สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

​ลงนามความร่วมมือ(MOU) โมเดล Trans formative Learning ในอุดมศึกษา


ลงนามความร่วมมือ(MOU) โมเดล Transformative Learning ในอุดมศึกษา

ร่วมลงนามในสัญญา


มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม และมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำบันทึกลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ปี 2 โดยมี .นพ.วิจารณ์ พานิช-ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร - ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล คุณชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ-ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ศิริวงศ์ - คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์ปริญญา หรุ่นโพธิ์ - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ลงนามการทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ เป้าหมาย คือ สนับสนุนให้นักศึกษาตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยผ่านการทำโครงงานชุมชน หรือ Community Project ซึ่งเป็นโจทย์จริงที่มาจากชุมชน และเป็นกระบวนการที่นักศึกษาและเยาวชนจะต้องเป็นผู้คิดเองและลงมือปฏิบัติเอง เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้จะได้รู้จักตนเอง รู้จักชุมชน สามารถเข้าใจบริบทและปัญหาของชุมชนอย่างถ่องแท้ และสามารถเชื่อมโยงตนเองกับชุมชนและเกิดพลังที่จะลุกขึ้นมาทำประโยชน์ให้กับชุมชนของตนเอง ในที่สุดจะเป็นเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ที่สังคมกำลังต้องการนั่นเอง ณ สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตตลิ่งชัน เมื่อวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช-ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล



.นพ.วิจารณ์ พานิช-ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า “เป้าหมายของมูลนิธิสยามกัมมาจล คือ ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชน ที่เน้นไม่ลงไปทำเอง แต่ไปหนุนกลไกต่างๆในบ้านเมืองเพื่อที่ให้ได้ผลยั่งยืนต่อเนื่อง ซึ่งในวาระนี้นักศึกษาก็จะเปลี่ยนจากการเป็นผู้มารับถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์ กลายมาเป็นผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่เป็นผู้รับฝ่ายเดียว ถือว่าเป็นผู้มาทำงานปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ รู้จักข้างในของตัวผู้เรียน การลงนามMOU กันในวันนี้จะช่วยทำให้ transformationของ Transformative Learning ในอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้เป็นผู้นำที่จะเปลี่ยน Model รูปแบบ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าหน้าที่หลักในการบริการด้านวิชาการแก่สังคม-ชุมชน มันเปลี่ยนเป็น Engagement แปลว่า ไม่ใช่เราไปช่วย แต่ไปร่วมกันคิด ร่วมกันหาวิธี ร่วมกันทำ และก็เกิดการเรียนรู้เกิดการพัฒนาขึ้นทุกฝ่าย ไปสู่การที่จะรับประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายซึ่งไม่ใช่เฉพาะมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น แต่จะเป็นโมเดลสำหรับอุดมศึกษาของประเทศทั้งหมดในการที่จะทำงานลงไปในพื้นที่ร่วมกับกลไกอีกหลายๆฝ่าย


คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร-ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล


คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร-ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวถึงแนวคิดของมูลนิธิสยามกัมมาจลที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนว่า “ วิธีที่จะทำให้เยาวชนมีจิตอาสาและมีสำนึกความเป็นพลเมืองเกิดไม่ได้จากการสั่งแต่ว่าเกิดจากการได้ที่ค่อยๆทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นในจิตใจของเขา….สิ่งที่เราจะบ่มเพาะได้ให้แนวคิดความเป็นสำนึกพลเมืองเกิดขึ้นได้ผู้ใหญ่เองต้องมีวิธีที่จะทำงานกับเด็ก ผู้ใหญ่จะต้องทำอย่างไรให้เด็กปลูกฝังให้เขามีสำนึกความเป็นพลเมือง มีคุณธรรม มีการเคารพในกฎระเบียบ มีความพอเพียง ความรับผิดชอบ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ที่สำคัญคือไม่โกง สิ่งเหล่านี้มันจะไปคู่กับเรื่องของการเข้าใจปัญหาของบ้านของเมือง กล้าคิดกล้าตัดสินใจ มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แล้วก็คิดเป็นทำเป็น สามารถสื่อสารสิ่งที่ตัวเองคิดและสิ่งที่ตัวเองทำกับสังคมได้ สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่เรียกว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเด็กที่จะต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน…ก็คือ ผู้ใหญ่เองก็จะต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเปิดโอกาสให้เด็กทำงาน ลองผิดลองถูก ลองแก้ปัญหาเอง ถ้าเด็กสามารถที่จะแก้ปัญหาได้จากการลงมือทำ ประสบการณ์เหล่านี้จะปลูกฝังให้เขาได้มีทักษะต่างๆ เชื่อมกับโครงการอย่างไร”


คุณชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ-ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม


คุณชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ-ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม ได้เล่าถึงรายละเอียดในครั้งนี้ว่า “จากประสบการณ์การทำงานกับเยาวชนมา 15 ปี รวมถึงการขับเคลื่อนในส่วนของงานพลังเด็กและเยาวชนของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ระยะเวลา 1 ปี โดยมีกระบวนการวิจัยที่ลงไปทำกับชุมชน ลงไปทำกับเด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เราคิดว่าเป็นประสบการณ์ที่เรามองว่าทิศทางสังคมไทยต้องใช้ความรู้มากขึ้นในการจัดการ แต่หัวใจสำคัญก็คือ จะทำยังไงให้กระบวนการและเครื่องมือพวกนี้ไปติดตั้งในกลไกที่ในระบบการเรียนการสอนแบบปกติ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือในชุมชน ในอบต. ซึ่งก็ได้สอดคล้องกับแนวคิดที่ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลสนใจอยู่เลยเป็นที่มาว่าลำพังเราคงไม่พอเราจะทำยังไงที่จะพัฒนาต่อเนื่องกันไป แต่เจตจำนงจริงๆคงไม่ใช่แค่ที่ศิลปากร แต่มีเป้าหมายต่อไปที่มหาวิทยาลัยในภาคตะวันตกซึ่งมีอีกหลายแห่งและก็โรงเรียน สถาบันการศึกษาในพื้นที่อีกหลายแห่งที่คิดว่าเป็นเป้าหมาย เป้าหมายในที่นี้ก็คือ จะทำอย่างไรให้เยาวชนเรียนรู้ผ่านเรื่องราวท้องถิ่น รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกสาธารณะ และสุดท้ายก็จะเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ”


 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า “เรามีโครงการเช่นนี้ตลอดเพราะว่าเรามีเงินที่สามารถช่วยตัวเองได้ สามารถทำได้ในทุกภาคการศึกษา และยิ่งมีเครือข่ายมาช่วยหนุนก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะเรามองว่าเราต้องการห้องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาที่ทำจริง จะได้เป็นประสบการณ์ของนักศึกษา เพราะคอนเซปต์ของศิลปากร ก็คือ เป็นโรงเรียนช่าง เรียนในห้องน้อย แต่ทำงานมาก ซึ่งจะทำให้เขาเรียนรู้และตกผลึกไปเรื่อยๆ จากการที่เขาได้ลงมือทำ อันนี้ก็ตรงกับวัตถุประสงค์ของศิลปากรและจะดีใจอย่างยิ่งถ้าหากผลผลิตจากนักศึกษาไปเป็นประโยชน์กับชุมชนก็เท่ากับว่าเป็นการปลูกฝังในเป้าหมายอันเดียวกันวันนี้ที่ได้มาลงนามร่วมกัน”


 รองศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ศิริวงศ์ - คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร


รองศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ศิริวงศ์ - คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงรายละเอียดการลงนามเพิ่มเติมว่า “เนื่องจากว่าคณะวิทยาการการจัดการเรามีสาขาที่เรียกว่าการจัดการชุมชนกับรัฐประศาสนศาสตร์ที่ทำงานในชุมชนอยู่แล้ว และให้ความสำคัญกับชุมชนที่อยู่รอบข้าง โดยปีหนึ่งๆก็จะมีกิจกรรมที่ทำกับชุมชนมากมายเลย แล้วก็โครงการนี้ตรงเป้ากับเราอย่างนึงก็คือว่าด้วยคณะมีปณิธานที่ว่าเราจะผลิตนักจัดการที่ดีมีคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม คณะได้เปลี่ยนการเรียนการสอนแบบใหม่ แทนที่จะเป็นการสอนแบบนั่งเรียนกันหน้าชั้น เพราะนั้นเราก็จะมีกิจกรรมแบบนี้เยอะมาก อันหนึ่งเลยที่เรามุ่งหวังว่าให้เด็กของเราเนี่ยเห็นแก่ส่วนรวมก่อนที่จะเห็นแก่ตนเองอันนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะฉะนั้นพอได้คุยกับทางคุณธเนศ มีโครงการหนึ่งที่จะกระตุ้นพลังของเยาวชน แต่โครงการของเขาก็ไม่เบาไม่ได้กระตุ้นแค่พลังเยาวชนแต่ยังกระตุ้นพลังของพี่เลี้ยง ซึ่งเราจะใช้เทคนิคเหล่านี้เรามองเลยว่าจริงๆแล้วเราอยากใช้เทคนิคเหล่านี้มาจัดการเรียนการสอนในบางวิชาที่เราออกแบบไว้ เราพยายามจะทำแบบนี้ในชั้นเรียนของเรา กระตุ้นทั้งตัวครูและเด็ก วันนี้อาจจะยังเป็นTriple alliance สามประสานก่อน เดี๋ยววันหน้ามันก็จะขยาย ก็จะได้ช่วยกันคิดช่วยกันทำ หลังจากที่เราทำ MOU กันในวันนี้แล้วตัวเราก็ได้พัฒนา เราส่งนักศึกษาเราไปพัฒนาหลายอย่างเราได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันในวันข้างหน้า ทางคณะเองก็บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะมาร่วมมือในคราวนี้ได้คณะได้เตรียมอะไรไว้บ้าง หนึ่งเราเตรียมงบประมาณสนับสนุนอยู่แล้ว อันที่สองจะเตรียมในเรื่องของการรับนักศึกษากำลังจะหารือกับท่านรองกิจการนักศึกษา ท่านรองวิชาการว่าเราจะเปิดโควต้าพิเศษอย่างไรถึงจะรับนักเรียนที่จบชั้นม.6 จากโครงการเหล่านี้มาเรียน เราจะให้แบบไหน ถ้าเขามีทุนทรัพย์ของเขาเองก็ให้เข้ามาเรียนเอง หรือว่าเราจะมีทุนการศึกษาให้บ้างตามสมควร เด็กเหล่านี้แหละพอได้เข้ามาในมหาวิทยาลัยเราเขาก็จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนหลายๆเรื่องในคณะ ซึ่งเราก็จะได้เด็กที่ทำกิจกรรมเพราะว่าเราสอนเด็กอยู่เสมอว่า การเรียนสอนให้ได้งานทำ การทำกิจกรรมสอนให้ทำงานเป็น เพราะนั้นเด็กของเราต้องเรียนและทำกิจกรรมไปพร้อมๆกัน เพราะฉะนั้นการทำ MOU ร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงานของเราในวันนี้ก็จะป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นนิมิตรหมายที่ดีตรงกับที่ท่านผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล พูดว่า มันควรจะเป็น long term and subtend เราก็ต้องอยู่กันยาวๆก็จะมีความยั่งยืน อันนี้ก็เป็นหัวใจที่สำคัญร่วมกันในอนาคต”

นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของระบบการศึกษาไทยที่มีมหาวิทยาลัยนี้เป็นตัวอย่างในการเปิดพื้นที่และโอกาสการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการเรียนรู้…สู่การลงมือทำ ที่มาจากโจทย์จริง ได้จริง และลงมือทำจริง การฝึกฝนให้เยาวชนเหล่านี้ได้เติบโตกลายเป็นคนดีและคนเก่ง และพร้อมเป็นกลไกใน ท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวทั้งหมดได้ที่ http://www.scbfoundation.com/

หมายเลขบันทึก: 599362เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2016 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2016 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท