ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ควรถูกมองว่าเป็นสงครามทางศาสนา


เมื่อพระได้ตั้งหัวข้อที่ชวยให้ถกเถียงบนหน้าเฟซบุ๊คเขา สิ่งนั้นก็คืออาการหวาดกลัวของการรับรู้ในระดับประเทศ

เมื่อพระเถระ (a senior monk) จากวัดที่น่าเคารพแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ได้รับการบอกกล่าวในเรื่องข้อความดังกล่าว ซึ่งหลายคนจะมองว่าเป็นวาจาที่โหดร้าย (a hate speech)

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว พระ Apichart Punnajanto ได้ส่งข้อความผ่านหน้าเฟซบุ๊คว่า “ถ้าพระถูกฆ่าจากการยิงหรือถูกระเบิดในจังหวัดชายแดนใต้ในมือของโจรมลายูแล้วหละก็ มัสยิดต้องถูกเผา เริ่มจากทางเหนือไปจนสุดชายแดนภาคใต้” คำว่า “โจรมลายู” หมายถึง กบฏชาวมุสลิม ที่ต่อสู้กับรัฐไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในสงขลา อันเป็นที่ 80% ของคนจำนวน 2 ล้านคนเรียกตนเองว่ามาเลย์

ผู้ก่อการร้ายเริ่มก่อกวนตั้งแต่ปี 1960 และหยุดเคลื่อนไหวในช่วยปลายปี 1980 และเริ่มต้นอีกครั้งในต้น 1990 เรื่อยมาจนถึงปี 2001

นักวิชาการและผู้สังเกตเห็นพ้องต้องกันว่ากบฏที่ต้องการจะแยกพื้นที่เป็นเรื่องของชาตินิยมผสมกับชาติพันธุ์โดยแท้ (ethno-nationalist) และไม่ใช่เป็นเรื่องราวทางศาสนา

แต่คนหลายกลุ่มในประเทศ เช่น พระ Apichart มองความขัดแย้งเป็นเรื่องทางศาสนา มิใช่เรื่องอื่น

หลังจากที่ถูกกดกันจากรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจ และมหาเถรสมาคม พระ Apichart จึงตัดสินใจที่จะหยุดเฟซบุ๊คของตนเองไว้ชั่วคราว แต่ถ้า “ชาวพุทธเรียกให้ท่านกลับมา ฉันจะกลับมา”

ความวิตกกังวลเพิ่มเป็นอย่างมากในประเทศ เนื่องด้วยความโหดร้ายทารุณนี้ได้ก่อให้เกิดความโกลาหลมากกว่าทศวรรษ และทางแก้ไขก็ยังมองไม่เห็นเลย

การเจรจาเรื่องสันติภาพ (Peace talk) ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ก่อการกบฏบางกลุ่มเพิ่งเริ่มต้น แต่ไม่มีความก้าวหน้าอันใด หรือมีความหมายอันใดให้เกิดขึ้น นี่คือสาเหตุที่ทำไมความวิตกกังวลจึงเกิดขึ้นไปทั้งประเทศ

อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ควรจะเป็นอย่างพระ Apichart ที่มองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของศาสนา

เป็นเรื่องเศร้าที่จะกล่าวว่า ความขัดแย้งนี้ที่มาในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคถูกใช้ และก่อให้เกิดประเด็นทางการเมืองบางอย่าง สิ่งนี้รวมถึงการผลักดันของชาวพุทธชาตินิยม ที่ต้องการจะให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาของรัฐ และต้องการให้บรรจุการนำพุทธศาสนาเป็นศาสนาของรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับถัดไปด้วย

ไม่มีใครแน่ใจว่าหากพุทธศาสนาถูกบรรจุในรัฐศาสนาแล้วจะส่งผลให้เกิดการนับถือด้วยวิธีการอะไร ในเมื่อมีแนวโน้มถึงการแทรกแซงของราชการต่อเรื่องราวของพระสงฆ์ ถ้าพุทธศาสนาจะเจริญเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นในประเทศไทย ก็ต้องเป็นเรื่องของการทำงานของสังคม มิใช่รัฐ

การทำสงครามครูเสดที่ต่อต้านมุสลิมชายแดนใต้ของพระ Apichart ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ผิดๆ เช่น การตายของพวกกบฏโดยส่วนใหญ่ประมาณ 6,500 คนในพื้นที่เป็นมาเลย์มุสลิม

พวกพระที่ถูกฆ่าตายโดยผู้ก่อความไม่สงบนั้นจะถูกให้ความสนใจมากกว่า แต่จะไม่มีใครสนใจหรือพูดสิ่งใด หากมีอิหม่าม หรือผู้นำทางศาสนาอิสลาม ถูกฆ่าโดยกองทัพของรัฐบาล
ข้อความของพระ Apichart ดูแล้วเหมือนกับสถานการณ์ที่ไม่อาจประนีประนอมอีกต่อไปโดยพระชาวพม่า ซึ่งเป็นที่นักการเมืองทุกคนในพม่าปฏิเสธที่จะท้าทายโฆษณาต้านมุสลิมเหล่านั้น เพราะกลัวจะเสียคะแนนโหวต

ในขณะที่พระ Apichart จะไม่คล้ายกับพระชาตินิยมพม่า ซึ่งก็คือ พระ Ashin Wirathu (เป็นหัวหน้าของการโฆษณาต่อต้านชาวมุสลิมมในพม่า สารทั้งหมดของท่านจะต้องให้ความใส่ใจไว้ให้ดี

ก่อนหน้าที่จะโพสต์ในเฟซบุ๊คเมื่อเดือนที่แล้ว อารมณ์ต่อต้านมุสลิมก็ปรากฏในหลายแห่งในประเทศไทย และเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

ชาวบ้านในจังหวัดน่าน รวมทั้งชุมชนในเชียงใหม่-เชียงราย ได้ป้องกันไม่ให้มุสลิมที่อยู่ที่นั้นสร้างมัสยิดสำหรับชุมชนได้สำเร็จ พวกเขากล่าวว่า ไม่ต้องการที่จะเป็นเหมือนจังหวัดชายแดนภาคใต้

พวกชาวบ้านเหล่านี้ไม่เข้าใจว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ภาคใต้นั้นมาจากความขขัดแย้งทางชาตินิยมและลักษณะทางชาติพันธุ์เท่านั้น และเพิกเฉยต่อมุสลิมที่ซื่อสัตย์ในส่วนอื่นของประเทศ

ความไม่เข้าใจ และความเกลียดชังเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ ส่วนใหญ่เกิดจากการรายงานข่าวที่ไม่ได้ให้ภาพที่ถูกต้องต่อความขัดแย้งในภาคใต้

ยิ่งไปกว่านั้น ภาพแบบแบนๆและเรียบง่ายของสถานการณ์ ในสภาวะที่สับสนวุ่นวาย ที่ถูกนำเสนอโดยข้าราชการก็ยิ่งเติมเชื้อไฟเข้าไปอีก

เมื่อมองในแง่นี้ รัฐจะต้องถูกประณาม พวกเขาต้องแบ่งปันการประณามนี้ในเรื่องอารมณ์ต่อต้านมุสลิม เพราะความไม่พอใจและความไม่สามารถของพวกเขาในเรื่องใจความข้อปัญหา และการท้าทายสิ่งปรากฏอยู่ตรงหน้าพวกเขา


แปลและเรียบเรียงจาก

The Nation. Conflict in deep South must not be seen as a religious war

http://www.nationmultimedia.com/opinion/Conflict-in-deep-South-must-not-be-seen-as-a-relig-30272481.html

หมายเลขบันทึก: 597345เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2015 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2015 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชาวบ้านในจังหวัดน่าน รวมทั้งชุมชนในเชียงใหม่-เชียงราย ได้ป้องกันไม่ให้มุสลิมที่อยู่ที่นั้นสร้างมัสยิดสำหรับชุมชนได้สำเร็จ พวกเขากล่าวว่า ไม่ต้องการที่จะเป็นเหมือนจังหวัดชายแดนภาคใต้.....

ถ้าข่าวข้างบนเป็นจริง ก็อาจเป็นเรื่องของคนไม่กี่คน คนทั่วไปไม่เห็นพูดถึงเรื่องนี้เลยค่ะ

แต่หลายปีมาแล้ว น่าจะสิบกว่าปีเคยอ่านใบปลิวที่คล้ายจะเป็นประกาศเจตน์จำนงอันแน่วแน่ของพี่น้องมุสลิมที่จะให้มีการสร้างมัสยิดทั่วทุกจังหวัดทั่วแผ่นดินไทยให้มากขึ้น และเรื่องอื่น ๆอีกหลายข้อ ...ก็ลืมไปเลย

ศานาไม่ได้มีปัญหา

คนต่างหากมีปัญหา

เรามีเพื่อนมุสลิมเต็มไปหมดเป็นคนดีมากๆเลย

มาเชียร์ครูต้นเขียนเรื่องนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท