มีคำถามที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่าทำไมเราจึงไม่พัฒนาเรื่องต่างๆให้ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือแท้จริงแล้วยังมีคนที่ไม่ต้องการพัฒนาเหลืออยู่ในโลกนี้อีกหรือ
คำตอบง่ายๆที่แทบไม่ต้องคิดเลยว่า ไม่น่าจะมีใครที่ไม่อยากพัฒนา หรือแก้ไขตัวเองในเรื่องที่เป็นปัญหาในการดำรงชีวิตของตนเอง
ถ้าเช่นนั้นอะไรคือขีดจำกัดกันแน่ ทุกคนอยากเป็นคนดี อยากเป็นพระเอกนางเอก แต่ทำไมไม่ทำ ผมเคยท้าให้ไปถามผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคนร้ายว่า ถ้าเลือกได้ยังอยากเป็นคนดีอยู่ไหม ผมคิดว่าไม่ต้องรอคำตอบ แต่เราตอบแทนล่วงหน้าได้เลย ว่าเขาเหล่านั้น อยากเป็นคนดีแน่นอน
แล้วทำไมเขาเหล่านั้นจึงทำในสิ่งที่สังคมมองว่าไม่ดี
ผมมานั่งพิจารณาอยู่หลายยก ได้ข้อสรุปมาแลกเปลี่ยนกับท่านผู้รู้ทั้งหลายว่า ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ความ(ไม่)รู้ ความ(ไม่)สามารถ(ทักษะ) และ ความกลัว (พลาด) ๒ ประเด็นนี้ วนไปวนมา เป็นวังวนของการไม่พัฒนาก็ว่าได้ ก็เลยเป็นผลให้เขาทำแบบเดิมๆ เท่าที่รู้และสามารถ (ทักษะและทรัพยากร) และมั่นใจว่าจะได้ผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของตนเอง ที่อาจส่งผลเสียกับใคร เท่าไหร่นั้น ไว้ว่ากันทีหลัง
ผมว่าที่ผมคิดมาไม่เห็นยุ่งยากซับซ้อนตรงไหน แต่ทำไมเราไม่รีบทำ(แก้ไข)กันซะที เอ....หรือว่าเรายังไม่รู้ไม่มีทักษะ และ/หรือ ไม่กล้าทำกันแน่
ถ้าเราจะทำ KM เพื่อพัฒนาทักษะและลดความกลัวกันดีไหมครับ เราจะได้ไม่มีทางตันแต่มีทางออกในการพัฒนาประเทศชาติ ทรัพยากร และสังคมในเรื่องต่างๆกันอีกต่อไป
๑๔ พย ๔๙
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน ใน ความรู้เพื่อชีวิต
คำสำคัญ (Tags)#วังวนความไม่รู้
หมายเลขบันทึก: 59590, เขียน: 14 Nov 2006 @ 12:39 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 16:21 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 2, อ่าน: คลิก
ผมว่าต้องย้อนไปดูวิธีเลี้ยงลูก เปรียบเทียบแบบไทย กับแบบฝรั่ง พอจะเอามาเทียบกันได้ไหมครับอาจารย์ พ่อแม่ไทยกลัวลูกเจ็บ แต่พ่อแม่ฝรั่งต้องการให้ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงไม่มีการโอ๋..