จิตอาสา เป็นเครื่องมือพัฒนา "ตนเอง"


องค์กรฉือจี้จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยหรือไม่ หรือ ในประเทศไทยจะมีองค์กรอย่างฉือจี้เกิดขึ้นหรือไม่


ภาพนี้ประยุกต์มาจากแนวคิดของท่านอาจารย์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ครับ

ประมาณว่า เป็นหลักกิโลที่ใช้วัดพัฒนาการขององค์กร

ให้สังเกตุขั้น 3 จิตอาสา ครับ


จากประสบการณ์ของผม ในการพัฒนาองค์กรหลาย ๆ แห่ง

พบว่า หลายองค์กรถ้ามีคนจิตอาสาขั้น 3 ในองค์กร จะทำให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่มากขึ้น

ยกตัวอย่าง ที่สำนักเขตพื้นที่แห่งหนึ่ง มีหัวหน้างานวัยใกล้เกษียณ

ที่มีจิตอาสา มีเมตตา หุงข้าวมาเผื่อยาม คนงาน ที่ต้องตื่่นมาทำงานแต่เช้ากว่าคนอื่น ๆ

คุณป้าท่าน i in you ทราบว่า ทั้งยามและคนงานที่ออกมาทำงานตั้งแต่ตี 5 นั้น คงไม่มีเวลาหุงหาอาหาร

ท่านจึงมีน้ำใจหุงมาเผื่อ เป็นการมอบความเมตตา มอบความสุขให้กันและกัน หนอ



หลายปีก่อน ผมไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่โรงพยาบาล ตอนนั้นยังไม่ถึงเวลาเยี่ยม

จึงแวะไปหาหนังสือที่ศูนย์หนังสือมาอ่านเล่น

ได้หนังสือ "ฉือจี้" ที่ท่านหมอประเวศ วะสี เป็นบรรณาการเขียน

ผมอ่านติดต่อกันอยู่หลายวัน และก็เห็นด้วยกับแนวคิดขององค์กร "ฉือจี้"

ที่เน้นเมตตา เน้นจิตอาสานำ และมีพุทธธรรมมหายาน เป็นฐานแนวคิด

ตอนนั้น ผมเกิดคำถามว่า องค์กรฉือจี้จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยหรือไม่

หรือ ในประเทศไทยจะมีองค์กรอย่างฉือจี้เกิดขึ้นหรือไม่



จนในเวลาต่อมา ผมได้รู้จักและสัมผัสกับหลักสูตร "ครูสมาธิ"

ที่กลไกขับเคลื่อนหลัก คือ "จิตอาสา" หนอ



หมายเลขบันทึก: 596723เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2015 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2015 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยครับ งานจิตอาสา ทำแล้ว happy ครับ

ชื่นชมอาจารย์มาเสมอ และยังชื่นชมมาถึงวันนี้

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท