ช่างน่าประทับใจในความไม่สำเร็จ


สิ่งนี้เป็นข้อพิสูจน์ การจัดการความรู้แบบลองผิดลองถูก ผลลัพธ์มีโอกาสผิดสูง และสูญเสียทรัพยากร แต่การมีคลังความรู้ที่มีประสิทธิภาพ และมีวิธีจัดการค้นความรู้เป็น (วางแผนจัดการ) ผลลัพธ์จะถูกต้อง แม้จะเป็นการลองครั้งแรก ก็จะถูกมากกว่าผิด

ผู้เขียนได้รับขนุนจากญาติ หนึ่งลูก จึงคิดบริหารจัดการทรัพยากรนี้ให้คุ้มค่าสูงสุด ออกมาเป็นรายการอาหาร ดังต่อไปนี้

การมูนข้าวเหนียว ไปดูเทคนิคของ ครัวบ้านพิม

ด้วยสมาชิก ชอบข้าวเหนียวดำ ผู้เขียนจึง เลือกมูนข้าวเหนียวดำ ตามที่อ่านวิธีการมูนข้าวเหนียวขาว ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น ข้าวเหนียวหน้าขนุน ห่อด้วยใบตองสวยงาม เพราะเตรียมใบตองดี หน้าขนุนสอบผ่าน แต่ข้าวเหนียวแข็งมาก แทบรับประทานไม่ได้เลย แม้พยายามแก้ไขหลายรอบ เสียเวลานึ่งซ้ำ เสียพลังงาน สุดท้าย เสียของ

ผู้เขียนพลาดตรงที่ไม่ได้เรียนรู้ เทคนิคการมูนข้าวเหนียวดำ ต้องผสมข้าวเหนียวขาวประมาณ 75% เพราะข้าวเหนียวดำไม่มียางนั่นเอง จึงต้องกลับมาค้นข้อมูล เทคนิคการมูนข้าวเหนียวดำอีกครั้ง ทางอินเทอร์เนต จาก สองตำราและได้ทบทวนบทเรียนความผิดพลาดของตนเอง

สิ่งนี้เป็นข้อพิสูจน์ การจัดการความรู้แบบลองผิดลองถูก ผลลัพธ์มีโอกาสผิดสูง และสูญเสียทรัพยากร แต่การมีคลังความรู้ที่มีประสิทธิภาพ และมีวิธีจัดการค้นความรู้เป็น (วางแผนจัดการ) ผลลัพธ์จะถูกต้อง แม้จะเป็นการลองครั้งแรก ก็จะถูกมากกว่าผิด นี่คือ ข้อดี ของการจัดการความรู้ ถ้าเราผิดตลอดไม่เคยถูก หรือ ถูกตลอดไม่เคยผิด เราก็ไม่เข้าใจความรู้ใหม่นี้ และเราไม่เคยลองปฏิบัติเอง เราก็ไม่มีโอกาสรู้ผิดรู้ถูกเช่นเดียวกัน “เขาว่า... ตำราว่า... ผู้รู้ว่า... ล้วน ยังมิใช่ความรู้ของเราเอง” เราก็จะไม่มีโอกาสพัฒนาตนเองสู่ความเจริญทางจิตใจ ไม่ได้สัมผัสความจริง ไม่ได้สัมผัสธรรมชาติ

ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้ทดลองปรุงอาหารที่เคยทำไม่อร่อยอีกครั้ง จากการค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ปรุงได้อร่อยตั้งแต่ครั้งแรก เช่น

    • ขนมปังหน้าหมูทอด เคยผิดพลาด เพราะไม่รู้เคล็ดลับการทำขนมปังไม่ให้อมน้ำมัน
    • แซนวิชทูน่า เคยทำในสมัยเป็นนักเรียนมัธยมต้น โดยไม่ใช้องค์ความรู้ ทำให้ ขนมปัง ผัก และเนื้อปลา คล้ายแยกส่วน ไม่กลมกลืน

รุ่นแม่ของผู้เขียน เมื่อนึกอยากทำอาหาร ก็ต้องวาดภาพสูตร และวิธีการ เปรียบเปรยกับรายการใกล้เคียง หรือถามผู้รู้ แล้วมาลองผิดลองถูก ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก เพียงแต่ต้องเลือกความรู้ให้เป็น เพื่อต่อยอดฐานความรู้เดิมของเรา


ในPANTIP ก้าวหน้าไปมาก จากเก้าปีที่แล้ว ผู้เขียนเคยได้ฟังทัศนะ ของผู้บริหาร ที่ให้พันธะสัญญา จะสร้างชุมชนเสมือนนี้ให้เป็นพื้นที่แลกปลี่ยนเรียนรู้ก็นับว่า เกิดประโยชน์ เชิงประสิทธิภาพประสิทธิผล ต่อประชาชนโดยตรง ห้องก้นครัว ผู้นำเสนอ จะบอกวิธีทำอาหารง่ายๆ แบบประยุกต์พร้อมรูปภาพ ทำให้ง่ายในการทำความเข้าใจ บอกเทคนิคเคล็ดลับ และเชิญชวนให้ทดลองทำดู เช่น วิธีการคั่วถั่วลิสงให้กรอบสุกทั่ว การทำขนมที่หาซื้อได้ยาก ฯลฯ โดยจะมีสมาชิกเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนมาก บ้างก็บอกสิ่งที่ตนทำถูก หรือผิด เพื่อให้ชี้แนะ(บางwebsite บอกสูตรอาหารแบบกว้างๆ คล้ายคัดลอกที่อื่นมา จึงไม่น่าสนใจ ในขณะที่ บันทึกของผู้ที่นำเสนอข้อมูลเชิงความรู้จริง จะบอกเทคนิคเคล็ดลับทำให้มีผู้ติดตามมาก ถ้าเป็นการนำเสนอการจัดการความรู้จริงปฏิบัติได้ จะมีผู้สนใจมากมาย เพราะคุณค่า และประโยชน์ที่ต้องนำไปใช้ไม่ต้องหาเทคนิคการตลาดให้คนมาติดตาม) นอกจากนี้ ยังมีทุกหัวเรื่องที่ ประชาชนหาคำตอบเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ การดูแลรักษารถยนต์ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในครัวเรือน ของพ่อบ้านแม่บ้าน งานช่าง ฯลฯ

การสืบค้นข้อมูลเชิงการจัดการความรู้นี้ ปลอดภัยจากการหลอกลวง เพราะผู้ใช้ข้อมูลต้องทดลองปฎิบัติเรื่องนั้นๆเองด้วย กลับเป็นการพัฒนาปัญญา และคุณภาพของประชาชน ในปัจจุบันผู้ใช้เทคโนโลยีแนวทางนี้ ก็เลือกใช้ข้อมูลคุณภาพจากหลายๆ web เพื่อให้บรรลุคำตอบที่ตนเองต้องการ

ประเด็นที่ผู้เขียน ได้รู้เพิ่มเติม คือ อาหารท้องถิ่น มีการบันทึกข้อมูลความรู้เชิงเคล็ดลับน้อยมาก ทั้งที่ มีประโยชน์สำหรับผู้คนจำนวนมาก ซึ่งมีถิ่นที่เกิดต่างกัน แต่ล้วนมีความเจริญทางวัฒนธรรม ซึ่งอำนวยให้ค้นพบตนเองได้เป็นอย่างดี


ผู้เขียนถามตนเอง ทำไมต้องเลือกเรียนรู้การทำอาหารเป็นศาสตร์หนึ่ง
คำตอบ คือ

  • อาหารการกิน เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต การทำอาหาร ทำให้เราต้องเรียนรู้เรื่องวัตถุดิบ ผนวกเข้ากับการฝึกใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ในการทำอาหาร ของที่เหลือใช้จากกระบวนการ จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการเกษตร ปลูกพืชผัก บำรุงดินเลี้ยงสัตว์ ในที่สุด พืชและสัตว์ กลับมาเป็นอาหารเรา ซึ่งเป็นวงจรของธรรมชาติ
  • การปรุงอาหารของมาตุภูมิ ซึ่งเป็นรากเหง้า เป็นที่มา เช่น อาหารปารานากัน ที่เป็นเอกลักษณ์ ล้วนแต่ก่อให้เกิดสำนึกที่ดีงาม และมีพลังธรรมชาติมากมาย ที่ส่งเสริมให้เราแจ่มชัดในความรู้ การเรียนรู้
  • การเลือกอาหารอย่างมีความรู้ จะทำให้เข้าใจเรื่องสรรพคุณทางยา กลายเป็นความรู้ทางอาหารและยาจากธรรมชาติ ที่เราต้องเลือกบริโภคแล้วจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย เหล่านี้ เป็นต้น



หมายเลขบันทึก: 595723เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท