Different perspective of "Change" ; "Modernity" ; and "Extensive - Adaptive life"


- I think it's the issue about "change", on how we can understand its nature, the consequences and the dynamics behind it.

- Singularity : (Not only technological perspective, but also biological perspective) Connect between human + machine. This video of 58-year-old Hutchinson illustrates the strides being taken in brain-controlled prosthetics1. Over the past 15 years, researchers have shown that a rat can make a robotic arm push a lever2, a monkey can play a video game3 and a person with quadriplegia — Hutchinson — can sip from a bottle of coffee1, all by simply thinking about the action. Improvements in prosthetic limbs have been equally dramatic, with devices now able to move individual fingers and bend at more than two dozen joints. http://www.nature.com/news/neuroprosthetics-once-m...

- Organs lost (phantom feeling)

- จริงๆ การศึกษาด้านเทคโนโลยีเสมือนประสาท (Neuroprosthetics) นี่เป็นตัวอย่างรูปธรรมและชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งของศักยภาพของสมองในการเรียนรู้และเชื่อมต่อกับวัตถุภายนอกร่างกายอย่างอวัยวะเทียมหรือ "อุปกรณ์" ที่มาทำหน้าที่แทนอวัยวะเดิมโดยเชื่อมต่อกับระบบประสาทของมนุษย์

ยังไงก็ตาม สมองเราทำหน้าที่แบบนั้นอยู่ตลอดชีวิต ทุกครั้งที่เราเรียนรู้ที่จะสัมพันธ์กับวัตถุใดๆ เรียนรู้จะหยิบจับเครื่องไม้เครื่องมือ ประดิษฐ์และใช้งานวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน สมองของเราเชื่อมโยงตัวเราเข้ากับวัตถุเหล่านั้นราวกับตัวตนของเราและวัตถุเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อเราฝึกฝนจนช่ำชอง วัตถุบางอย่าง แค่เพียงหยิบจับ ก็ราวกับกลายเป็นอวัยวะเสริมของตัวเรา และวัตถุบางอย่างค่อยๆ เปลี่ยนวิถีชีวิต ความรู้สึกนึกคิด และตัวตนในระดับจิตใจและชีววิทยาของเราไปทีละน้อย

หากมองในแง่วิวัฒนาการ อาจกล่าวได้ว่าไม่มีช่วงใดเลยที่มนุษย์ใช้ชีวิตโดยปราศจากการเชื่อมโยงกับวัตถุภายนอก ความสัมพันธ์ที่แนบชิดนำไปสู่วิวัฒนาการทางความรู้ ความคิด การรู้คิด วัฒนธรรม รวมถึง "เทคโนโลยี" ใหม่ๆ ถ้าวัตถุและมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างลึกซึ้ง เรา หรือกระทั่งบรรพบุรุษของเรา (รวมถึงสัตว์อีกหลายชนิด) ต่างก็เป็นไซบอร์กมาแล้วตั้งแต่เริ่มต้นใช่หรือไม่

คุณูปการอย่างหนึ่งของประสาทวิทยาศาสตร์คือชวนให้เรากลับมาทบทวนคำถามพื้นฐานต่างๆ เช่น อะไรคือมนุษย์ มนุษย์เป็นมนุษย์เช่นทุกวันนี้ได้อย่างไร มนุษย์ต่างจากสิ่งอื่นมากน้อยแค่ไหนและต่างเช่นนั้นจริงหรือ มนุษย์เป็น "มนุษย์" ในนิยามทางปรัชญามากน้อยเพียงใด นิยามของการเป็น "มนุษย์" ควรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และมีมนุษย์ที่เป็นแค่ "มนุษย์" ตามนิยามเดิมอยู่จริงหรือเปล่า

ภายใต้กระบวนการหาคำตอบผ่านการตั้งสมมติฐาน เสนอทฤษฎี พิสูจน์ ทดลอง และทดลองซ้ำ ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการและศักยภาพของสมองค่อยๆ ท้าทายสมมติฐานดั้งเดิมต่างๆ ของความรู้สายสังคมอย่างสุดขั้ว ปฏิกิริยาโต้กลับที่มีก็คือ ฝ่ายหนึ่งเลือกดีเฟนด์ให้กับคุณูปการมากมายของแนวคิดคลาสสิกและสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติ/มนุษย์/ธรรมชาติของมนุษย์ที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงวิทยาศาสตร์ ขณะที่อีกฝ่ายพยายามเข้าไป "บวก" กับความรู้ใหม่ๆ เหล่านั้นอย่างลองผิดลองถูก

https://www.facebook.com/phakin.nimmannorrawong/po...


- Bigger issue #1 : the change of society (modernity) : contradiction between conservative forces vs progressive forces (change vs resistance)

- Bigger issue #2 : different scenarios , and how to adapt to the changes.

คำสำคัญ (Tags): #Neuroprosthetics
หมายเลขบันทึก: 598064เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2015 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2015 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท