เรือนจำในอนาคต (PRISONS OF THE FUTURE​)


เรือนจำในอนาคต (Prisons of the Future) ภายใต้แนวคิดการจำคุกโดยไม่ใช้เรือนจำ หรือ การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในชุมชน บนพื้นฐาน ทฤษฎีนิเวศวิทยาทางสังคม ของ Bronfenbrenner ประกอบด้วย ระบบระหว่างกลาง (mesosystem) และ ระบบนิเวศน์ (exosystem) ที่คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้กระทำผิด ประชาชน และ สังคม ได้รับเป็นสำคัญ...................


เรือนจำในอนาคต (PRISONS OF THE FUTURE)


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


เรือนจำในอนาคต หรือ เรือนจำแห่งอนาคต (Prisons of the Future) เป็นโครงการพัฒนานวัตกรรมเรือนจำโดยการแบ่งปันประสบการณ์ และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพันธมิตรเรือนจำ ประกอบด้วย ประเทศต่างๆ เช่น สวีเดน, ฟินแลนด์, เดนมาร์ก, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และ องค์การคุมประพฤติยุโรป (CEP) เริ่มดำเนินงานเมื่อ เมษายน ปี 2014 มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเรือนจำ โดยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเรือนจำใหม่ ที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติ เพื่อเปลี่ยนแปลง พัฒนา การดำเนินงานของเรือนจำในปัจจุบัน โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวคิด บริบท หลักเกณฑ์แนวทางการดำเนินงาน และ เป้าหมาย โดยสังเขป ดังนี้




แนวคิด / ทฤษฎี


พันธมิตรเรือนจำกับแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงระบบเรือนจำใหม่ในอนาคต ได้ดำเนินการภายใต้แนวคิดและจิตนาการถึงรือนจำในอนาคตที่เป็นการจำคุกโดยไม่ใช้เรือนจำ หรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เรือนจำอีกต่อไป แนวคิดในการใช้เรือนจำสำหรับนักโทษที่ประสงค์จะอยู่ในเรือนจำโดยความสมัครใจ แนวคิดในความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมเรือนจำของพันธมิตรเรือนจำ และ ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู


บริบทของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง


เป็นบริบทที่จะต้องคำนึงถึงในการพัฒนานวัตกรรมของเรือนจำในอนาคต เช่น

  • บริบทระหว่างพนักงาน และ ผู้กระทำความผิด
  • บริบทระหว่างเจ้าหน้าที่ และผู้บริหาร
  • บริบทระหว่างเรือนจำท้องถิ่น หรือ องค์กรคุมประพฤติ และ เรือนจำแห่งชาติ
  • บริบทระหว่างเรือนจำแห่งชาติ ผู้กำหนดนโยบาย และ บริบททางสังคม

นอกจากนั้น ยังมีบริบทเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีการลงโทษ (แก้แค้นทดแทน ป้องปราม และแก้ไขฟื้นฟู) รวมทั้ง บริบทว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ ที่เป็นตัวแปรสำคัญ รวมตลอดถึงองค์ประกอบของการประเมินผลอยู่เบื้องหลังในการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลง พัฒนา และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเรือนจำ





แนวทางการดำเนินงาน


เป็นการศึกษา วิเคราะห์ และ เปรียบเทียบ ในกรณีศึกษาของประเทศต่างๆ เช่น การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในชุมชนของเบลเยียม ที่ได้ให้ความสำคัญการจำคุกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (EM) กุญแจมือ และ กุญแจเท้า ซึ่งเป็นพัฒนาการล่าสุด ที่มีความคล้ายคลึงกันของเรือนจำต่างๆหลายประเทศ ในส่วนของนวัตกรรม EM นี้ ทางพันธมิตรเรือนจำได้ร่วมกันทำการศึกษา วิเคราะห์ เงื่อนไข ความต้องการของผู้กระทำผิด การรักษาสัญญา และ การให้บริการชุมชน การประเมินความเสี่ยง การแยกผู้กระทำความผิดออกจากสังคมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และ ประสิทธิภาพด้านการควบคุม เพื่อประโยชน์ในการจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานของพันธมิตรเรือนจำต่อไป

ด้านหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อค้นหามาตรฐานการดำเนินงานของพันธมิตรเรือนจำเป็นการวิเคราะห์บนพื้นฐานของทฤษฎีนิเวศวิทยาทางสังคม ของ Bronfenbrenner เป็นการอธิบายถึงสภาพแวดล้อมในเรือนจำที่ส่งผลถึงนักโทษ หรือ ผู้กระทำความผิดในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช้เรือนจำ หรือ ไม่มีเรือนจำ อันประกอบด้วยระบบต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ระบบระหว่างกลาง (mesosystem) เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมด้านเรือนจำ ชุมชนท้องถิ่น ระบบการจำคุก หรือ ระบบยุติธรรมทางอาญา และ ระบบนิเวศน์ (exosystem) เป็นระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้องในระบบเรือนจำและสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคม และ กฎหมาย เป็นต้น


เป้าหมาย


สำหรับเป้าหมายของโครงการพันธมิตรเรือนจำ คือ การแสดงลักษณะ ภูมิทัศน์ นวัตกรรม ของเรือนจำในอนาคต และ การกำหนดกรอบ แนวทาง การทำงานร่วมกันเพื่อการวิเคราะห์ และ การประเมินผลทางเลือกในการจำคุก เพื่อประโยชน์แก่ผู้กระทำผิด ประชาชน และ สังคม


การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในชุมชน


โดยสรุป


พันธมิตรเรือนจำ สวีเดน, ฟินแลนด์, เดนมาร์ก, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และ องค์การคุมประพฤติยุโรป (CEP) มีความเชื่อว่า มาตรฐานเรือนจำในอนาคตขึ้นอยู่กับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันของพันธมิตรเรือนจำ และ ได้กำหนดแนวคิดของเรือนจำในอนาคตจะเป็นการจำคุกโดยไม่ใช้เรือนจำ หรือ ไม่มีเรือนจำ หรือ การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในชุมชนแทนการจำคุก โดยใช้หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อค้นหามาตรฐานการดำเนินงานของเรือนจำในอนาคตบนพื้นฐานของ ทฤษฎีนิเวศวิทยาทางสังคม ของ Bronfenbrenner ประกอบด้วยระบบต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ระบบระหว่าง กลาง (mesosystem) และ ระบบนิเวศน์ (exosystem) เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้กระทำผิด ประชาชน และ สังคม ได้รับเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าความคาดหวังถึงเรือนจำในอนาคต (Prisons of the Future) ในสภาพที่ไม่มีเรือนจำ จึงเป็นแนวคิดที่อาจไม่ไกลเกินฝันของพันธมิตรเรือนจำ


........................



อ้างอิง

ข้อมูลเนื้อหาจาก PRISONS OF THE FUTUREProject Update November 15th 2015 New inspirations for innovative prison options/alternatives to detention เว็บไซต์ http://www.europris .org/projects/prisons-of-the-future/

ข้อมูลภาพจาก เว็บไซต์ http://schedule.sxsw.com/2013/events/event_IAP3755 เว็บไซต์http://www.blog.criminalu.co/tag/school-to-prison-... และ เว็บไซต์ http://www.nbcnews .com/storyline/pistorius-trial




หมายเลขบันทึก: 598533เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2015 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้ความรู้เรื่องการลงโทษจากบันทึกของคุณจริงๆครับ

น่าสนใจค่ะ ดิฉันสรุปความได้ว่า

1. เรือนจำอนาคต นักโทษยังคงอยู่บ้านตัวเอง ในชุมชนเดิม

2. มีการเตรียมสร้างความเข้าใจ ยอมรับการอยู่ร่วมกัน ให้แก่สมาชิกชุมชน

3. มีกลไกการควบคุมนักโทษที่รัดกุม เชื่อมั่นได้ว่าจะไม่ก่อเหตุ (เพื่อความมั่นใจให้ประชาชน)

ดิฉันว่าดีนะคะ เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐ และดีต่อตัวนักโทษ เจาน่าจะกลับใจได้ดีกว่า

อยากทราบรายละเอียดของการปฏิบัติจริง รออาจารย์นำมาเขียนเล่าค่ะ

ระบบดีๆ ทั้งหลายใช้เมืองไทยไม่ได้แน่

ขอบคุณอาจารย์ต้นมากครับที่ติดตาม ความจริงผมเพียงนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเรือนจำมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ได้คิดถึงความเป็นวิชาการอะไรมากมาย...

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง ที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจ....

แนวคิด ความเชื่อ ความฝัน และ จิตนาการถึงเรือนจำในอนาคตที่เป็นการจำคุกโดยไม่ใช้เรือนจำ หรือ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เรือนจำอีกต่อไป ของพันธมิตรเรือนจำ ที่เชื่อว่า สังคมจะมีสันติสุข และ สันติภาพ ไม่มีที่สิ้นสุด หมายความว่า คนเลวคนชั่วจะหมดไปจากโลก การฆ่ากัน ข่มขืนกัน หลอกลวงกัน การทำผิดศีลธรรมจะไม่มี การเอารัดเอาเปรียบจะหมดไป (ยุคพระศรีอารย์) หรือ ที่ฝรั่งเรียกว่า ยูโทเปีย (Utopia) คือ รัฐ ที่คนในสังคมอุดมด้วยศีลธรรม และ คุณธรรมในการดำรงชีวิต นั้นเอง และ ตราบใดที่สังคมขาดซึ่งสิ่งนี้ ยูโทเปียก็คงเป็นฝันอยู่ร่ำไป.....ขอบคุณมากครับอาจารย์นุ้ย (ความเข้าใจของอาจารย์นุ้ย ถูกต้องแล้วครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท