การสร้างเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาแบบบูรณาการ


ใครที่เป็นส่วนหางปลาของอาจารย์ประพนธ์ ก็ต้องพยายามที่จะทำอย่างไรให้หัวปลา ๕๐๐ หัว รวมกันเสมือนเป็นหัวเดียว เพื่อที่หางปลาจะได้ไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไป เพราะปลา ๕๐๐ หัว ๑๐๐ ตัว หางเดียวหรือ ๒ หางก็แล้วแต่ ไม่มีทางจะไปว่ายแข่งกับใครได้เลย
การพัฒนาในปัจจุบันมีประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญในการทำงานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ การทำงานวิจัยและพํฒนาแบบบูรณาการ ที่เป็นยาขมหม้อใหญ่ที่คนไทยไม่ค่อยถนัดกัน เพราะต้องทำงานเป็นทีมอย่างสอดคล้องซึ่งกันและกัน รู้จักและรู้ใจกัน เป็นน้ำหนื่งใจเดียวกัน รวมทุกอย่างให้เป็นหนึ่งเดียว จึงเป็นเรื่องที่ยากเหมือนจับปูใส่กระด้ง เช่น ในกรณีการทำ KM นั้น ใครที่เป็นส่วนหางปลาของอาจารย์ประพนธ์ ก็ต้องพยายามที่จะทำอย่างไรให้หัวปลา ๕๐๐ หัว รวมกันเสมือนเป็นหัวเดียว เพื่อที่หางปลาจะได้ไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไป เพราะปลา ๕๐๐ หัว ๑๐๐ ตัว หางเดียวหรือ ๒ หางก็แล้วแต่ ไม่มีทางจะไปว่ายแข่งกับใครได้เลย ยิ่งหัวมาก ตัวมาก หางมาก ยิ่งยากครับ เหมือนสุภาษิตจีนที่ว่า "นกสองตัวมีสี่ปีกนั้น ถ้าเอาขาผูกติดกันย่อมบินไม่ได้" ฉะนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำให้มีหัวรวมเป็นหัวเดียวกัน แหลม คม และ เล็กที่สุดจึงจะทำให้เบาแรงของตัวปลา (ที่ต้องประสานกันเป็นหนึ่ง เช่นกัน-จะได้ไม่อุ้ยอ้าย จนโยกพุงไม้ไหว) และมีหางที่ไม่มีแฉกหรือแตกพู่มากแบบปลาทอง จนโบกแรงไม่ค่อยได้ เด๊ยวพู่หางจะหลุด ดังนั้นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาจึงต้องระวังข้อจำกัดนี้ โดยต้องพิจารณา ก. ส่วนหัว จะต้องมีกิจกรรมที่สอดประสานกันได้ อาจเหมือนหรือไม่เหมือนกันก็ได้ แต่เน้นการพึ่งพาแลกเปลี่ยนกันความรู้และทรัพยากรได้ง่ายเป็นหลัก เพราะหัวปลาก็ต้องมีครบทุกส่วน ไม่ใช่มีแค่เขี้ยว หรือมีแต่ตา คงว่ายน้ำยากพิลึก ที่ผ่านมาเราเน้นความเหมือนกันมากจนเกินไป ในที่สุดก็รวมกันไม่ได้ เพราะจะไปแข่งขันกันเอง แทนการร่วมมือกัน ดังนั้น หลักๆ ก็คือจะต้องสร้างหัวปลาที่สมบูรณ์และมีพลังทะลุไปข้างหน้าได้อย่างไร แค่รวมคนเก่งกิจกรรมมาไว้แบบรวมดาราอาจไปไม่รอด ต้องเอาคนเก่งกิจกรรมมาจัดกระบวนทัพ ให้มีพลังทะลุทะลวง เป็นหัวปลาหนึ่งเดียวที่เมือนเป็นหัวหอกจึงจะไปได้รอด และเสียแรงน้อยที่สุดของตัวปลาและหางปลา ข. ส่วนตัว จะต้องประสานกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทในการทำงานให้สอดรับกัน และเชื่อมโยงกับหัว ที่สามารถรับแรงส่งของส่วนหาง และเชื่อมกับหัวได้ ในส่วนนี้จึงต้องมีการสร้างทีม ประสานทั้งแนวคิด (คล้ายระบบประสาท) ประสานพลัง (คล้ายระบบกล้ามเนื้อ) และพะยุงและพัฒนาโครงสร้างของระบบการทำงาน (คล้ายกระดูก) ที่ต้องมีครบ ในส่วนของตัวนี้ต้องมีการจัดการองค์กร ทั้งเชิงโครงสร้างการทำงาน และแนวคิด ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ค. ส่วนหาง จะต้องเข็งแกร่ง ปราดเปรียว ไม่มีสาหร่ายหรือสวะ(ภาระกิจอื่นๆ)พันมากจนเกินไป และมีพลังส่งที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงทั้งโครงสร้าง พลังขับ แนวทางการทำงาน และกำหนดเป้าหมายใหญ่ของกิจกรรม เป็นแนวทางให้ส่วนตัวและส่วนหัว เคลื่อนที่ไปได้ พอมองตรงนี้ก็จะเริ่มมีคำถามว่าสมองที่คิดกำหนดเป้าหมายควรอยู่ที่ไหน (๑) จะอยู่ที่ส่วนหางหรือกระจายทั้งตัวแบบสิ่งมีชีวิตรุ่นโบราณ (๒)อยู่ตรงกลางตัวแบบแมลง หรือ(๓)อยู่ส่วนหัวแบบสัตว์ชั้นสูง ก็ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของเครือข่าย ประสบการณ์ในพื้นที่นั้นผมเห็นทุกรูปแบบ เช่นในการพัฒนาแบบรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ตั้งตัวไม่ทัน สมองของระบบจะอยู่ส่วนท้ายๆ เคลื่อนที่ช้าที่สุด เพราะคิดและพิจารณาว่าจะไปทางไหน ส่วนที่ไปก่อนมักใช้สมองน้อยกว่า ในขณะที่การพัฒนาขั้นต้น สมองจะเป็นกลุ่มนำหน้า พลังเงียบจะค่อยๆตามไปทีหลัง ในขณะที่การพัฒนาที่สมบูรณ์ครอบคลุมนั้น สมองจะเป็นแกนกลางของระบบตลอดหัวจดหางแบบแมลง ก็ลองพิจารณาจัดหา และสร้างให้เหมาะสมก็แล้วกันครับ ที่เล่ามาเป็นประสบการณ์ตรงของการทำงานเครือข่ายของผม ทั้งงานสอน งานวิจัย และพัฒนา และงานบริการสังคมกับเครือข่ายปราชญ์อีสานและข้าวอินทรีย์ ที่เป็นต้นแบบของการพัฒนาเครือข่ายแบบต่างๆ ที่ผมพยายามนำไปเทียบเคียงกับปลาทูของอาจารย์ประพนธ์ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นสำหรับนัก KM ครับ ท่านมีความเห็นว่าอย่างไรครับ แสวง ๑๔ พย ๔๙ (ขอนแก่น)
หมายเลขบันทึก: 59577เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท