เสวนาจานส้มตำ ๑๕ : จะสร้างชุมชนเข้มแข็งที่กาฬสินธุ์ต้องทำอย่างไร เมื่อจะเรียนรู้จาก gotoknow


“แล้วเราจะเรียนรู้จาก gotoknow เพื่อนำความรู้มาสร้างชุมชนเข้มแข็งที่กาฬสินธุ์ได้อย่างไรล่ะ???”

จากการที่นายบอนแนะนำให้เพื่อนๆเข้ามาอ่านบันทึกใน gotoknow กอบโกยความรู้ให้เต็มที่ ผลตอบรับที่เห็น แม้ว่าเพื่อนๆจะยังไม่เข้ามาเขียนบันทึก แต่เพื่อนๆมักจะหยิบประเด็นมาพูดคุยกันต่อ

และนี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ขอนำมาบันทึกไว้ครับ เรื่องชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ได้จากบันทึกใน gotoknow แล้วนำมาพูดคุยกัน


<h3>“เรื่องของการสร้างชุมชนเข้มแข็งในขณะที่ยังคงมีความยากจนอยู่ จะทำอย่างไรจึงจะเกิดเป็นรูปธรรม เพราะอ่านบันทึกใน gotoknow มีผู้สรุปหลักการ แนวทางไว้ แต่ยังไม่เข้าใจมากนัก”</h3>

+ + + + ประเด็นที่เปิดขึ้นมานี้ แสดงว่า ที่เพื่อนๆของนายบอน
1) อ่านใน gotoknow แต่ไม่เข้าใจ เนื้อหาในบันทึกอาจจะกระชับเกินไป
2) ไม่มีประสบการณ์ มองไม่ออก
3) ยังไม่เคยลงมือทำ
4) อยากให้ขยายความ
5) บันทึกที่อ่านแล้ว เนื้อหาดูดีแต่ยังคลุมเครือ
6) ไม่ชัดเจน

นายบอนจึงอ้างอิงถึงบันทึกที่น่าจะเสวนาเจาะลึกลงไปถึงรายละเอียดที่มากขึ้น กับบันทึกนี้ของ หนึ่งตะวัน

การแปรวิกฤตความยากจนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง จะต้องอาศัยปัจจัยในการขับเคลื่อน 3 อย่างด้วยกันคือ “ ใจ สมอง และสองมือ”




บางทีน่าจะทำให้มองภาพออกได้บ้าง

คู่สนทนา  “ หลักการ แนวทางที่กล่าวมานั้น อยู่ที่ปากพนัง ทางภาคใต้ แต่ถ้ามองมาที่กาฬสินธุ์ หรือมองจากข้อมูลของหนองสรวงที่ถูกจัดทำเป็น E-book ที่ www.sasukmsu.com/nongsueng ยังมองไม่ออกว่า ถ้านำมาใช้ที่กาฬสินธุ์ จะทำได้จริงหรือ อยากให้ฉายภาพให้เห็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น”

”ความจริงก็อยากจะให้พี่ น.เมืองสรวง เจ้าของ E-book ที่คลุกคลีใน gotoknow เป็นผู้ฉายภาพใกล้ตัวให้เห็นบ้าง ถ้ามองบันทึกจากที่ปากพนังแล้ว หันมามองที่หนองสรวงบ้านเกิดแล้ว จะมีความคิดเห็นอย่างไร”

ประเด็นนี้ คงต้องรอให้คุณ น.เมืองสรวงเขียนบันทึกเรื่องนี้ขึ้นมาเอง เมื่อเขาพร้อมที่จะเขียนล่ะครับ


แต่ในบันทึกของคุณหนึ่งตะวัน ให้แนวทางไว้ว่า
<h3>“ต้องอาศัย ใจ สมอง และสองมือ เชื่อมโยงรวมจิต รวมใจเพื่อให้แต่ละพื้นที่เรียนรู้และพัฒนาไปจนครบวงจรก็จะก้าวไปสู่สังคม แห่งความสุขอย่างยั่งยืนได้ “</h3>
การตั้งวงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนอก gotoknow ครั้งนี้ น่าจะประยุกต์ใช้แนวทางจากบันทึกของคุณหนึ่งตะวัน + เชื่อมโยงการเรียนรู้ของเพื่อนๆ + ประสบการณ์ของ น. เมืองสรวงได้

ด้วย ใจ สมอง และสองมือนั่นเอง ซึ่งตอนนี้ จากบันทึกของคุณหนึ่งตะวัน ได้ความรู้และแนวทางที่กลั่นออกมาจาก สมองของคุณหนึ่งตะวันแล้ว

เหลือแต่ใจ สมอง กับสองมือของ เพื่อนๆ + คุณ น.เมืองสรวง กับการแปรวิกฤตความยากจนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งที่กาฬสินธุ์แล้วล่ะ

“ปัจจัยขับเคลื่อนข้อแรก คือ ใจ ที่บอกว่าให้ตั้งปณิธานในทางที่ดี – คือการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ปัจจุบันนี้ อยู่อย่างพอเพียงตามฐานะและรายได้ที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแล้ว ส่วนสองมือทุกคนมีครบ ไม่ได้พิการ ทำงานได้ทุกอย่าง แต่สมองนี่สิ  มีความรู้ไม่เท่าไหร่ ทำให้การอ่านบันทึกใน gotoknow อ่านแล้วพอรู้เรื่อง แต่มองภาพจริงๆยังมองไม่ออก”


* *
คงต้องหาคำอธิบายที่ใกล้ตัวมากที่สุด ซึ่งในตอนต้นได้มีการตั้งประเด็นว่า

.......ถ้านำมาใช้ที่กาฬสินธุ์ จะทำได้จริงหรือ อยากให้ฉายภาพให้เห็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้ามองบันทึกจากที่ปากพนังแล้ว หันมามองที่หนองสรวงบ้านเกิดแล้ว จะมีความคิดเห็นอย่างไร……

นำแนวทางจากสถานที่ที่ลงมือทำแล้ว มาอธิบายในสถานที่ที่อยากจะลงมือทำ คงต้องลองดูสักตั้งหนึ่ง

<h3>ในส่วนของสมอง คุณหนึ่งตะวันให้หลักไว้ว่า</h3><h3>1) รู้จักวางแผนร่วม</h3><h3>2) เพื่อนำไปสู่การจัดการร่วมกัน</h3><h3>3) แล้วจะได้รับประโยชน์ร่วม</h3><h3>4) ที่สำคัญจะทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้</h3>
ถ้าให้นายบอนมองจากหนองสรวงกับโครงการที่คุณ น.เมืองสรวงเคยทำมาแล้ว ช่วงที่ น.เมืองสรวงทำงานที่ โคราช และอยุธยา เช่นการริเริ่มรวมตัวกันตั้งชมรมอาสาพัฒนาตำบล ทำการประสานให้คำปรึกษาข้อมูลและช่วยจดแจ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นการวางแผน และมีการจัดการร่วมกัน กลุ่มอาชีพก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ชมรมอาสาพัฒนาของเขา ได้ลงมือลงแรง ทำโครงการเพื่อตอบแทนถิ่นฐานบ้านเกิด  โดยทุกคนใช้ สองมือร่วมกับคนอื่นๆ ร่วมมือร่วมใจ เกิดความสามัคคี

เมื่อลงมือทำโครงการ จนเกิดผลงานขึ้น แต่ละคนเริ่มเกิดความเชื่อมั่น พร้อมที่จะก้าวเดินไปด้วยกันในการร่วมทำโครงการต่างๆในครั้งต่อๆไป หากทุกคนลงมือทำงาน วางแผนอย่างต่อเนื่องจะเห็นผลงานที่ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่รูปแบบการทำงานของ น.เมืองสรวงและกลุ่มเพื่อน เป็นรูปแบบการรวมตัวแบบหลวมๆ เพราะหลายคนทำงานอยู่ต่างถิ่น แต่การที่มีปณิธานร่วมกันได้ แม้จะห่างไกลกัน แต่โครงการก็สามารถที่จะขับเคลื่อนไปได้



“เท่าที่ติดตามบันทึกของพี่ น.เมืองสรวงกับบันทึกของคนอื่นๆ เนื้อหาที่พี่ น.เมืองสรวงถ่ายทอดออกมา ดูมีความเข้มแข็งน้อยกว่า เนื้อหาที่คนอื่นๆ รวมทั้งคุณหนึ่งตะวันเขียนออกมาเสียอีก  แสดงว่า แนวทางในการขับเคลื่อนของ น.เมืองสรวง แตกต่างจากแนวทางของคุณหนึ่งตะวันหรือเปล่า หรือว่า ต่างคนต่างมีแนวทางของตัวเอง”


การอ่านบันทึกใน gotoknow ทำให้หลายคนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจริงๆ ถึงขนาดที่สังเกตถึงเนื้อหาได้ว่า บันทึกของคุณ น.เมืองสรวง มีความเข็มแข็งน้อยกว่าบันทึกคนอื่นๆ

อันที่จริงแล้ว ทักษะในการเขียนบันทึก การหยิบประเด็นเพื่อถ่ายทอดความรู้ของหลายคน แตกต่างกัน

เมื่อหยิบประเด็นจากบันทึกของคุณหนึ่งตะวัน ที่บอกว่า ให้เน้นทำงานในพื้นที่เล็ก เพราะ
1) การทำงานในพื้นที่ใหญ่จะไม่แน่นหนา หลวม
2) พื้นที่ยิ่งใหญ่ยิ่งทำยาก
3) พื้นที่เล็กสามารถจัดการร่วมกันได้
4) พื้นที่เล็กเกิดความเข้มแข็งกว่า
5) ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

รูปแบบของคุณ น.เมืองสรวง ท่านจะมีแนวทางในรูปแบบของตัวเองในการทำงานแบบระยะไกล กับเป้าหมายในการที่จะพัฒนาพื้นที่เล็กๆ ในตำบลหนองสรวง ในแบบที่จะสามารถทำได้ แม้จะมีข้อจำกัดมากมาย แต่ยังคงมีความพยายามและตั้งใจทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

ช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงเก็บเกี่ยวความรู้ และประสบการณ์จาก gotoknow เมื่อวันหนึ่งพร้อม และย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านเกิด ช่วงนั้น ความรู้ที่อัดแน่นคงจะระเบิดออกมา เหมือนท่อประปาแตก กลับมาพลิกฟื้นบ้านเกิดตามแนวทางที่ตั้งใจไว้

เมื่อยังไม่พร้อมเต็มที่ในการลงมือทำ  บันทึกของ น.เมืองสรวงที่ถ่ายทอดออกมา จะให้เนื้อหามีความเข้มแข็งเทียบเท่ากับ นักพัฒนาที่ได้ลงมือทำจนเกิดผลสำเร็จแล้วได้อย่างไรกันล่ะ

“แล้วมีแนวโน้มว่า พี่ น.เมืองสรวงจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิด สร้างชุมชนเข้มแข็งที่หนองสรวงได้จริงหรือ เพราะอ่านใน E-book แล้ว พี่เขาใช้เวลานานหลายปี แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่นัก ดูคล้ายกับไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากคนอื่นมากนัก”


งานหลายอย่าง มีทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว แนวคิดหลายอย่าง คนในชุมชนอาจจะยังไม่เข้าใจ จึงลังเลที่จะร่วมมือด้วย แต่ที่ผ่านมา น.เมืองสรวงก็มีแนวทางในการจัดการอย่างที่บันทึกของ คุณหนึ่งตะวันได้กล่าวไว้ว่า

<h2>การจัดการที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย</h2><h2>1) ข้อมูล</h2><h2>2) ความรู้</h2><h2>3) ตัวชี้วัด</h2><h2>4) เป้าหมาย</h2>
น.เมืองสรวงเคยจัดทำโครงการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อชุมชนที่ นครราชสีมา ได้ลงมือเขียนรายละเอียดของโครงการ วัตถุประสงค์ ออกแบบกิจกรรมของเครือข่าย และยังวิเคราะห์ถึงจุดเด่น ความสำเร็จ / ศักยภาพของเครือข่าย ปัญหาอุปสรรค /แนวทางแก้ไข เป้าหมายที่ต้องการทำต่อ และทุนทางสังคม และยังเคยลงมือศึกษา “บทเรียนจากชุมชน การพัฒนาชุมชนเชิงกลยุทธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถคลิกเข้าไปอ่านบางส่วนได้ที่ เวบเครือข่ายคนรักท้องถิ่นของเขาเอง
http://www.sasukmsu.com/nongsueng

ความจริงแล้ว เขาก็พร้อมที่จะสร้างชุมชนเข้มแข็งที่บ้านเกิดของเขา แต่ทว่าในเวลานี้ น.เมืองสรวงกำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้จาก gotoknow เพื่อให้พร้อมมากยิ่งขึ้น

<h2>“แล้วเราจะเรียนรู้จาก gotoknow  เพื่อนำความรู้มาสร้างชุมชนเข้มแข็งที่กาฬสินธุ์ได้อย่างไรล่ะ???”</h2>


คำถามสำคัญข้อสุดท้าย ก่อนจบบันทึกนี้ ขอหยิบยกข้อความในบันทึกของคุณหนึ่งตะวันมาใช้ประยุกต์ในการตอบคำถามนี้ครับ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน gotoknow

- เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีความรู้เรื่องการพัฒนาชุมชน อย่างน้อยแลกเปลี่ยนกับ น.เมืองสรวงผ่านทางบล็อกของเขาบ้าง

- พัฒนาความรู้ความสามารถเป็นระยะ

-  ประชุมเรียนรู้เพื่อจะได้มีอะไรดีๆมาแลกกัน

- มองความเชื่อมโยงแนวทาง ความรู้ต่างๆของแต่ละพื้นที่     นำความรู้ที่ได้โยงกันประผสมประสานกลมกลืนกันอย่างมีพลัง

 - ลงมือปฏิบัติจริงในชุมชน     พัฒนา ปรับปรุง เกิดประสบการณ์ จากการเรียนรู้ใหม่ๆ

- นำสิ่งที่ได้ไปสรุป ทำต่อเนื่องจะได้ผล คือการก้าวไปข้างหน้า

… ที่เหลือคือการค้นหาเพิ่มเติมจาก gotoknow





หมายเลขบันทึก: 59586เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การมองและฉายภาพ.....

1.จุดประกายทางความคิดให้เกิดศรัทธาเมื่อมั่นว่าเราต้องทำได้....

2.จึงไม่จำเป็นว่า "น.เมืองสรวง" จะอยู่ที่ไหน ขอให้ชาวกาฬสินธุ์เข้าใจบทบาทตนเอง เข้าใจในสิ่งที่ตนทำอยู่ เพื่อความอยู่ดีกินดีของพี่น้องท้องถิ่นเอง

3.แสวงหา ความรู้อยู่เสมอ และรักความก้าวหน้า

4.ภาคีเครือข่าย อาทิ ส่วนราชการ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ช่วยกันขับเคลื่อน

5.เพราะสื่อต่าง ๆ เขาเห็นผลงาน เขาจะลงไปดูและตีพิมพ์เอง

6.ข้อมูลต่าง ๆ ตัวชี้วัดต่าง ๆ ก็อยู่ที่ชุมชนนั่นแหละ จึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาต่ออีก

7.ชุมชนยังขาดการยอมรับ ขาดแหล่งเงินทุน ขาดปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต

8.การที่จะขับเคลื่อน " ตัวแปร" คืออะไร ต้องแยกแยะ และทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.........

 

ขอเสนอตัวชี้วัด(ที่ไม่ใช่พระ) เกี่ยวกับชุมชนเข้มแข็ง

รวมกลุ่มคน ร่วมกันคิด ร่วมกันผลิต ร่วมกันขาย ร่วมกันจ่าย(เหมาโหลถูกกว่า) ร่วมกันออม วัฒนธรรมพร้อม สิ่งแวดล้อมดี (คน)มีคุณธรรม ...ส่วนที่เหลือเพิ่มเติมเอาเองครับ

1รวม 5 ร่วมของคุณไชยยงค์ เข้าท่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท