ไวรัสตับอักเสบบี


ไวรัสตับอักเสบบี

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

ไวรัสตับอักเสบบี รู้ทันป้องกันรักษาได้ โรคที่มีการอักเสบของเนื้อตับ เนื่องมาจากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี แพร่กระจายอย่างไร โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่กระจายผ่านทางเลือด การใช้เข็มร่วมกัน การสัมผัสสารคัดหลั่ง ทางเพศสัมพันธ์ และติดต่อจากแม่สู่ลูก โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจากแม่สู่ลูกนั้นทำให้เด็กที่ติดเชื้อกลายเป็นพาหะของโรค และไวรัสตับอักเสบเรื้อรังสูงกว่าการติดเชื้อโดยวิธีอื่น

ไวรัสตับอักเสบบี ไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการให้นมบุตร กอด จูบ การไอ จาม การจับมือ การกินอาหารร่วมภาชนะเดียวกัน และไม่สามารถแพร่กระจายโดยการปนเปื้อนอาหารหรือน้ำ

โรคไวรัสตับบีน่ากลัวอย่างไร ประมาณ 15 – 25 % ของผู้ป่วยของโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้องรัง จะกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับ ตามมาในอนาคต

อาการและการแสดง

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเด็กมักไม่มีอาการแต่จะกลายเป็นพาหะโรคตับอักเสบบีได้ถึงร้อยละ 90 โดยจะเริ่มมีอาการเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ สำหรับการติดเชิ้อในผู้ใหญ่นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไก้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะสร้างภูมิคุ้มกันและการจำกัดเชื้อตับอักเสบบีจนหายเป็นปกติ แต่ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งจะกลายเป็นผู้ป่วยตับอักเสบเรื้องรังและกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งที่ตับในที่สุด

โรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง และพาหะ ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคดังกล่าวได้ จะยังคงมีไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกาย โดยไม่มีอาการหรือกลายเป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบี เมื่อเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น ไวรัสจะทำลาย้นื้อตับช้าๆและต่อเนื่อง หรือกลายเป็นโรคไวรัสอักเสบเรื้อรังนั่งเอง การอักเสบของตับจะก่อให้เกิดผังพืดในเนื้อตับและเป็นตับแข็งตามมา ระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจมีโรคตับอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อนได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้เนื้อตับถูกทำลายมากขึ้น และผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะกลายเป็นมะเร็งที่ตับในที่สุด

โรคไวรัสตับอักเสบบี กับการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัส HIV ถึง 50 – 100 เท่า

โรคไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันได้อย่างไร

การป้องกันการป้องกันการติดเชื้อไววัสตับอักเสบบี สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และการรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับบี

ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน และให้วัคซีนโรคตับอักเสบบี ในเด็กทารกแรกเกิดทุกคน โดยกำหนดให้ 4 ครั้ง เมื่อแรกเกิด เมื่ออายุ 2 เดือน อายุ 4 เดือน และอายุ 6 เดือน สำหรับการป้องกันผู้ใหญ่จะให้วัคซีน ดังกล่าวจำนวน 3 เข็ม โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 เดือน

อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่เป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังอยู่แล้ว การได้รับวัคซีนตับอักเสบนั้นไม่มีประโยชน์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ จึงเป็นวิธีป้องกันการป่วยเป็นโรคตับอักเสบรุนแรงที่อาจตามมา

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • ผู้มีสมาชิกในครอบครัว เช่น สามี ภรรยา มารดา เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • ผู้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ
  • กลุ่มชายรักชาย
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • บุคลากรทางการแพทย์
หมายเลขบันทึก: 598082เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2015 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2015 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท