มหา’ลัย มหาหลอก !!


การศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงยังคงเป็นค่านิยมของนักเรียนและผู้ปกครองของสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งมีความเชื่อที่ว่าหากได้เรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจะสามารถนำมาซึ่งความรู้ ความสามารถและหน้าที่การงานที่ดี และไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่จริง ซึ่งก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าคนที่จบการศึกษาจากสถาบันที่ไร้ซึ่งชื่อเสียงแล้วจะไม่มีงานทำหรือตกงานฉะนั้นสำคัญอยู่ที่ตัวคนมากกว่าเพราะสมัยนี้มีการศึกษาทางเลือกหรือการศึกษานอกระบบที่ไม่ยึดติดกับระบบการศึกษาแต่ให้องเรียนก็ยังมีคนคนสนใจอยู่ไม่น้อย

ประเด็นสำคัญที่จะพูดถึงคือรูปแบบหรือวิธีการรับสมัครนักศึกษาต่อของสถาบันการศึกษาต่างๆที่สร้างความสับสนให้กับนักเรียนและผู้ปกครองไม่น้อย ซึ่งต่างจากระบบเก่าที่มีเพียงการสอบเอนทรานซ์ (Entrance)ที่จะให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่6 สอบได้ครั้งเดียวตามสาขาวิชาที่ตัวเองสนใจ แต่ปัจจุบันจะมีรูปแบบการรับสมัครที่หลากหลายแต่หลักๆจะมี 2 รูปแบบ คือ ระบบรับตรง และแอดมิชชัน ประเด็นปัญหาอยู่ที่ระบบรับตรงซึ่งจะทำให้นักเรียนและผู้ปกครองแต่ละคนจะวิ่งรอกสอบกันจ้าละหวั่นกล่าวคือ จะมีรูปแบบการสอบดังนี้

  • สอบรับตรง กสพท.
  • การยื่นคะแนน GAT PAT
  • การยื่นคะแนน 7 วิชาสามัญ / 9 วิชาสามัญ
  • โควตาอื่นๆ เช่น นักกีฬา ความสามารถพิเศษ เรียนดีฯลฯ

นี้แค่การสอบรับตรงอย่างเดียวนะครับ ยังมีการสอบ GAT PAT ปีละ 2 ครั้ง(หากยังไม่พอใจคะแนนครั้งแรก) และไหนจะมีการสอบสัมภาษณ์ยื่นโครงการโน้น นี่ นั่น เหล่านี้คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยต่างๆ พยายามคิดหารูปแบบเพื่อเฟ้นหานักเรียนที่เก่งและมีคุณภาพเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยตัวเอง(ทั้งที่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับเอเชียหรือระดับโลกประเทศไทยก็ยังไม่มีมหาลัยไหนโดดเด่น)ซึ่งแน่นอนสิ่งที่ตามมาคือนักเรียนและผู้ปกครองแต่ละคนต้องด้นรนเพื่อทำทุกวิถีทางในการจะได้เรียนในคณะที่ฝันและสิ่งที่หนีไม่พ้นคือค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการเดินทาง การพัก เพราะต้องเสี่ยงดวงจากมหาวิทยาลัยที่1 ไป 2 และ3 หากยังไม่ได้คณะที่ตั้งใจ

ย้อนกลับมาสู่ปัญหาของโรงเรียนซึ่งอย่าลืมว่านักเรียน(ม.6)ดังกล่าวยังมีการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ยังเหลือเวลาอีก 1 ปีหรือ 2 เทอมที่ต้องเรียนให้จบหลักสูตร แต่..บางมหาวิทยาลัยดันกำหนดเวลาตั้งแต่เทอมที่ 1และแน่นอนนักเรียนก็ต้องออกนอกห้องเรียนเพื่อไปสู่กระบวนการสรรหาในรูปแบบต่างๆที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้และสิ่งที่เห็นได้ในทุกปีคือ การเปิดรับ จะมีรอบต่างๆ ให้นักเรียนได้วิ่งไล่สมัครและไปสอบ ครั้งแล้ว ครั้งเล่าและสิ่งที่หนักไปกว่านั้นคือการที่บางคณะ บางมหาวิทยาลัย ต้องบังคับให้นักเรียนจ่ายเงินยืนยันการเรียนต่อตั้งแต่แรกหรือที่เรียกว่า เคลียริ่งเฮาส์ (Clearinghouse)นำมาซึ่งการสับสนเพราะนักเรียนหลายต่อหลายคนยอมทิ้งเงินส่วนนั้น(ตอนแรกคิดว่าใช่)แต่พอผลการสอบ GAT PAT ออกมาแล้วคะแนนสูงสามารถเลือกคณะที่สนใจกว่าได้ก็ต้องยอมทิ้งเงินส่วนนั้น หรือบางคนพอเรียนไปแล้วไม่ไหว(อาจเรียนตามใจพ่อแม่ ตามเพื่อน)ก็นำมาซึ่งการซิ่(ออกมาเรียนปี 1 ใหม่) เหล่านี้ผมเชื่อแน่ว่าเป็นสิ่งที่นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และมหาวิทยาลัยต่างๆทราบดี แต่..ใครล่ะจะช่วยกันแก้ปัญหา หรือว่ามหาลัย จะยังคงเป็น มหาหลอก ต่อไป...

แหล่งอ้างอิง

http://www.dek-d.com/admission/34901/ สืบค้น วันที่ 15.11.58

http://admission.ku.ac.th/สืบค้น วันที่ 15.11.58

https://admission58.wordpress.com/สืบค้น วันที่ 15.11.58

หมายเลขบันทึก: 597340เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2015 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2015 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..ใครล่ะจะช่วยแก้ปัญหา..หรือว่ามหาลัยยังจะคงเป็นมหาหลอกต่อไป..

(มันเป็นเช่นนั้น...ธรรมดา..ๆๆๆธรรมชาติ)..ใช่ไหม?เอ่ย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท