาไปนอนบนเขา ชมกลุ่มสุรินทร์ที่เป็นชาวอีสานที่อาศัยอยู่บนเขา แล้วไปล่องแก่งที่พะโต๊ะ และทะเล เป็นการนำโมเดลไปเป็นหลัก ไตรกีฬาของกลุ่ม 2 คือ กีฬา 3 ประเภท กลุ่ม 2 มีความโดดเด่นที่เลือกโมเดลขึ้นมา

กลุ่ม 1 กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชน มีผู้นำที่มาจากภาคเอกชน นำเสนอได้ดีมาก โดดเด่น สร้างความน่าสนใจ สิ่งที่ดีมากของกลุ่ม 1 คือการยกระดับมาตรฐานและราคา คือสิ่งที่รัฐบาลต้องการให้ทำคือกล้า ชุมชนก็นำไปใช้ได้ ถ้ามีห้องน้ำ ห้องนอน อาหารดี ก็สามารถยกระดับมาตรฐานโดยการร่วมมือกับเอกชน วิชาการแล้วนำกลุ่มกีฬาเข้าไป ก็จะทำให้โดดเด่น เมื่อมีคนมาเที่ยวที่ชุมชน ก็ย้อนกลับมาสู่เอกชนได้ กลุ่ม 1 นำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมีความโดดเด่นอยู่แล้ว ควรเชื่อมโยงกับชุมชนบ้านในวงที่มีคนย้ายมาจากบุรีรัมย์ สุรินทร์ จะทำให้คนจากจังหวัดเหล่านี้มาท่องเที่ยวมากขึ้นเพราะชาวบุรีรัมย์รวยแล้ว มีสนามไอโมบาย ก็อาจจะสนใจมาเที่ยวชุมชนชาวบุรีรัมย์ในภาคอื่น อย่างชุมชนบ้านในวงที่มาผลิตกาแฟ ชาวอีสานมีความรักพวกพ้อง ต้องสนใจมาชิมกาแฟที่ระนอง ซึ่งขายให้ชุมพรด้วย ชาวบุรีรัมย์ต้องการมาเยี่ยมญาติ มาชมการแสดงพื้นบ้านเช่นเซิ้งอีสาน เชื่อมโยงไปถึงกัมพูชาและลาว คือเรื่อง Value Diversity อีกตัวอย่างคือ กรณีศึกษาไทดำ ชาวไทดำอาศัยอยู่ในหลายจังหวัด เช่น น่าน อุบลราชธานี และราชบุรี ซึ่งชาวไทดำอพยพมาจากเวียดนาม ทำให้ชาวเวียดนามจำนวนมากไปที่หมู่บ้านไทดำเพราะถือว่าไปเยี่ยมญาติ

สรุปว่า ทั้ง 4 กลุ่มทำ 2 อย่าง จะเห็นได้ว่า ผู้นำมีความหลากหลายในแต่ละกลุ่ม ก็ต้องเสริมแรงซึ่งกันและกันและนี่เป็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนเรื่องภาวะผู้นำ ต้องมีการกระตุ้นความเป็นเลิศ แบ่งปันหน้าที่อย่างถูกต้อง ทั้ง 4 กลุ่ม เลือกของดีมีอยู่ คิดต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ เมื่อมีการผนวกกันก็จะดียิ่งขึ้น การขยายและเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ ท้องถิ่น ภาคเอกชนจะทำให้การทำงานง่ายขึ้น เครื่องมือที่สำคัญคือ Value Diversity รับฟังซึ่งกันและกัน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมเป็นหางเสือกำกับ ก็คือเรื่องมาตรฐานอาหาร ที่พัก และการแบ่งปันประโยชน์สุข และต้องมีการดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สรุปจากทีมวิชาการ Chira Academy

15 มกราคม 2559

คำกล่าวขอบคุณในนามผู้เข้าร่วมประชุม

นางสุดาพร ยอดพินิจ ประธานหอการค้าจังหวัดระนองและประธานรุ่น

ขอขอบพระคุณกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ที่ทำให้คณะผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่สำคัญ เพราะสิ่งต่างๆที่วิทยากรทุกท่านได้ถ่ายทอดในการประชุมตลอดระยะเวลา 3 วันมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างยิ่ง

ผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ในจังหวัดระนองเคยมีความรู้สึกอาภัพ ที่เห็นจังหวัดอื่นพัฒนาไปไกล จังหวัดระนองเปรียบเสมือนเด็กอ่อนที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ให้เจริญเติบโต ความรู้ที่ท่านอาจารย์ได้นำมาได้ฝังไปในกะโหลกของผู้เข้าร่วมประชุมในการประชุมตลอดระยะเวลา 3 วัน ก็เริ่มที่จะเป็นความรู้ที่นำมาพัฒนาจังหวัด สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือร่วมกันคิดและช่วยกันทำ อยากจะปรับเปลี่ยนเรื่องต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำแล้วก็ไม่ได้อะไรเลย อยากจะให้ช่วยกันคิดและร่วมกันทำ อยากให้มีผลิตภัณฑ์สักชิ้นหนึ่งแล้วก็ร่วมกันระดมสรรพกำลังทั้งของภาครัฐและของภาคเอกชน ทำให้สิ่งนั้นเกิดเป็นความจริงและเป็นรูปธรรม อย่ากระจัดกระจาย คิดแล้วทิ้ง คิดแล้วปล่อย คิดแล้วไม่มีคนทำ ซึ่งตรงนี้ต้องปรับเปลี่ยน จังหวัดระนองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ จะนำความรู้กลับไปเพื่อให้จังหวัดระนองก้าวไกลต่อไป

นายรุ่งโรจน์ ใหม่ซ้อน อุปนายก กกท.ดชช.ชพ. และประธานรุ่น

วันแรกที่เดินทางเข้ามาก็เห็นประโยชน์แล้ว ประโยชน์ที่ได้มากที่สุดก็คือเรื่องของวิธีคิดหรือการเปิดสมองรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา

ประโยชน์ข้อที่สองที่ได้ก็คือ ได้มิตรภาพที่ดี ได้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้น

ในส่วนที่สามก็คือ การที่ได้มีโอกาสได้รู้จักทีมงานระดับชาติ โดยเฉพาะศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานทุกท่าน

ตรงนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

เมื่อได้ประโยชน์แล้ว สามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ จากมุมมองส่วนตัว นายรุ่งโรจน์ ใหม่ซ้อนอยู่ในชุมชนเล็กๆ สามารถที่จะนำไปขยายเครือข่ายในชุมชน ต้องทำเรื่องตั้งแต่จุดเล็กๆขยายไปเรื่อยๆ ในปัจจุบันนี้ที่สามารถอยู่ได้ก็เพราะหลักการพึ่งตนเอง เพราะฉะนั้นแนวคิดเหล่านี้สามารถที่จะเชื่อมโยงกันกับทีมงานของอาจารย์ มาทำเรื่องใหญ่ๆให้ชุมชนได้ มองถึงทรัพยากรส่วนรวมที่กำลังร่อยหรอลงทุกวัน และไม่มีวันไม่มีเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้ส่วนที่เหลืออยู่ถึงรุ่นลูกหลาน อาจะต้องใช้วิธีคิดการนำทีมงานของอาจารย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สุดท้ายขอขอบคุณสิ่งดีๆและที่ได้มอบให้โอกาสได้เข้ามาร่วมประชุม ขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานและมิตรภาพดีๆของผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการต่อเนื่อง

https://www.youtube.com/watch?v=Wrl-36-f2vY&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน :พี่จูงน้อง..โมเดลการสร้างเครือข่ายด้านก­ารท่องเที่ยวชุมชน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ TGN เมื่่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท