การทุบทำร้ายผู้อื่นที่ได้รับการอนุญาต: วัฒนธรรมการว้ากที่ป่าเถื่อนของมหาวิทยาลัยไทย


นักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนึ่งกล่าวว่า “ยังอยู่ในนรก” เมื่อพยายามพรรณนาความรู้สึกของการได้เข้าร่วมพิธีกรรมการว้ากในมหาวิทยาลัย การปฏิบัติการว้ากในสังคมไทย (ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบโซตัส อันหมายถึง ความมีอาวุโส, คำสั่ง, ประเพณี, และความมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือเรียกรวมๆกันว่า รับน้อง ซึ่งหมายถึง การต้อนรับผู้น้อย) คงจะมีการเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในยุค 1940 ว่าๆกันว่าระบบนี้เอามาจากการว้ากในมหาวิทยาลัย Cornell และมหาวิทยาลัยอื่นๆในสหรัฐ ตอนนี้มหาวิทยาลัย Cornell ได้ห้ามการว้าก แต่ในประเทศไทยการว้ากยังมีอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ

ในจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนนี้ นักศึกษาที่เข้าก่อนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังถูกจับตา หลังจากมีการเปิดเผยว่าน้องปีหนึ่ง หรือที่เรียกกันว่าเฟรชชี่ (freshies) ถูกทำร้ายร่างกายในช่วงเมษายน วันที่ 17-19 รูปภาพของแผลถลอก (ถึงแม้ว่าจะบาดเจ็บเท่าไร) ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ ตามรายงานของข่าวสด มหาวิทยาลัยตั้งใจสอบสวนและลงโทษนักเรียนที่เข้ามาก่อน อย่างไรก็ตาม การรับน้องก็ยังดำเนินอยู่ต่อไป อย่างไรก็ตาม ระบบโซตัสที่มีการอนุญาต และเกณฑ์พื้นฐาน ที่ว่าด้วยเรื่องรับน้องด้วยความรุนแรง และการจัดลำดับช่วงชั้นของมันก็ไม่ได้รับการแก้ไข และตอนนี้ก็ยังคงอยู่ นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากวัฒนธรรมที่แผ่กระจายลงไปสู่ระบบค่านิยมของไทย (Thai ethos) ซึ่งก็คือ ทำให้เด็กๆต้องอยู่ในระบบช่วงชั้น ในระหว่างการว้าก นักศึกษาอาจถูกแก้ผ้า, ทุบตี, ละเมิดพฤติกรรมทางเพศ, ถูกบังคับให้คลานผ่านน้ำที่สกปรก, แม้แต่ถูกฆ่า (ถึงแม้ว่าคุณอาจคิดว่าเป็นอุบัติเหตุ) และอย่างน้อยที่สุดอาจถูกตะโกนและทำให้ได้อาย ในเวลานี้การว้ากดูเหมือนจะเป็นการทุบทำร้ายผู้อื่นที่ได้รับการอนุญาต มากกว่าจะที่เป็นการรับน้องด้วยความอบอุ่น

Phokhai Saengrojrat ซึ่งเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Pathumthani ตามเนื้อข่าวแล้วได้ตายลงหลังจากที่ถูกบังคับให้ดื่มเหล้าจนเกินขนาด ต่อมาหน้าของเขาถูกฝังอยู่ในทรายที่ชายหาด Sai Noi ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากเนื้อข่าวแล้วกล่าวว่าเขาขาดอากาศหายใจ พ่อแม่ของเด็กกล่าวว่าขอให้กรณีนี้เป็นกรณีสุดท้ายของการว้าก นอกจากนี้ยังมีการตายอื่นๆ ในปี 2008 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Uthenthawai ตายจากอาการบาดเจ็บในระหว่างการว้าก นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่าการถ่ายภาพหรือวิดีโอนั้นจะถูกห้ามในพิธีกรรมเหล่านี้ แต่เมื่อมีการเปิดแพร่การว้ากในสื่อโซเชี่ยล จะพบว่ามีการว้ากแบบเต็มที่

หนังสั้นชื่อ Vicious Cycle (วงจรอุบาทว์) ซึ่งถูกสร้างโดยนักศึกษาไทยต้องการที่จะแสดงให้เห็นซึ่งความป่าเถื่อนในพิธีกรรมการว้าก เพจสื่อสังคมออนไลน์ที่ต่อต้านระบบโซตัส ซึ่งมีผู้ติดตามเป็นหลายพัน ได้ตระเตรียมที่จะแสดงให้เห็นว่าความป่าเถื่อนของระบบโซตัสต่อสาธารณะชน นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงด้านลบของมหาวิทยาลัยด้วย

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาได้ยืนยันมาตลอดว่านักศึกษาอาจไม่ร่วมพิธีกรรมนั้นก็ได้ และให้คำแนะนำทำนองว่า ปฏิบัติตามประเพณีที่มีจริยธรรม และวัฒนธรรมของสังคม หรือไม่มีการคุกคามทั้งร่างกายและจิตใจ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (NHRC) ได้ตำหนิมหาวิทยาลัยในพิธีกรรมดังกล่าว แต่การปฏิบัติของยังมีอยู่เป็นปกติ นักศึกษาที่เปรียบเทียบการว้ากกับบรรยากาศในนรกได้เขียนลงในเฟซบุ๊คของกลุ่มต่อต้านโซตัสว่า นักศึกษาที่มหาวิทยาลัย Maejo ในจังหวัดเชียงใหม่ ถูกทำให้อับอายในพิธีกรรมการว้าก ได้ให้กฎหรือข้อบังคับ ที่จำเป็นต้องศรัทธาต่อ (นักศึกษาจำนวนหลายพันได้ต่อต้านระบบโซตัสในปี 2011) ว่า

1. นับถือกฎของ Maejo เช่นเดียวกับกฎหมาย

2. ทำสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ปีก่อนๆบอก

3. เมื่อคุยกับรุ่นพี่ต้องมีคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ต่อท้ายเสมอ

4. เมื่อได้ยินเพลงประจำมหาวิทยาลัย Maejo ต้องหยุด หัวค้อมลง และทำความเคารพ

นักศึกษาหลายคนรายงานว่าบางครั้งก็ถูกกดดันจากเพื่อนๆ และด้วยความกลัวว่าจะถูกคว่ำบาตร นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องเข้าร่วม นักศึกษาสาขาปรัชญาคนหนึ่งบอกกับสื่อ Chiang Mai CityNew ว่า พวกปีแก่ๆจะบอกน้องปี 1 ว่าจะต้องไม่พูดกับเขา พวกปี 1 ไม่ต้องการจะถูกแปลกแยก พวกปี 1 จึงทำเข้าร่วม นักศึกษาหลายๆคนไม่ต้องการที่จะเข้าร่วม แต่พวกเขากลัวเกินกว่าจะกล่าวอะไรได้ พวกเราจำเป็นต้องสร้างทางเลือก จุดมุ่งหมายของเราจะต้องเปลี่ยนแปลงไม่วันใดก็วันหนึ่ง

นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาอีกพวกหนึ่งสนับสนุนการว้าก ถึงแม้ว่าหลายคนจะไม่เห็นด้วยก็ตาม กลุ่มนั้นกล่าวว่าระบบโซตัสทำให้พวกเขาแข็งแรงและมีความมั่นใจในตัวสูง, ความรักศรัทธาในสถาบัน, ระบบโซตัสทำให้ฉันรักมหาวิทยาลัยนิจนิรันดร์ การว้ากจะติดอยู่กับชีวิตฉันตลอดไป

ระบบโซตัสเป็นกิจกรรมที่น่าตำหนิ ปราศจากซึ่งเจตจำนงที่ดี เต็มไปด้วยความรุนแรง เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าสนุก ธรรมชาติของระบบโซตัสเป็นระบบช่วงชั้น, กำกวม, เป็นระบบอภิสิทธิ์, ต่อต้านอิสรภาพของปัจเจกบุคคล หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบ่อยครั้งที่จะกล่าวถึงการขาดซึ่งการคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking) ในหมู่ปัจเจกบุคคล ในความเป็นจริง พวกเขาจะต้องทำให้พิธีกรรมเหล่านี้ถูกต้อง เพราะนั่นคือการคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดำรงอยู่ ก่อนที่นักศึกษาจะได้เรียนเรื่องนี้เสียอีก

นักวิชาการที่พูดแบบขวานผ่าซากที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ชื่อ Tanet Charoenmaung ซึ่งตอนนี้ได้เกษียรแล้ว ได้เขียนงานชื่อ การตะโกนของการสร้างสรรค์ (หรือการว้าก?) และมรดกของเผด็จการในมหาวิทยาลัย ในเนื้องานได้กล่าวว่าระบบโซตัสละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพอย่างไร นอกจากนี้ยังได้กล่าวว่านักศึกษาที่ถูกหล่อหลอมในระบบการว้าก “ในใจของฉัน คือเหยื่อของระบบเผด็จการ” สิ่งนั้นมีมาก่อนเผด็จการจะเกิดขึ้นเสียอีก

เราจะเปรียบเทียบกฎของมหาวิทยาลัย Maejo กับค่านิยม 12 ประการ ซึ่งนักเรียนต้องท่องทุกเช้า

1. เชิดชูชาติ, ศาสนา, และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติกับนับถือกฎของ Maejo เช่นเดียวกับกฎหมาย

2. มีความกตัญญูต่อพ่อแม่, ผู้ปกครอง, และคุณครู กับทำสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ปีก่อนๆบอก

3. ดำรงรักษาไว้ซึ่งระเบียบ, นับถือกฎหมาย และผู้อาวุโส รวมทั้งคนที่มาก่อน กับเมื่อคุยกับรุ่นพี่ต้องมีคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ต่อท้ายเสมอ

4. ให้ความสนใจกับสาธารณะ และผลประโยชน์ของชาติก่อนผลประโยชน์ของตนเอง กับเมื่อได้ยินเพลงประจำมหาวิทยาลัย Maejo ต้องหยุด หัวค้อมลง และทำความเคารพ

เพราะว่าระบบโซตัสมีเชื้อสายเดียวระบบการจัดช่วงชั้น และระบบเผด็จการ เมื่อดูโดยรวมแล้วระบบโซตัสจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ระบบโซตัสจึงไม่ใช่ความปั่นป่วนวุ่นวาย และไม่ใช่จำกัดอยู่แค่เด็กเลวที่อยู่ในวงวิชาการเท่านั้น แต่ระบบโซตัสถูกหล่อหลอมในวัฒนธรรมไทย ฉันต้องการที่จะกล่าวว่าระบบโซตัสคือความเป็นไทย การตัดระบบโซตัสทิ้งเป็นความคิดที่ดี ระบบโซตัสไม่ใช่อุดมคติ แต่การจะตัดระบบโซตัสทิ้งยิ่งใหญ่กว่า (เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย?)

พิธีกรรมการว้ากไม่ใช่ปรากฏแต่ในวงวิชาการเท่านั้น แต่ในกองทัพยังมีระบบการว้ากอีกด้วย เช่นที่ปรากฏในเฟซบุ๊ค NoConscrip จะมีการบีบบังคับในเรื่องการร่วมเพศของทหารเกณฑ์ ในวิดีโอนี้จะมีการหัวเราะ แต่การหัวเราะนั้นคือการลดทอนความป่าเถื่อนของการร่วมเพศลงไป เหมือนกับพวกเด็กๆเมื่อถูกบังคับให้จนมุมแล้ว จะมีการคิดพิจารณาทุกอย่างอย่างลึกซึ้ง

ในระบบโซตัสการขู่เข็ญ และการไร้เสียซึ่งเกียรติยศจะถูกกระทำจากพวกรุ่นพี่ ขอเน้นว่าการระบบโซตัสเป็นระบบจัดช่วงชั้น เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ปัจเจกบุคคลอ่อนกำลังลง และสนับสนุนความเชื่อที่ว่าสังคมนี้ต้องจัดระดับ

พวกน้องปี 1 ที่ถูกกดขี่ต่อมาก็จะกลายเป็นผู้กดขี่ หากระบบการจัดช่วงชั้นยังไม่มีรื้อสร้างแล้ว การทำวิดีโอแบบวงจรอุบาทว์ก็ยังคงทำต่อไปเรื่อยๆ

แปลและเรียบเรียงมาจาก

James Austin. Sanctioned sadism: Thai universities' barbaric hazing culture

http://asiancorrespondent.com/132574/thailand-university-hazing/

หมายเลขบันทึก: 598121เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2015 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2015 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณอาจารย์ ต้นที่นำเรื่องการรับน้องมาเล่า

ไม่ทราบว่าสถาบันไหนมีการรับน้องแบบไทยๆบ้าง คงมีความอบอุ่นมากกว่าการ ใช้เสียงดับตะคอกขู่

ยังมีความทรงจำที่ลางเลือน...เมื่อครั้งถูก..ลัทธินิยมนี้มาเหมือนกัน....เคยถูกกดหัวให้ดำน้ำ..ทั้งๆที่ว่ายน้ำไม่เป็น..เหล้า..คือความมัวเมาที่เปิดเผย...(สังคมยอมรับ..เหมือนราคาค่างวดและป้ายยี่ห้อบนขวด..)..และอีกนับนาๆประการ..ที่มั่วส้ว..อยู่ทุกสังคมในโลกปัจจุบัน..มันจะเป็นเช่นนั้นเอง...ฉะนั้นหรือ...เฉกเช่น..ภูเขาไฟ..ถ้ามันจะระเบิด..เมื่อถึงเวลา..คงจะห้ามมันไม่ได้...ปัจจุบันขณะ..ที่บ่งบอกกาลเวลา....แด่

สาธุ..ชน...(มั้ง)

น่าอายมากคือคนเขียนบทความนี้เป็นฝรั่งเขียนประจานการรับน้องที่รุนแรงป่าเถื่อนของมหาวิทยาลัยไทย เป็นบทความใหม่เมื่อ พค.๒๕๕๘ นี้เอง

รุ่นน้องที่ถูกกระทำก็ไปกระทำต่อน้องรุ่นต่อๆ ไป เรื่อยๆ เข้าใจว่ามันควรจะหมดไปนานแล้วสำหรับวิธีคิดแบบนี้

แล้วอาจารย์ที่ควรดูแลไปอยู่เสียที่ไหนละคะ ถ้าดิฉันเป็นแม่ของเด็กสาวที่ถูกกระทำตามในภาพดิฉันจะดำเนินคดีทางกฎหมายกับรุ่นพี่แน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท