​ความขัดแย้ง และอนาคตของมุสลิม และชาวพุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



ความขัดแย้งที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และการแตกความสามัคคีในสังคมพุทธจากศรีลังกา จนมาถึงญี่ปุ่น กลายมาเป็นสาธารณะ ที่การสัมมนา เรื่อง 25 ปีแห่งความทรงจำ: พุทธศาสนา, ความขัดแย้งกันทางเชื้อชาติ, และความสามัคคีทางศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (เป็นการสัมมนาที่จัดขึ้นโดยศูนย์กลางการศึกษาชาติพันธุ์นาๆชาติ เมื่อเดือนที่แล้ว ณ กรุง Kandy ประเทศศรีลังกา)

การสัมมนานี้ก็คือการจัดครั้งที่ 2 ที่ต่อจาก 25 ปีที่แล้ว ในหัวข้อ “ความขัดแย้งทางเชื้อชาติในสังคมชาวพุทธ: ศรีลังกา, ประเทศไทย, และพม่า”

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมและชาวพุทธมีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีเหตุการณ์ เช่น การทำลายพระ Bamiyan โดยกลุ่มตาลีบันแอฟริกัน ในปี 2001 และยังมีการระเบิด Bodh Gaya ซึ่งเป็นการใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา ในปี 2013 นอกจากนี้ยังมีการเกิดขึ้นของกลุ่ม 969 ในพม่า (เป็นกลุ่มพุทธชาตินิยม ที่ต้องการกำจัดอิทธิพลของอิสลามต่อพม่า) และการเกิดขึ้นของชาวพุทธชาตินิยม ที่ชื่อ Bodu Bala Sena (BBS) ซึ่งควบคู่ไปกับการจลาจลในศรีลังกาเมื่อเดือนที่แล้ว ในทุกๆเหตุการณ์ ความรุนแรงจะทำให้ขยายตัวด้วยชื่อของอิสลามหรือพุทธศาสนาเสมอ

ประเทศที่เป็นมุสลิมจำนวน 57 ประเทศ ขององค์กรความร่วมมือแห่งอิสลาม (the Organisation of Islamic Cooperation (OIC)) เลือกที่จะไม่พูดกรณีพระ Bamiyan และการระเบิด Bodh Gaya แต่เข้าข้างโรฮิงญา และ ชะตากรรมของมุสลิมศรีลังกา การกระทำทั้งสองอย่างนั้นมิได้สร้างสะพานระหว่างอิสลามและชาวพุทธเลย สิ่งนี้บ่งบอกถึงนัยยะพิเศษในการรวมความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน ที่มุสลิมและพุทธศาสนาต้องอยู่ร่วมกัน เพราะเป็นสังคมที่มีผู้นับถือที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบไปด้วยประชากรจำนวน 618 ล้านคน ซึ่งประกอบไปด้วย 42% (240 ล้านคน) ที่เป็นชาวมุสลิม และ 40% (150-190 ล้านคน) ที่เป็นชาวพุทธ นอกจากนี้ 25% ของประชากรโลกเป็นชาวมุสลิมจำนวน 1.6 ล้านคน อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นบ้านของ 38% ของประชากรโลก 350 ล้านคนเป็นชาวพุทธ พุทธศาสนาหยั่งรากลงในศตวรรษที่ 7-11 และอิสลามจะอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 12-15

งานวิจัยจะมีการสัมมนาอยู่ 2 วัน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับชาติพันธุ์ในรัฐ ในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ โดยส่วนใหญ่จะเป็นจริยธรรมชาวพุทธเพื่อการสร้างความสามัคคีหลังจากความขัดแย้ง, ขบวนการ Bodu Bala Sena ที่เป็นชาวพุทธชาตินิยมในศรีลังกา, ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ของพม่า, ยุทธวิธีในการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้, วิธีการที่ชนกลุ่มน้อยในกัมพูชามีความสัมพันธ์กับประชากรชาวพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่, และความร่วมมือทางการเมืองระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม

งานวิจัยยังได้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในโลกของชาวมุสลิมและชาวพุทธ มีตั้งแต่ทางตอนใต้, ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางเอเชียตะวันออก, โลกของเถรวาทและมหายานของชาวพุทธ, และชาวมุสลิมเอเชีย ที่อยู่ห่างไกลมากกว่า ซึ่งจะอยู่ในตะวันออกกลาง

นอกจากนี้จะมีการอภิปรายกันถึงเรื่องความขัดแย้งในเชิงศาสนากับชาติพันธุ์ในพม่าและศรีลังกา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง และความเมตตากรุณาความเห็นใจทั้งในสังคมชุมชนและโลกในหมู่ชาวมุสลิมและชาวพุทธด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการนำเสนอถึงการแตกหักระหว่างศาสนา แต่จริงๆแล้วจะเป็นเรื่องความขัดแย้งในชุมชนระหว่างโรฮิงญาที่เป็นอินโด-อารยัน กับชาวพม่าที่เป็นมองโกลอยด์, ระหว่างชาวพุทธสิงหลกับชนกลุ่มน้อนที่พูดภาษาทมิฬ/สิงหลที่เป็นชุมชนมุสลิมในศรีลังกา ซึ่งผู้นำทางการเมืองของเขารับศาสนาอิสลามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ เพื่อที่จะแยกตนเองออกไปจากชาวคริสต์ฮินดู/ทมิฬ และชาวพุทธสิงหล ในขณะที่อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เหล่านี้นำมาซึ่งผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองในอดีต แต่ตอนนี้กลับเป็นระเบิดที่มีต่อชาวมุสลิมสิงหล เนื่องด้วยเกิดชาวพุทธชาตินิยม และพยายามที่จะครอบครองในยุคหลังสงครามกลางเมือง

หัวหอกชาวพุทธชาตินิยมในศรีลังกา ก็คือ Bodu Bala Sena (BBS). และก็เป็นเช่นเดียวกับพรรคการเมืองที่เป็นชาตินิยมอื่นๆ พรรค BBS ไม่พึงพอใจกับการเมืองที่แยกระหว่างรัฐกับศาสนา (inclusive politics) แต่จะมองศาสนากับรัฐเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การสัมมนาที่เมือง Kandy จะมีตั้งแต่เจ้าหน้าที่การจัดการของ BBS ชื่อ Dilanthe Withanage ซึ่งเคย

กล่าวว่ากลุ่มต้องการที่จะปกป้องและฟื้นคืนพุทธแบบสิงหลขึ้นมาเพื่อให้เป็นพลังทางสังคมและพลังทางการเมืองในศรีลังกา หลังจากถูกทำลาย โดยความเป็นอาณานิคมและมิชชันนารีชาวคริสต์ เขากล่าวว่าศาสนาพุทธในศรีลังกาถูกลดทอนลงจนเหลือแค่พิธีกรรมและหนังสือเท่านั้น พระถูกบวชโดยให้ห่มสีเหลือง มิใช่จากจิตวิญญาณ รัฐสภาชาวพุทธแบบสิงหลไม่เคยต่อสู้เพื่อศาสนา และสิทธิความเป็นเชื้อชาติประชากรชาวพุทธที่เป็นเสียงข้างมาก ในขณะที่ผู้แทนของชนกลุ่มน้อยจะปกป้องศาสนาและสิทธิของตนเองมากกว่าชาวพุทธ เขายังได้ย้ำเตือนถึง 70% ของชาวพุทธสิงหลที่ถูกแบ่งแยก เปิดโอกาสให้ 10% ของสังคมศาสนาที่เป็นชนกลุ่มน้อยมีการตัดสินใจทางการเมืองที่มีลักษณะสำคัญ ดังนั้นประชาธิปไตยจึงไม่เหมาะสมกับชาวพุทธแบบสิงหลที่เป็นคนส่วนใหญ่ได้ เขาเพิ่มเติมว่าโครงสร้างของรัฐบาลแบบอาณานิคม และความยุติธรรมนั้นไม่เหมาะกับประชากรชาวพทธ และความคิดทางการศึกษาแบบตะวันตก, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, รวมถึงความหลากหลายทางศาสนา ที่เกิดขึ้นผ่านระบบการศึกษา และสื่อกำลังเพิ่มพลังชนกลุ่มน้อย

ดังนั้นสถานการณ์ของชาวพุทธแบบสิงหลในฐานะที่เป็นสังคม ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในประเพณีแบบพุทธเถรวาทมาประมาณ 2,300 ปี ตอนนี้จึงถูกคุกขามด้วยพลังทางโลก และต้องการการสนับสนุนจากชาวพุทธนาๆชาติ หากมีการมองข้ามการปกป้องศาสนาพุทธในรัฐธรรมนูญ แต่พวก BBS ยืนยันว่ามีความจำเป็นในการพิจารณาสังกัปในเรื่องชนกลุ่มใหญ่-ชนกลุ่มน้อย เพื่อที่ว่าสถานภาพของชนกลุ่มใหญ่จะได้การยอมรับ การลดลงของประชากรชาวสิงหลคือการทุบทำลายซึ่งศรัทธา สุดท้ายจะนำไปสู่การปิดวัดและสถาบันทางพุทธมากขึ้น ดังนั้น จะมีการความจำเป็นอย่างรุนแรงในการรื้อฟื้นสังคมชาวพุทธ โดยการผ่านการพัฒนาทางสังคม, การสร้างรุ่นใหม่ที่มีความกล้า รวมทั้งพระที่มีความเป็นตนเอง, เพื่อที่จะจัดแจงการศึกษาทางพระเพื่อที่จะสอดคล้องกับการท้าทายของความเป็นโลก, เปลี่ยนวัดให้กลายเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางสังคม, สร้างองค์การของแม่ชี, พยายามทำให้ธรรมะเจริญเติบโต, โฆษณาองค์กรชาวพุทธ, ป้องกันพื้นที่ที่เป็นมรดกทางศาสนา และ จัดการกับกิจกรรมที่ต่อต้านความเป็นพุทธทั้งในชุมชน และนาๆชาติ

ข้อเรียกร้องในการอนุรักษ์พุทธแบบสิงหล ทำให้ขบวนการ BBS เป็นพลังทางสังคมการเมืองที่มีชื่อเสียง ในหมู่เยาวชนและมวลชน แต่ไม่มีชื่อเสียงในหมู่เสรีนิยม และพุทธสายกลาง มันเป็นความกลัวที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ศรีลังกา และมี 2 ประเด็นกับ 7% ของประชากรที่เป็นมุสลิม

1. ขบวนการ BBS มองว่าการขยายของอิสลาม Wahhabi ที่เป็นการเคร่งศาสนา-ซึ่งมีชื่อในการรับวัฒนธรรมแบบอาหรับ และการแต่งชุดที่มีการปิดหน้า และมีการใช้ผ้าขาวสำหรับผู้ชาย (ที่เรียกว่าโต๊บ)-เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการแตกแยก ทัศนะนี้เป็นที่รับรู้ในหมู่ชาวพุทธในหลายประเทศ, นอกจากนี้ยังเป็นการเตือนถึงแนวโน้มในหมู่ประชาชนชาวมุสลิม

2. ขบวนการ BBS ต่อต้านการติดตั้งเครื่องหมาย Halal ว่าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในศรีลังกา เพราะมองว่าสิ่งนี้เป็นการทำให้ศาสนาอิสลามเข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร

แปลและเรียบเรียงจาก

Imtiyaz Yusuf. Conflicts and the future of Islam and Buddhism in SE Asia.

หมายเลขบันทึก: 597194เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2015 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนอาจารย์ ต้น ได้ความรู้ลึกมากจากบันทึกนี้

ปกติพวกเรามุสลิม ที่อยู่ตามจังหวัดอื่นๆ(ยกเว้น สามชายแดนใต้)ไม่รู้สึกถึงความขัดแย้งทางศาสนา

ทุกปี มีงาน มีเทศกาล เราพาขนมต้มแกง ไปให้กันตลอด

อีกทั้งพิธีกรรมบางอย่าง เราก็ไม่แปลกแยก

จนเกิด วาทะกรรมว่า.....

พิธีกรรมต่างๆ เป็นของศาสนาพรามห์ ลามเข้าศาสนาพุทธ หลุดมาติดที่อิสลาม....

คนเขียนเป็นอ.ชาวทัสมาเนีย ทำงานอยู่ที่เอแบครึเปล่าครับอ.ต้น อยากขอนุาตไปแชร์ที่เฟสด้วยครับ

เรียนคุณ ส.รตนภักดิ์ เรื่องผู้เขียน ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท