การเรียนรู้ในแบบการ สวมรองเท้าข้างเดียวกับนายรักษ์สุข เพื่อเข้าใจความรู้สึกที่ว่า ทำไมจึงคิดแบบนั้น


ถ้าคุณไม่ไดสวมรองเท้าข้างเดียวกับเขา คุณจะใช้ความรู้สึก ไปตัดสินเขาไม่ได้

หลายคนมักจะคิดว่า ตนเองเข้าใจคนอื่นดีแล้ว เนื่องจากมีประสบการณ์มากกว่า ผ่านโลกมามากกว่า ฯลฯ
แต่จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้ หยั่งถึง

ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกับเขา ไม่ได้สวมรองเท้าข้างเดียวกับเขา คุณจะใช้ความรู้สึก ประสบการณ์ของคุณไปตัดสินเขาไม่ได้ เพราะนั้นเป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น

กับบันทึก เเสวนาจานส้มตำ ๑๔ : “นักวิชาการโลโซ (Lecturer Loso Syndrome) และชำแหละ AAR : Gotoknow "Blog Life Cycle" ของนายรักษ์สุข

เริ่มประเด็นจาก นายรักษ์สุข (คุณปภังกร) กล่าวว่า
อยากบอกความรู้ในใจลึก ๆ แบบตรง ๆ ว่า "ไม่สบายใจ" เลยครับกับการอาจหาญไปวิพากษ์ Gotoknow และ สคส.พราะประสบการณ์แบบฝังลึกเมื่อครั้งที่อยู่อุบลราชธานี กับการทำอะไรที่คนอื่นไม่ค่อยทำกันทำให้ความหวังดีกลายเป็นดาบทิ่มแทงตัวเอง


ดาบทิ่มแทงตัวเอง...


ทั้งๆที่เนื้อหาที่บันทึก เปิดประเด็นให้สาระความรู้อย่างเต็มอิ่มตลอดเวลา

ยิ่งมีรางวัลสุดคะนึงเป็นตราประทับรับรองไว้แล้ว แล้วทำไมเขาจึงคิดแบบนี้ 

ดึงความรู้สึกด้านลบขึ้นมาบั่นทอนด้านบวกหรืออย่างไร

อยากรู้ต้องลองสวมรองเท้าข้างเดียวกันดู
เกิดความรู้สึกดาบทิ่มแทงตัวเองบ้างจะเป็นอย่างไร



จากความเห็นที่แตกต่าง ความไม่เข้าใจ และมองคนละมุม ที่นายรักษ์สุขสะท้อนออกมาว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นดาบทิ่มแทงตัวเอง

งั้นเสวนาจานส้มตำ ชำแหละข้อความนายรักษ์สุขไว้ละกัน แต่เปิดคางให้กลับมาน็อคบ้าง จะได้เข้าถึงความรู้สึกตรงนั้น..


นาย ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ : ป.ล. บันทึกของผมนั้นต้องอ่านรวมตั้งแต่ต้นจนจบ แรกจนถึงสุดท้ายถึงจะเห็นที่มา ที่ไป อ่านทีละประโยคหรืออ่านแค่บันทึกเดียวก็จะไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ครับ

คำตอบ...

นาย ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ เมื่อ จ. 13 พ.ย. 2549 @ 16:19 

สวัสดีครับคุณบอน

  • เมื่อ เข้ามาอ่านแล้วต้องบอกตรง ๆ เลยครับว่า "งงมาก" ไม่ได้งงในสิ่งที่คุณบอนเขียนนะครับ แต่ผมชักเริ่มงงในสิ่งที่ผมเขียนออกมาว่าสงสัยจะถ่ายทอดออกมาไม่ดีพอจึงทำ ให้คุณบอนเข้าใจความหมายกลับตาลปัตรไปหมดเลย
  • แต่สิ่งที่สำคัญที่ สุดที่เขียนออกมานั้น "นั่นคือความจริง" ผมไม่ค่อยชอบเขียนอะไรแบบเลิศหรูเขียนตามหลักวิชาการ ก็คือ หลักวิชาการเขาว่าไว้อย่างไรเวลาเราเขียนหรือพูด ก็พูดไปตามนั้นสังคมถึงจะยอมรับ นี่แหละครับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บางครั้งเป็นผลสะท้อนกลับที่ไม่ค่อยดี
  • เพราะ คนส่วนใหญ่ในสังคม ทฤษฎีว่าไงก็พูดไปตามนั้น อย่างเช่น ทฤษฎี KM ก็เหมือนกัน บางครั้งพอมาเจอสภาพความเป็นจริงในสังคม มาเจอบางบริบทแล้ว หรือเมื่อเกิดปัญหาใดขึ้น การเขียนหรือพูดให้รอดตัวไปก็คือ เขียนหรือพูดไปตามทฤษฎีที่คนส่วนใหญ่เขาพูดกัน ก็คือพูดแบบรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ความจริงหรือ Facts เป็นสิ่งที่พูดยากในสังคม โดยเฉพาะความจริงที่จะมีผลกระทบต่อส่วนรวม ทำให้บางคนเลือกไม่พูดดีกว่า
  • เห็นไหมครับ ถ้าผมเป็นนักวิชาการไฮโซ ทุกอย่างจะถูกหมด แต่ถ้าเป็นนักวิชาการโลโซ พูดไปก็ผิดหมด นี่คือ Fact ของสังคมไทย สำหรับการเป็นไฮโซหรือโลโซ ผมว่าคุณบอนน่าจะคิดได้ว่า ใครบ้างที่พูดแล้วน่าเชื่อถือซึ่งบางครั้งจะพูดไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม
  • คำ พูดที่ออกมาจาก "คุณวุฒิและวัยวุฒิ" ในสังคมไทย น่าเชื่อถือกว่าคำพูดที่เกิดจากความเป็นจริง นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับการพัฒนาประเทศ
  • คำพูดเดียวกันประโยคเดียวกัน แต่คนละคนพูด ก็คนละเรื่องกัน
  • ถ้าอย่างไรคุณบอนลองชำแหละสิ่งที่ผมพูดนี้มาอีกทีก็ดีนะครับ
  • ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

 



..


1) ถ้านายบอนไม่เคยเขียนบันทึกเสวนาจานส้มตำที่หยิบประโยคในบันทึกของนายรักษ์สุขในลักษณะนี้มาก่อน

2) ถ้านายรักษ์สุขไม่เคยเขียนแสดงข้อคิดเห็นด้วยความรู้สึกในแง่บวก และเติมกำลังใจให้ตัวเองผ่านทางข้อคิดเห็นที่เขียนออกมาในเสวนาจานส้มตำตอนเก่าๆ

และ 3) ถ้านายบอนไม่เปิดอ่านบันทึกเสวนาจานส้มตำตอนเก่าๆที่นายรักษ์สุขเข้ามาเขียนข้อคิดเห็นไว้

นายบอนจะร้องไห้ เสียใจ เกิดความรู้สึกเบื่อโลก  ท้อแท้ สิ้นหวัง เลิกแล้ว พอกันทีกับการเขียนบันทึกที่กลายเป็นดาบทิ่มแทงตัวเอง

แต่เพราะได้ทำทั้ง 3 ข้อ  เกิดความรู้สึกชื่นใจที่นายรักษ์สุขยังมีน้ำใจ เอาใจใส่ สละเวลามอบข้อคิดเห็น ท้วงติงชี้แจงบ้าง ซึ่งจะต่างจากช่วงแรกๆที่นายรักษ์สุขเมื่อเห็นบันทึกที่นายบอนเขียนถึงท่าน จะกระตือรือร้นรีบตอบทันที

แต่บันทึกนี้ นายรักษ์สุขจะเว้นอยู่ช่วงหนึ่ง เกิดความรู้สึกว่า ดูท่าทาง..นายรักษ์สุขจะโกรธมากๆแน่นอน

เพราะแต่ก่อน เขาจะความรู้สึกไวมากๆ ถ้าเป็นบันทึกที่มีเนื้อหาเชิงให้กำลังใจ ความคิดเห็นของเขาจะไหลพรั่งพรูออกมา ต่อท้ายบันทึกของนายบอน แล้วเกิดพลัง ไปเขียนบันทึกในบล็อกของตัวเองออกมาอีกเรื่อยๆ

ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน
ความรู้ที่เพิ่มขึ้นทำให้การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง ในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านไป


แต่ไม่ว่า จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร กำลังใจและความรู้สึกดีๆที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงยังคงมอบให้นายรักษ์สุขเสมอครับ ในยามที่รู้สึกท้อ......






หมายเลขบันทึก: 59578เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับคุณบอน
  • บันทึกนี้เป็นบันทึกที่ดีเยี่ยมอีกบันทึกหนึ่งครับ
  • ขออภัยเป็นอย่างสูงที่ทำให้คุณบอนหวั่นวิตก ขอบอกตามตรงเลยครับว่า "ผมไม่เคยคิดโกรธคุณบอนเลย" ผมก็ลืมพูดประเด็นนี้ไปครับ
  • คือส่วนตัวผมเอง ผมเป็นคนที่คนข้างจะเปิดกว้างทางด้านความคิด โดยเฉพาะความคิดแบบเปิดเผยตรงไปตรงมาแบบนี้
  • ผมเป็นคนที่บางครั้งคุยกัน เถียงกัน เหมือนจะทะเลาะกัน แต่เป็นการคุยกันด้วยเหตุผล คุยกันประชุมกันเสร็จก็จบลงตรงนั้น ไม่มีการนำมาคิดโกรธเคืองเป็นเรื่องส่วนตัว
  • เถียงกัน ทะเลาะกันในความคิดในห้องประชุมหนักแค่ไหน ออกมาจากห้องก็ยังเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
  • เหมือนกับในบันทึกที่ผมตอบคุณบอนไป ผมตอบไปแล้วผมก็ไม่ได้คิดอะไร อันนี้ต้องขออภัยครับที่ทำให้คุณบอนต้องคิดมาก และผมก็รู้ว่าคุณบอนก็สไตล์คล้าย ๆ กับผมก็คือคิดพูดเขียนแบบตรง ๆ ซึ่งผมและคุณบอนก็เขียนด้วยความปรารถนาดี เขียนตรง ๆ ไม่เคยคิดโทษโกรธใคร ผมก็เช่นกันครับ
  • สำหรับเรื่องการตอบบันทึกนั้น ตอนนี้ผมมีเวลาค่อนข้างจำกัดในการตอบ เพราะขนาดบันทึกของตัวเองบางครั้งก็ยังไม่ค่อยได้ตอบเลยครับ คล้าย ๆ กับเหตุผลของคุณบอนครั้งหนึ่งที่เคยตอบกับผมไว้ประมาณว่า เข้ามาอ่านบันทึกเสมอแต่นาน ๆ ถึงจะตอบสักที อันนี้ไม่ต้องกังวลเลยครับ เพราะเวลาของผมเมื่อก่อนกับเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเหมือนกัน
  • ส่วนสำหรับเรื่องดาบที่ทิ่มแทงตัวเองนั้น เรื่องนี้ยาวครับ เพราะไม่ใช่แค่ความคิดหรือความรู้จัก แต่เป็นสิ่งที่ผมพิสูจน์และเจอมาแล้วเกือบ ๆ 5 ปีว่า คนที่คิดและทำแบบผมหรือแบบคุณบอน ในสังคมไทยจะต้องพบกับสถานการณ์แบบนี้แน่นอน เพราะสังคมไทยยังไม่เปิดกว้างให้ใครคิดตรง คิดต่าง คิดใหม่ทำใหม่ครับ เรื่องนี้ขออนุญาตตอบเป็นบันทึกเลยนะครับ
  • สุดท้ายเรื่องของการตัดประโยคมาตอบทีละอัน อันนี้ต้องขออภัยจริง ๆ เพราะเคยเจอคนที่เล่นสกปรกตัดประโยคของผมทำให้เกิดเรื่องเลวร้ายขึ้นอย่างมาก อันนี้เป็นความหลังฝังใจแบบฝังลึกครับ และเมื่อมาเจอคุณบอนตัดประโยคแล้ววิเคราะห์แบบนี้ก็เลยกระตุกต่อมฝังใจนี้ขึ้นมา ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างสูง
  • สุดท้ายจริง ๆ เรื่องการวิเคราะห์ เชิญคุณบอนตามสบายเลยครับ ส่วนเรื่องที่ผมตอบบางครั้งอาจจะตรงและแรงไป บอกตรง ๆ เลยว่าใจผมไม่ได้คิดโกรธเคืองอะไรเลย แลกเปลี่ยนความคิดแบบแฟร์ ๆ กันครับ ตรงไปตรงมา คุยกันแล้วก็จบกันตรงนั้น "ความขัดแย้งทำให้เกิดความเข้มแข็งครับ"
1.หลังจากเขียนบันทึกนี้ เวลาผ่านไป นายบอนก็วิตกเหมือนกันนะครับ เพราะวันนี้ ไม่เหมือนวันวาน คนที่เปิดกว้าง แต่ในบางเรื่อง ก็อาจจะไม่พอใจอย่างรุนแรงได้

2.เป็นความรู้สึกที่ว่า การสวมรองเท้าข้างเดียวกัน  คิด เขียนแบบตรงไปตรงมา เห็นคนอื่นเกิดความรู้สึก สีหน้าที่ไม่ค่อยจะดีกับสิ่งที่เราสื่อออกไป ก็หวั่นเหมือนกันว่า อาจจะสร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นได้


3.เพราะหลายคน มักจะใช้อารมณ์ เหนือเหตุผล ส่วนการเขียนบันทึกนี้ นายบอนคาดหวังว่า นายรักษ์สุขยังคงใช้เหตุผลเหนืออารมณ์เช่นที่ผ่านมา ซึ่งสมมติฐานนี้ ยังคงเป็นจริงอยู่ครับ  


4. วันวาน เวลามีมาก วันนี้ เวลามีจำกัด การได้อ่านบันทึก แต่ไม่เห็นร่องรอยทันที แต่ก่อนอาจจะรู้สึกไม่ดีบ้าง แต่เมื่อเหลียวมองตัวเองแล้ว บางเวลาก็ไม่ค่อยจะว่างเช่นกัน ขนาดการติดตามบันทึก ยังต้องย้อนกลับไปอ่านบันทึกตอนเก่าๆของนายรักษ์สุขและท่านอื่นๆอยู่เรื่อยๆครับ  เช่นเดียวกับความเห็น จะช้าหรือเร็วก็ได้ทั้งนั้น

5. เรื่องดาบทิ่มแทงตัวเองที่นายรักษ์สุขหยิบยกมาบอกเล่า นายบอนก็พบเช่นกันครับ เหมือนข้อสรุปที่ว่า ยังไม่เปิดกว้างนี่เอง

6. เรื่องของการตัดประโยคมาตอบนั้น มองในมุมนั้นก็ได้ครับ แต่รูปแบขบของนายบอนคือ อ่านบันทึกนั้นหมดแล้ว หยิบยก เหมือนกับการอ้างอิงในบทความวิชาการนั่นเองครับ จะให้ยกมาทั้งหมด คงไม่เหมาะสม เหมือนนายบอนเป็นเจ้าของความคิดนั้น จึงออกแบบบันทึก ในตอนต้นว่า หยิบมาจากบันทึกนั้น พร้อมทำลิงค์ไปยังต้นฉบับ เพื่อให้ผู้มาอ่านในภายหลังได้เข้าไปดูบันทึกจากต้นฉบับ และจะมีโอกาสได้พบกับบันทึกเรื่องอื่นๆที่น่าอ่านอีกด้วย ถ้ายกมาทั้งหมด โดยไม่ตัดทอนเลย คนอ่านสามารถที่จะอ่านที่บันทึกของนายบอนที่เดียว โดยไม่ต้องไปที่อื่น ก็จะได้รายละเอียดทั้งหมดเลยครับ

แต่เรื่องการตัดมาบางส่วน สามารถมองในด้านดี และด้านลบได้เช่นกันครับ
คงต้องอธิบายรายละเอียดในบันทึกต่อๆไปให้ผู้อ่านเข้าใจอีกครั้งในทำนองที่ว่า
สรุปจากการอ่านบันทึกต้นฉบับทั้งหมด
แล้วหยิบประเด็นที่น่าสนใจมาวิเคราะห์
กรุณาคลิกไปอ่านบันทึกต้นฉบับเพื่อเติมเต็มเนื้อหาที่สมบูรณ์

ส่วนเรื่องการวิเคราะห์นั้น แล้วแต่ประเด็นในบันทึกที่น่าสนใจครับ ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากเสียงเรียกร้องของเพื่อนๆ ที่ติดตามอ่านบันทึกของนายรักษ์สุขแล้ว อยากให้หยิบยกมาคุยกันต่อในแบบที่ได้แสดงความคิดเห็นเข้าไปมากๆ

ความจริงมีหลายบันทึกของนายรักษ์สุขครับ ที่เพื่อนๆนายบอนอยากให้หยิบยกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาวิเคราะห์วิจารณ์ แต่ก็สามารถทำได้เท่าที่มีเวลาพบปะกันครับ

7. เห็นด้วยครับ ความขัดแย้ง ความแตกต่าง ทำให้เกิดการเรียนรู้ และความเข้มแข็งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท