คนเลี้ยงผึ้ง ผึ้ง.เลี้ยงคน.. (กำเนิดผึ้ง) 2


นักกีฏวิทยา ชาวรัสเซีย ท่านศาสตราจารย์ เอส ไอ มาลีเซฟ เป็นผู้ศึกษาแล้วพบว่าผึ้งถือเนิดมาจากตัวต่อ และตัวต่อดังกล่าวนี้กินสารชนิดหนึ่งที่พวกเพลี้ยอ่อนขับออกมา เรียกกันว่าขี้เพลี้ย ได้ทั้งรสชาดและความหวานจากตัวเพลี้ยอ่อน และได้โปรตีนเอาไปป้อนตัวอ่อนของมัน พฤติกรรมบริโภคในลักษณะนี้คล้ายคลึงกับพวกผึ้ง.....

ผึ้ง....ถือกำเนิดมาในเขตหนาวเมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว โดยเกิดควบคู่กับการถือกำเหนิดของดอกไม้ต่างๆ แต่บรรพบุรุษรุ่นแรกๆของผึ้งนั้นไม่ให้น้ำผึ้ง ซึ่งมีหลักฐานที่ค่อนข้างแน่นอนจากการศึกษาฟอสซิลของชันโรงแห่งอัมพวัน พบว่าผึ้งถือกำเนิดมาครั้งแรกเมื่อประมาณ 70-140 ล้านปี มาแล้ว ซึ่งในช่วงนี้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือแผ่นดินเริ่มแยกออกเป็นทวีป เกิดมหาสมุทร พืชมีดอกเริ่มปรากฏ อันเป็นช่วงเวลาที่ถือกำเหนิดของตัวต่อ ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นผึ้ง......

นักกีฏวิทยา ชาวรัสเซีย ท่านศาสตราจารย์ เอส ไอ มาลีเซฟ เป็นผู้ศึกษาแล้วพบว่าผึ้งถือเนิดมาจากตัวต่อ และตัวต่อดังกล่าวนี้กินสารชนิดหนึ่งที่พวกเพลี้ยอ่อนขับออกมา เรียกกันว่าขี้เพลี้ย ได้ทั้งรสชาดและความหวานจากตัวเพลี้ยอ่อน และได้โปรตีนเอาไปป้อนตัวอ่อนของมัน พฤติกรรมบริโภคในลักษณะนี้คล้ายคลึงกับพวกผึ้ง.....

ต่อมาเมื่อพืชมีดอกเริ่มเกิดขึ้นในโลก แหล่งอาหารโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตก็เพิ่มมากขึ้น พวกตัวต่อเกิดการแยกพวกออกเป็น 2 สาย คือสายที่มีเหยื่อเป็นตัวหนอน กับพวกที่หากินอยู่กับน้ำต้อย และเกสรดอกไม้โดยเฉพาะ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้ได้พัฒนาต่อๆกันมานับเป็นล้านปี ผ่านการคัดเลือกจากธรรมชาติ ปรับตัว พัฒนาโครงสร้างอวัยวะส่วนต่างๆ เช่นลิ้น อวัยวะสำหรับเก็บเกสร อวัยวะเก็บกักน้ำผึ้ง เป็นต้น จนในที่สุดก็กลายเป็นผึ้งโดยสมบูรณ์แบบ และยังได้วิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาจนได้แตกฝูงอีกประมาณ 20000 ชนิด...ในบรรดาผึ้งชนิดต่างๆนั้น ผึ้งสกุล เอนีส จัดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูงสุด เนื่องจากเป็นแมลงชั้นสูง มีการแบ่งระเบียบการทำงานเป็นวรรณะต่างๆ ตามหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน ผึ้งสกุลเอนิส มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาไม่ต่ำกว่า 30 ล้านปี

ซึ่งจากหลักฐานที่พบซากฟอสซิลของผึ้งและรวงรัง พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปี คศ.1979 จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผึ้งสกุลเอนิส ที่กำเนิดในทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้.....

. (เล่าความตามบันทึกของคนเลี้ยงผึ้ง ปราโมทย์ วราโห) โปรดติดตามตอนที่ 3 การเลี้ยงผึ้งโพรง

หมายเลขบันทึก: 598124เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2015 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2015 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นอกจากความหวานของผึ้ง...
วรรณกรรม -หนังหลายเรื่อง
ก็สอนให้เรารู้พิษแห่งความหวาน

ความหวานของผึ้ง
มีความนัยยะแห่งชีวิตหลากมุมเลยทีเดียว

ขอบพระคุณครับ

เรียนอาจารย์ แผ่นดิน การส่งเสริมการเลี้ยง เป็นกุศโลบายสร้าง พัทลุงเมืองเกษตรสีเขียว โดยใช้ผึ้งเป็นตัวชี้วัด ความสำเร็จโครงการ

เรียนอาจารย์ ต้น มาถึงตอน นางพญาผึ้ง ประชากรผึ้ง สังคมผึ้ง น่าสนใจ ในการบริหารจัดการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท